X
อ่าวปัตตานี เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตอบโจทย์ BCG รับ นทท. ไทย-เทศ

อ่าวปัตตานี เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตอบโจทย์ BCG รับ นทท. ไทย-เทศ

20 มี.ค. 2566
1410 views
ขนาดตัวอักษร

20 มี..66 - วชยกระดับ "อ่าวปัตตานี” เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG รองรับนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่อ่าวปัตตานีจังหวัดปัตตานี นำโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สนิทอักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมประเด็นเป้าหมายด้านการพัฒนาสุขภาพ  สังคม และสิ่งแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

 คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วชนายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม และสื่อมวลชน เยี่ยมชมผลการดำเนินงานโครงการ “การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตฐานรากชุมชนชายฝั่ง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย : กรณีศึกษาอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก วช.


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวว่า วช.ในฐานะหน่วยงานบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม มุ่งสนับสนุนและขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ประเด็นสำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ทั้งในมิติวิชาการ นโยบาย ชุมชนสังคม และพาณิชย์ ซึ่งในครั้งนี้ วชได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับ แผนงานวิจัย “การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตฐานรากชุมชนชายฝั่ง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย : กรณีศึกษาอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี” เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและ ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่อ่าวปัตตานี ที่ส่งผลกระทบถึงรายได้ และการดำรงชีพทางด้านต่าง  ของประชาชน


รศ.ดรซุกรี หะยีสาแม กล่าวว่า อ่าวปัตตานี ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองปัตตานี และ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นอ่าวที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นฐานการดำรงชีวิตที่มีความสำคัญของชุมชนชาวปัตตานีอย่างแท้จริง ในช่วงที่ผ่านมาอ่าวปัตตานีประสบกับภาวะเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและ ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่อ่าวปัตตานีอันเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ขาดการควบคุม มีการ ขยายตัวของชุมชนเมือง เกษตรกรรมอุตสาหกรรม บนฝั่งแม่น้ำและบริเวณอ่าวปัตตานี การขยายตัวของพื้นที่นากุ้ง เป็นผลให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน รวมถึงป่าต้นน้ำถูกบุกรุกแผ้วถางและบางแห่ง มีสภาพเสื่อมโทรม ส่งผลต่อความตื้นเขินของอ่าว การกัดเซาะชายฝั่ง คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม 


ที่สำคัญ มีการประมงเชิงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ชาวประมงพื้นบ้านต้องสูญเสียแหล่งผลิตอาหารเพื่อยังชีพ มีการอพยพทิ้งถิ่นอาศัยเพื่อหางานทำในพื้นที่อื่น ทำให้ชาวบ้านประสบกับปัญหาความยากจนและเกิด ปัญหาด้านต่าง  เป็นลูกโซ่ตามมา


คณะนักวิจัย จึงดำเนินการระดมความคิดเห็น และเก็บข้อมูล ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการฟื้นฟูและปรับปรุงอ่าวปัตตานี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและพื้นที่จังหวัดปัตตานี ดำเนินการร่างแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศอ่าวปัตตานี .. 2558 – 2562 ขึ้น แต่การนำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปใช้ให้เป็นรูปธรรมในพื้นที่สามารถทำได้น้อย จึงทำให้สภาพปัญหาสำคัญและแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมยังคงได้รับการแก้ไขปัญหาได้ไม่มากนัก และแทบจะไม่มีแนวทาง รูปแบบและวิธีการใหม่ที่เป็นแผนแม่บท เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพความเป็นอยู่ชุมชนโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและสังคมจะยิ่งเกิดความเดือดร้อนและยากลำบาก และในอนาคตอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในประเทศได้


จากปัญหาดังกล่าว ทำให้คณะนักวิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงเริ่มศึกษาวิจัยจัดทำแผนแม่บทในลักษณะของการชี้แนวทางการแก้ไขปัญหาและสร้างโอกาสใหม่สำหรับชุมชนรอบอ่าวปัตตานีที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ใช้ทรัพยากรรอบอ่าวปัตตานีเป็นพื้นฐาน ในโครงการ “การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตฐานรากชุมชนชายฝั่ง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย : กรณีศึกษาอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี” มีโครงการตามแผนการดำเนินงาน จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 

1) ข้อมูลพื้นฐานด้านลักษณะทางภูมิศาสตร์ สมุทรศาสตร์ ทรัพยากรชีวภาพที่สำคัญ ประเด็นข้อกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบการใช้ประโยชน์ด้านต่าง  ของอ่าวปัตตานี มีความจำเป็นต่อการกำหนดแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตฐานรากชุมชนชายฝั่งรอบอ่าวปัตตานี 

2) การพัฒนาต้นแบบในการยกระดับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอ่าวปัตตานีด้านต่าง  เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตฐานรากชุมชนชายฝั่ง เช่น ด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จการพัฒนาแผนแม่บทและการนำไปประยุกต์ใช้

3) การจัดทำแม่บทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตฐานรากชุมชนชายฝั่งรอบอ่าวปัตตานีที่จัดทำขึ้น เพื่อจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการอ่าวปัตตานีเพื่อใช้ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตฐานรากชุมชนชายฝั่งรอบอ่าวปัตตานี


คณะติดตามโครงการฯ ยังได้เยี่ยมชมบริเวณปากอ่าวปัตตานี  ท่าเทียบเรือประมงน้ำลึกปัตตานี โดยมี ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบานา จังหวัดปัตตานี เป็นผู้บรรยายถึงสภาพปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้นในอ่าวปัตตานี จากนั้นได้เดินทางไปยังพื้นที่นาเกลือหวานปัตตานี เพื่อเยี่ยมชมการสาธิตการทำนาเกลือหวาน และในช่วงบ่าย ได้เดินทางไปยังสะพานไม้บานา เพื่อพบปะและพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักวิจัย ตัวแทนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน ตัวแทนกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มเพาะสัตว์น้ำ เพื่อสะท้อนประเด็นปัญหา และการดำเนินงานของชุมชนที่ผ่านมา 


อ่าวปัตตานี ถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวปัตตานี ที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์เฉพาะในเชิงความหลากหลายทางชีวภาพและอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพสูงมาก จึงทำให้พื้นที่นี้เป็นแหล่งสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจสำคัญของชุมชนรอบอ่าวและอุตสาหกรรมประมงจังหวัดปัตตานี อีกด้วย

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล