แปร๊นแปร๊นนน~ รู้ไหมว่าน้องช้างป่าก็พูดได้นะ เพราะน้อง ๆ เป็นสัตว์สังคม มีการสื่อสารได้หลายวิธี เสียงของน้องก็สื่อสารได้หลายแบบ น้องช้างดีใจ หัวเราะ โมโห น้องช้างจะทำยังไง? ไปหาคำตอบพร้อมกันเลย!
น้องช้างป่าเป็นสัตว์สังคม สื่อสารกันหลายวิธี ทั้งการใช้งวงสัมผัสตัวกัน การส่งเสียง และการรับแรงสั่นสะเทือนโดยประสาทสัมผัสที่เท้า น้องสามารถ สื่อสารกันด้วยเสียงผ่านระยะทางไกลได้มากกว่า 10 กิโลเมตร เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่าความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน และเสียงของช้างป่าแต่ละแบบจะแสดงการสื่อสารหลายชนิด เช่น
- โฮก... เสียงเรียกสมาชิกในฝูงมารวมกัน มักส่งเสียงในช่วงก่อนออกเดินทาง หากิน ขณะกําลังหากิน และขณะจะเดินกลับที่พัก
- แปร๋น... เสียงแสดงอาการตกใจ มีหลายระดับความดัง และมีพฤติกรรมติดตาม ด้วยการหนีหรือการเข้าทําร้าย
- แอ๋งๆ.. เสียงแสดงอาการหงุดหงิดรําคาญ มักมีพฤติกรรมการส่ายหัวและ โยกตัวพร้อมกันไปด้วย
ก้นเอง
- เอ๊ก-เอ๊ก.. เป็นเสียงแสดงความยินดีหรือเป็นเสียงหัวเราะที่ช้างใช้สื่อสาร
- เสียงต่ำพร้อมแสดงปลายงวงแตะพื้นดิน แสดงว่ากําลังพบกับอันตราย!!!
- ช้างอารมณ์ปกติ จะทํากิจวัตรตามปกติ เช่น กินอาหาร ถูลําตัวกับต้นไม้ กินน้ำ ไล่แมลง ด้วยการเป่าฝุ่น พ่นน้ำพ่นโคลนขึ้นใช้งวงสัมผัสตัวกัน การทดสอบกําลังกัน
- การเอียงหน้าเพ่งตามอง พร้อมกับการหยุดกิจกรรมอื่น ใบหู หาง หยุดเคลื่อนไหว งวงหยุดหยิบอาหาร ปลายงวงวนเวียนอยู่บริเวณใบหน้า หมายถึงการพบ สิ่งสงสัย ลังเลไม่แน่ใจ
- เมื่อช้างอารมณ์ไม่ดี หูจะตั้งกาง งวงและหางจะหยุดแกว่งพร้อมกับจ้องเขม็งไปยังเป้าหมาย บางครั้งช้างจะชูงวงขึ้นพร้อมกับยึดโน้มตัวให้สูงขึ้นไปด้านหน้า ซึ่งโดยปกติแล้วช้างมีพฤติกรรมที่แสดงออกได้ทั้งการ จู่โจมจริงๆ หรือการขู่เฉยๆ
- การชูงวง หมายถึง การได้กลิ่นแปลกปลอม หรือการตรวจสอบหากลิ่นแปลกปลอม
- การหักต้นไม้ขวางทางที่เพิ่งจะเดินเข้าไป หมายถึง ไม่ให้ตามมา
- การหักกิ่งไม้หรือต้นไม้ให้เกิดเสียงดัง หมายถึง การไล่และข่มขู่
- การใช้งวงพ่นลมใส่ หมายถึง การไล่ เพราะรําคาญ
- การโยนหรือขว้างไม้หรือก้อนหินใส่ หมายถึง การเตือนว่าอย่าเข้ามาใกล้กว่านี้
สำหรับการไล่แมลงและอาการคันของช้างป่า ช้างป่าจะไล่แมลงที่มารบกวนโดยใช้หางปัด และใช้งวงเป่าลมเพื่อไล่แมลง แต่หากแมลงมีจํานวนมาก มักใช้กิ่งไม้ปัดไล่บริเวณลําตัวในส่วนที่หางและงวงปัดไม่ถึง เช่น สีข้าง ท้ายทอย หลัง ท้อง อาจใช้งวง สาดฝุ่น พ่นโคลนหรือน้ำ เพื่อไล่แมลงแทน หรือถูบริเวณที่คันกับต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณสีข้าง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ขนาดใหญ่หรือเสาไฟฟ้าหักโค่นล้มหรือเอน
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า Wildlife Research Division และ ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช