ตื่นเต้นกับข่าวการค้นพบรอยพระพุทธบาทโบราณที่ป่าชายเลนเกาะปันหยี แน่นอนคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนยอมเกิดจิตศรัทธา แต่คนรุ่นใหม่ อาจจะตั้งคำถาม และสงสัย Backbone มีความกระจ่าง โดยนำความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาอธิบาย แต่ไม่แตะต้องความเชื่อเกี่ยวกับตำนานการเสด็จของพระพุทธเจ้า
ภาพรอยพระพุทธบาทที่ป่าชายเลนเกาะปันหยี
แนวคิดเรื่องรอยพระพุทธบาทในพระศาสนาพุทธ เดิมสมัยพุทธกาลไม่มีการสร้างรูปเคารพทั้งรูปเทวดาและมนุษย์ พอเวลาผ่านไปไม่กี่ร้อยปี ประมาณก่อน พ.ศ.500 เริ่มมีการสร้าง เจดีย์ หรือเจตียสถาน เพื่อเป็นสถานที่และสัญลักษณ์ของการบูชาพระพุทธเจ้า
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงที่มาของการบูชาพระพุทธบาท ว่า คติบูชาพระพุทธบาท เดิมที่เป็นความเชื่อของชาวบังกาทวีป มีความเชื่อว่า เป็นรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้า เสด็จมาเหยียบไว้ มีด้วยกัน 5 สถานที่คือ เขาสุวรรณมาลิกเขาสุวรรณบรรพต เขาสุมนะกูฏ และหาดในลำน้ำนัมทานที (บางที่เรียกนัมมทานที)
ชาวลังกาส่วนใหญ่จะไปสักการะรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนะกูฏ สมัยพระเจ้าทรงธรรม มีกาาส่งสมณฑูตไปศรีลังกา พระท่านจึงไปนมัสการพระพุทธบาทที่สุมนะกูฏ พระลังกาเจอพระไทย ก็เลยถามขึ้นว่า ท่านมาจากเมืองไทยทำไมมาไหว้พระบาทตั้งไกล ทำไมไม่ไปกราบที่เขาสุวรรณบรรพตซึ่งอยู่ในเมืองไทย พระไทยฟังแล้วงง ไหงพระลังการรู้ดีกว่าพระไทย ว่าแล้วพอคณะสมณฑูตกลับมาก็มาทูลพระเจ้าทรงธรรม ท่านจึงให้ตามหาสุวรรณบรรพต โดยเจ้าเมืองสระบุรีได้เข้ามาเล่าเรื่อง พรานบุญ ไล่ยิงเนื้อหนีเข้าไปในป่า เนื้อตัวนั้นไม่น่ารอดแต่กลับไม่เป็นไร พรานเห็นเนื้อตัวนั้นกินน้ำในแอ่งน้ำคล้ายรอยเท้าแล้วหายเป็นปกติ เจ้าเมืองเข้าไปตรวจดูก็เห็นว่าจริง พระเจ้าทรงธรรมฟังแล้วเกิดพระราชศรัทธา ให้สร้างมหาเจดีย์ มีมณฑปสวมรองพระพุทธบาท ก็คือวัดพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีที่เรารู้จักกันในวันนี้ ตั้งแต่นั้นมาจึงมีพระราชพิธีสักการะรอยพระพุทธบาทของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด มาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการถวายสักการะ ทำนุบำรุงและปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทมาโดนตลอด
รอยพระพุทธบาทในเมืองไทยมีทั้งที่เกิดเองโดยธรรมชาติและสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ เป็นเจดียสถาน เป็นเครื่องหมายของความศรัทธา การสร้างรอยพระพุทธบาทมีทั้งที่ทำด้วยหิน โลหะ ไม้ พบได้จากรอยพระพุทธบาทที่มีมาก่อนสมัยพระเจ้าทรงธรรม เช่น รอยพระพุทธบาทพระเจ้าสี่พระองค์ ที่เชียงใหม่ สร้างถวายพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ รอยพระพุทธบาททั้งซ้ายและขวาเดิมอยู่ที่ชัยนาท ปัจจุบัน อยู่ที่วัดบวรนิเวศ รอยพระพุทธบาทที่วัดพระรูป สุพรรณบุรี เป็นรอยพระพุทธบาทจำหลักบนไม้อีกด้านเป็นภาพพระพุธเจ้าชนะมาร เป็นการบอกว่า รอยพระพุทธบาทสร้างขึ้นเพื่อบูชาแทนพระพุทธรูป
“ การนับถือรอยพระพุทธบาทเป็นเจตียสถาน มาจากคติของชาวลังกาทวีป …. แท้จริงการบูชารอยพระพุทธบาทมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพระเจ้าทรงธรรมแล้วช้านาน เมื่อมีเหตุ(พบรอยพระพุทธบาท)สมัยพระเจ้าทรงํรรม ผู้คนจึงเลื่อมใสศรัทธา โดยเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาถึงประเทศนี้ ต่อมาจึงเกิดเจตียสถานขึ้นหลายแห่ง “…. ประชุมพระนิพนธ์ ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สรุปว่ารอยพระพุทธบาทเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระรัตนตรัย มีทั้งที่เกิดในธรรมชาติ และสร้างขึ้นเพื่อความเคารพ ตามคติของชาวพุทธหาในชีวิตหนึ่งได้เดินทางไปสักการะพระพุทธบาทได้ 3 ครั้ง จะเป็นบุญกุศล อย่างยิ่ง การเดินทางไปสักการะรอยพระพุทธบาทสมัยก่อนเดินทางไปยากยิ่ง จึงปรากฎการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นเพื่อให้ผู้เลื่อมใสได้สักการะโดยไม่ลำบาก อย่างที่วัดอนงคารามวรวิหาร ครั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสโร) อดีต ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลกและสังฆมนตรีว่าการสาธารณูปการ ดูแลกำกับวัดพระพุทธบาท ท่านได้จำลองรอยพระพุทธบาทมาไว้ที่วัดอนงคารามวรวิหารให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ
ภาพมณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดอนงคารามวรวิหาร ขอบคุณภาพโดย Supanut Arunoprayote
:ข้อมูลจาก ประชุมพระนิพนธ์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ