X
จุดกำเนิด “มะพร้าวน้ำหอม” ดื่มแล้วสดชื่น มีดีต่อสุขภาพ

จุดกำเนิด “มะพร้าวน้ำหอม” ดื่มแล้วสดชื่น มีดีต่อสุขภาพ

20 ธ.ค. 2567
1600 views
ขนาดตัวอักษร


20 ธ.ค.67 – มะพร้าวน้ำหอม ผลไม้ที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทย ที่นักท่องเที่ยวชื่นใจทุกครั้งที่ได้อื่มน้ำมะพร้าวสด แล้วมะพร้าวน้ำน้ำหอมมีจุดกำเนิดอย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมกัน


กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของการใช้พื้นที่อย่างมากเลย มีทั้งเมืองใหญ่ แหล่งธุรกิจ หรือแม้แต่สวนผลไม้ อย่างสวนมะพร้าวก็มีให้เห็นได้ในกรุงเทพฯ หนึ่งในนั้นคือสวนมะพร้าว ย่านคลองบางมด ที่มะพร้าวในสวนย่านนี้ได้รับการยอมรับว่ามีความอร่อยอย่างมาก เพราะความเหมาะสมของแหล่งน้ำแหล่งดิน ที่ปลูกมะพร้าวโตทันใช้ ได้น้ำมะพร้าวที่หอมสมชื่อ ยิ่งนักท่องเที่ยวพายเรือคายัคเข้ามากิน ชิมรสชาติสดๆ ถึงในสวน ยิ่งพร้อมความอร่อย และเติมความสดชื่นได้ไม่เหมือนกับมะพร้าวที่ไหนเลย


สำหรับมะพร้าวน้ำหอมของเมืองไทยนั้น จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร บอกไว้ว่า มะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวน้ำหอม นิยมปลูกมากในจังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม นครปฐม นครราชสีมา สงขลา และนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะ ราชบุรี สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา เป็น 3 อันดับแรก ที่มีแหล่งปลูกมะพร้าวมากที่สุด ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ พันธุ์ก้นจีบ เพราะให้ผลดกและเก็บเกี่ยวผลได้ยาวนานหลายปี ซึ่งมะพร้าวไทยยังมียอดส่งออกจำนวนมาก คาดว่ามีมูลค่าเกินกว่า 3,500 ล้านบาทต่อปี ประเทศส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และ ออสเตรเลีย


กำเนิดมะพร้าวน้ำหอม

กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า “มะพร้าวน้ำหอม” เกิดจากการกลายพันธุ์จากมะพร้าวตระกูลหมูสี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม การกระจายพันธุ์เริ่มจากมีผู้มาซื้อพันธุ์จากฟาร์มอ่างทอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร แล้วนำไปปลูกและคัดเลือกพันธุ์ของตนเองในหลายพื้นที่ มีจุดเด่นเรื่องกลิ่นหอมมากกว่าคู่แข่งอย่างฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย จึงทำให้มะพร้าวน้ำหอมของไทยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ


ความหอมของมะพร้าวน้ำหอม จะมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย ซึ่งเกิดจากสารให้กลิ่นหอมชื่อ 2–อเซตทิล-1-ไพโรลีน เรียกย่อๆ ว่า 2-เอพี (2-AP) ปัจจุบันได้มีการศึกษาการค้นหายีนควบคุมความหอมในมะพร้าวน้ำหอม และในปี 2559 ผู้วิจัยได้ค้นพบยีนความหอม คาดว่าในอนาคตจะมีการใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคนิคอณูชีววิทยา ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์และลดความแปรปรวนของพันธุ์ลงได้


ประโยชน์ต่อสุขภาพจากมะพร้าว

“มะพร้าว” มีคุณค่าทางอาหารเกือบทุกส่วน เช่น ผลมะพร้าวอ่อน เนื้อมะพร้าวจากผลแก่ น้ำมะพร้าว ยอดอ่อนของมะพร้าว ใยมะพร้าว เปลือกมะพร้าว ขุยมะพร้าว กะลา ใบมะพร้าว ลำต้นแก่ ยอดอ่อน ราก จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบต่าง ๆ ของมะพร้าวให้คุณประโยชน์ได้หลายอย่างมาหลายยุคหลายสมัยเป็นเวลานานแล้ว บนเกาะหลายแห่ง


สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ได้อธิบายประโยชน์ของมะพร้าว ไว้ว่า

1.ผลมะพร้าวอ่อน มีน้ำมะพร้าวใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ดี เนื่องจากมีโพแทสเซียมอยู่มาก

2.เนื้อมะพร้าวจากผลแก่ สามารถน ามาปรุงอาหารท าขนมได้หลายชนิด และใช้สกัดน้ำมัน และกากที่เหลือสามารถน ามาใช้เลี้ยงสัตว์ได้

3.น้้ามะพร้าว นำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในมะพร้าว

4.ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกว่า “หัวใจมะพร้าว” นำไปทำอาหาร ยอดอ่อนจะมีราคาแพง เพราะการเก็บยอดอ่อนของมะพร้าวในแต่ละครั้งทำให้ต้นมะพร้าวตาย

5.ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร

6.เปลือกมะพร้าว นำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก เบาะ ที่นอน

7.ขุยมะพร้าว ใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้

8.กะลา ใช้ทำภาชนะตักของเหลว ทำกระดุม เครื่องประดับ เครื่องดนตรี

10.ใบมะพร้าว ทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคา ท าเครื่องจักสาน ไม้กวาดทางมะพร้าว

11.ลำต้นแก่ ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน

12.ราก ใช้ทำยา สีย้อมผ้าและเชื้อเพลิง

13.มะพร้าวในทางการแพทย์แผนโบราณ


แม้มะพร้าวจะมีประโยชน์จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจ อาจต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อหาวิธีดื่มที่ปลอดภัยและเหมาะสม เนื่องจากมะพร้าวอ่อนมีปริมาณโพแทสเซียมค่อนข้างสูง หากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากเกินไป อาจจะทำให้หัวใจวาย และมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรกินในปริมาณที่เหมาะสม


ข้อแนะน้ำ: ควรดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนและเนื้อมะพร้าวอ่อนในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกิน 1 ผลต่อวัน สำหรับน้ำมะพร้าวในภาชนะบรรจุปิดสนิทจะมีซูโครสสูง อาจเพราะมีการเติมน้ำตาลทรายในกระบวนการผลิต เพื่อปรุงแต่งรสชาติ หรือเพิ่มความหวาน การกินน้ำมะพร้าว 1 ขวด (ประมาณ 200-300 มิลลิลิตร) จะได้รับน้ำตาล 7-25 กรัม กรมอนามัยแนะนำว่าเพื่อสุขภาพที่ดี ใน 1 วัน ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม รวมถึงให้ความสำคัญเน้นการกินผลไม้สด หลากหลายสีและสลับหมุนเวียนชนิดกันไป เพื่อให้ได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกษเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ร่วมกับเมนูอาหาร ลด หวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้เป็นประจำในปริมาณเพียงพอ สมดุลตามธงโภชนาการและข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)