X
เร่งเครื่องใช้ AI ขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล

เร่งเครื่องใช้ AI ขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล

24 มี.ค. 2565
450 views
ขนาดตัวอักษร

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ(COVID-19) เน้นย้ำให้เห็น ถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานของภาครัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงาน การพัฒนานวัตกรรมหรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นสิ่งสำคัญ


ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข้อมูลสำคัญของประเทศ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้มี ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ และเป็นปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาผู้รับบริการมักจะต้อง เดินทางไปรับบริการยังสถานที่ให้บริการ ที่มีความแออัด ดังจะเห็นได้จากบริการที่สำคัญ อย่างบริการทางด้านสุขภาพ ในสถานบริการของภาครัฐ ที่มีผู้เข้ารับบริการจำนวนมาก และ ต้องใช้เวลานานในการรอเข้ารับบริการ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ ง่ายขึ้น นอกจากความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ภาครัฐมีความจําเป็น เร่งด่วนที่ต้องแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการลงทุน และการสนับสนุนการ ประกอบกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งหมายรวมไปถึงผู้ประกอบการ รายย่อย หรือผู้ประกอบการอิสระ ที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ


ภายใต้การเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นเร่งด่วนของสถานการณ์ปัจจุบัน ภาครัฐจึงต้องเร่งขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในเชิงรุกมากขึ้น ตามแนวทางการพัฒนา 4 ประการ คือ การบูรณาการการทำงานและเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเปิดทางสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการพัฒนาประเทศด้าน , ยกระดับทักษะด้านดิจิทัลและการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรให้พร้อมรับต่อการ เปลี่ยนแปลง , พัฒนาบริการออนไลน์ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม โดยผู้ที่อาจยังไม่สามารถ เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ


การตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและเคารพความเป็นส่วนตัวของ ข้อมูลประชาชน รวมถึงการเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพหมุนเวียนและเศรษฐกิจสี เขียว ที่เป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการเชื่อมโยง BCG เข้ากับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดย ส่งเสริมด้านเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ความปลอดภัย (Safety) และความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของยุทธศาสตร์อาเซียนในยุคหลังโควิด-19


จากบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่กล่าวมา ทำให้ภาครัฐเล็งเห็น ความจำเป็นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งรวมถึง กระบวนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation เพื่อรองรับ พฤติกรรมการใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทาง DGA จึงได้มีการจัดทำ (ร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย .. 2556 - 2570 ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ภาค ประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาครัฐได้รับประโยชน์จากการพัฒนารัฐบาล ดิจิทัล ตามแผน 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่


ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่ายด้วยรัฐบาลดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างมูลค่าเพิ่มและอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจด้วยรัฐบาลดิจิทัลยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ และยุทธศาสตร์ที่ 4 บูรณาการข้อมูลและกระบวนงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อ การบริหารงานที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว


ทั้งนี้ (ร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย .. 2556 - 2570 นอกจาก จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน ส่งเสริมศักยภาพการให้บริการด้าน การศึกษา การเกษตร การมีส่วนร่วม และความโปร่งใส ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ และยังมุ่งเน้นการให้บริการดิจิทัลที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่นมากขึ้น รวมถึง การเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่  มาใช้ในการ พัฒนาประเทศ ได้แก่ เทคโนโลยี AI โดยเฉพาะระบบ Chatbot และ Robot Process Automation (RPA) ที่นิยมนํามาใช้งาน และ เทคโนโลยี Blockchain ที่นํามาใช้เป็น แนวทางในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ทำการแก้ไขข้อมูลได้ยาก ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์ มหาศาลกับการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด อาทิ ประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึง บริการภาครัฐผ่านช่องทางออนไลน์แบบเบ็ดเสร็จ ครบถ้วนทุกบริการ สะดวกและสามารถ เข้าถึงง่ายด้วยการยืนยันตัวตน โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว ในการติดต่อหรือทำธุรกรรม แบบครบวงจร เป็นต้น

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล