การคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงเป้าหมายเป็นเรื่องของการสร้างสมดุลซึ่งอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน และนักวิจัยก็กำลังพยายามทำความเข้าใจกับน้ำตาลและผลของระดับน้ำตาลที่มีต่อสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น จากผลการศึกษาของ จากข้อมูลเชิงลึกในงานวิจัยนี้ รวมถึงข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมจากผู้เป็นเบาหวาน Apple ขอนำเสนอ 5 คุณสมบัติเด่นใน iPhone และ Apple Watch ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เป็นเบาหวาน เช่น แอปกิจกรรม, การติดตามรอบเดือน, แอบนอนหลับ, ID ทางแพทย์ และแอปของบริษัทอื่น
ส่วนที่เกี่ยวกับการทำกิจกรรม
— เมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัยเพิ่มระยะเวลาออกกำลังกายโดยเฉลี่ยหรือจำนวนก้าวโดยเฉลี่ยในวันใดก็ตาม พบว่าระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงเป้าหมาย 70-180 มก./ดล. นั้นเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
— ผู้ที่ออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีต่อวันมีระยะเวลาที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 70-180 มก./ดล. มากถึง 78.8% ของเวลาที่ใช้
— ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เป็นผู้หญิงและเดินมากกว่า 10,000 ก้าวต่อวันมีระยะเวลาที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงเป้าหมาย 70-180 มก./ดล. มากที่สุด เมื่อเทียบกับตัวเลข 76.4% ของผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เป็นผู้ชาย
Shruthi Mahalingaiah, MD, MS, FACOG, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อนามัยเจริญพันธุ์ และสุขภาพสตรีจาก Harvard T.H. Chan School of Public Health, ผู้ร่วมวิจัยหลักของ Apple Women’s Health Study ให้ความเห็นว่า
"ในการวิเคราะห์เบื้องต้นนั้น ทีมวิจัยของเราพบรูปแบบที่น่าสนใจขณะวัดระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่องระหว่างช่วงที่มีรอบเดือนในกลุ่มของผู้ที่รอบเดือนมาสม่ำเสมอ โดยในระยะฟอลลิเคิล ซึ่งเป็นระยะที่ระดับเอสโตรเจนจะเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่โปรเจสเตอโรนอยู่ในระดับต่ำ เราสังเกตเห็นว่าระยะเวลาที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงเป้าหมายนั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และการค้นพบครั้งนี้ก็มีโอกาสช่วยให้เราจัดการกับภาวะเบาหวานได้ดีขึ้นอีกมากโดยการให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าสำหรับปรับการคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมที่สุด"
ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับรอบเดือน:
— การวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในระหว่างรอบเดือนรวมทั้งหมด 1,982 รอบแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงเป้าหมาย 70-180 มก./ดล. นั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระยะฟอลลิเคิล ซึ่งเป็นระยะที่ระดับโปรเจสเตอโรนลดลง (68.5% ของวัน) เมื่อเทียบกับในระยะลูเทียล (66.8% ของวัน)
— นอกจากนี้ ระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีระดับน้ำตาลสูงกว่าช่วงเป้าหมายยังลดลงเล็กน้อยด้วยในระยะฟอลลิเคิล (28.9%) เมื่อเทียบกับในระยะลูเทียล (30.9%)
— กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome - PCOS) และดัชนีมวลกายที่สูงกว่า 30 กก./ตร.ม. สามารถเพิ่มภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลตามมา โดยมีการวิเคราะห์ผู้เข้าร่วมการวิจัยกลุ่มย่อยที่มีอาการดังกล่าวและพบว่าระยะเวลาที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 70-180 มก./ดล. นั้นลดลงมาอยู่ที่ 63.9% ในระยะฟอลลิเคิล เมื่อเทียบกับตัวเลข 72.1% ของผู้ที่ไม่มีอาการดังกล่าว และยังพบแนวโน้มนี้ในระยะลูเทียลเช่นกันโดยมีระยะเวลาที่น้ำตาลอยู่ในช่วงเป้าหมาย 62.7% เทียบกับตัวเลข 69.9% ของผู้ที่ไม่มีอาการดังกล่าว