X
อุตฯก่อสร้างเป็นเป้าหมายของภัยคุกคาม ICS

อุตฯก่อสร้างเป็นเป้าหมายของภัยคุกคาม ICS

12 ก.ค. 2568
90 views
ขนาดตัวอักษร

ข้อมูลล่าสุดของแคสเปอร์สกี้พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี2025 สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ ICS ที่วัตถุอันตรายถูกบล็อกในภาคการก่อสร้างและการผลิตที่เพิ่มขึ้น

 

เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก พบว่าคอมพิวเตอร์ICS ที่วัตถุอันตรายถูกบล็อกในภูมิภาคนี้มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าในอุตสาหกรรมต่อไปนี้

 

• การก่อสร้าง — สูงกว่า 1.5 เท่า

• การผลิต — สูงกว่า 1.3 เท่า

• ระบบอัตโนมัติในอาคาร — สูงกว่า 1.2 เท่า

• พลังงานไฟฟ้า — สูงกว่า 1.2 เท่า

• ผู้ติดตั้งระบบวิศวกรรมและ ICS — สูงกว่า 1.2 เท่า

 

โดยรวมแล้ว จำนวนคอมพิวเตอร์ ICS ที่วัตถุอันตรายถูกบล็อกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นอันดับสองของโลก โดยมีสัดส่วนที่ 29.1%


อุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอุตสาหกรรมการก่อสร้างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ 6.2%ตั้งแต่ปี 2024 ถึง 2028 อุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค

 

สำหรับประเทศไทย คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นที่ 4.5% ในช่วงปี 2024 - 2028 โดยคาดว่าผลผลิตการก่อสร้างของประเทศไทยจะสูงถึง584.9 พันล้านบาทภายในปี 2028 ซึ่งบ่งชี้ถึงศักยภาพในการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

 

นอกจากนี้ การใช้งานและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเช่น เอไอและระบบอัตโนมัติยังให้โอกาสมากมายและส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ ในภาคการก่อสร้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเติบโตนี้ยังมาพร้อมกับความเสี่ยงทางไซเบอร์อีกด้วย

 

เอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ภาคก่อสร้างกำลังได้รับแรงผลักดันเพิ่มเติมผ่านดิจิทัลไลเซชัน ซึ่งรวมทุกอย่างตั้งแต่การเร่งซัพพลายเชนในภาคก่อสร้างไปจนถึงการติดตามประสิทธิภาพ ความคืบหน้า และการขนส่ง เมื่อบริษัทก่อสร้างหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ความเสี่ยงและโอกาสก็จะเกิดขึ้นอย่างสมดุล โดยธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องลดภัยคุกคามที่มาพร้อมโอกาสใหม่ๆ อย่างครอบคลุม เพื่อเสริมสร้างชั้นการป้องกันและความสามารถในการฟื้นตัว”

 

“ในปี 2025 และปีต่อๆ ไป อุปกรณ์ดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมอาจกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ล้าสมัย อาคารสถานที่ในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เครือข่ายราคาไม่แพงมักถูกโจมตีได้ง่าย ดังนั้น การแก้ไขมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับเทคโนโลยีเก่าและที่ผ่านการทดสอบมาแล้วจึงมีความจำเป็นมากกว่าที่เคย สิ่งสำคัญคือต้องไม่มองการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ว่าเป็นต้นทุน แต่เป็นการลงทุนเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่เพียงแต่ปกป้องทรัพย์สินและข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรักษาความไว้วางใจที่ทุ่มเทสร้างขึ้นมาร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรอีกด้วย จึงถึงเวลาแล้วที่อุตสาหกรรมก่อสร้างจะต้องยกระดับการป้องกันและสร้างอนาคตดิจิทัลที่ปลอดภัยและยั่งยืน” เอเดรียนกล่าวเสริม

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)