X
ภาพจากกล้องฮับเบิล กาแล็กซีเอเอ็ม 1214-255 ทำ ‘อันตรกิริยา’ สว่างมากเป็นพิเศษ

ภาพจากกล้องฮับเบิล กาแล็กซีเอเอ็ม 1214-255 ทำ ‘อันตรกิริยา’ สว่างมากเป็นพิเศษ

5 พ.ค. 2566
800 views
ขนาดตัวอักษร

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซาบันทึกภาพใหม่ของกาแล็กซีที่ทำอันตรกิริยาต่อกัน (Interacting galaxies) มีความสว่างมากเป็นพิเศษ รู้จักในชื่อเอเอ็ม 1214-255 (AM 1214-255)

เมื่อวันพุธ ที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา องค์การนาซา (NASA) เปิดเผยว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซาได้บันทึกภาพใหม่ของกาแล็กซีที่ทำอันตรกิริยาต่อกัน (Interacting galaxies) ที่มีความสว่างมากเป็นพิเศษ รู้จักในชื่อเอเอ็ม 1214-255 (AM 1214-255)

  • กาแล็กซีเหล่านี้ประกอบด้วยนิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ (AGN) คือมีบริเวณใจกลางกาแล็กซีที่สว่างมากเป็นพิเศษ โดยความสว่างขั้นสุดของมันเกิดจากการที่สสารหมุนวนเข้าสู่หลุมดำมวลยิ่งยวดใจกลางกาแล็กซี โดยกล้องฮับเบิลได้เฝ้าสังเกตการณ์กาแล็กซีที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ใจกลางดังกล่าวมากที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจนิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ มีเป้าหมายรวบรวมชุดข้อมูลเกี่ยวกับนิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อส่งมอบข้อมูลให้คณะนักดาราศาสตร์ค้นคว้าวิจัยด้านฟิสิกส์นิวเคลียสกาแล็กซีกัมมันต์ หลุมดำ โครงสร้างกาแล็กซีโฮสต์ (host galaxy) และอื่น ๆ


กาแล็กซีที่ทำอันตรกิริยาต่อกัน (Interacting galaxies) หรือกาแล็กซีชนกัน (Colliding galaxies) คืออะไร?

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์กาแลกซีชนกันหรือ 'อันตรกิริยา' เอาไว้ว่า เป็นปรากฏการณ์นี้เป็นผลจากความโน้มถ่วงของกาแล็กซีแห่งหนึ่งที่ไปรบกวนกาแล็กซีแห่งอื่น อันตรกิริยาระหว่างกาแล็กซีจะมีหลายขนาด ตั้งแต่ระดับย่อม ๆ ที่กาแล็กซีบริวารขนาดเล็กรบกวนแขนของกาแล็กซีทรงกังหันที่มีขนาดใหญ่กว่า ไปจนถึงระดับใหญ่ ที่เป็นการชนกันของกาแล็กซีอย่างเต็มที่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในวิวัฒนาการของกาแล็กซี

อย่างไรก็ตาม ดาวฤกษ์ภายในกาแล็กซีต่างมีระยะห่างระหว่างกันไกลมาก ทำให้การชนกันระหว่างดาวฤกษ์เมื่อกาแล็กซีชนกันเกิดขึ้นได้ยากมาก และการชนกันของกาแล็กซีแตกต่างจาก “การชนกัน” ตามสามัญสำนักในชีวิตประจำวัน โดยจะมีลักษณะเป็นอันตรกิริยาทางความโน้มถ่วง ที่เกิดขึ้นในขณะที่กาแล็กซีเคลื่อนที่ผ่านหรือเข้าใกล้ระหว่างกัน ซึ่งอันตรกิริยาขนาดใหญ่ระหว่างกาแล็กซีจะนำไปสู่การรวมตัวกันของกาแล็กซี

ที่มา

    Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)