X
เปลือก-กะลามะพร้าวอย่าทิ้ง แปรรูเป็นปุ๋ยสร้างรายได้ชุมชน 100,000/เดือน

เปลือก-กะลามะพร้าวอย่าทิ้ง แปรรูเป็นปุ๋ยสร้างรายได้ชุมชน 100,000/เดือน

28 ต.ค. 2565
1760 views
ขนาดตัวอักษร

28 ..65 - ชุมชนในมีเปลือก-กะลามะพร้าว อย่าทิ้งเปล่า ทีม “เชียงคานสตอรี่” มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ชนะเลิศU2T for BCG National Hackathon 2022 พัฒนาแปรรูปเป็นปุ๋ย ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนเดือนละ 100,000 บาท


โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล “U2T for BCG” ของกระทรวง อวเห็นผลจริง 4 ทีมชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 สร้างสรรค์ผลงานพัฒนาเพื่อชาวบ้านสุดเจ๋ง เปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างอนาคตทั้งเงินและงานอย่างยั่งยืน โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล หรือ “U2T for BCG”โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขัน U2T for BCG National Hackathon 2022 ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการกว่า 65,000 คนทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมกันระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหา และความต้องการในพื้นที่จริงรวม 7,435 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งสุดยอดสินค้าและบริการ U2T for BCG ที่ผ่านกระบวนการ Hackathon โดยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศผล และมอบรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหารด้านสุขภาพและการแพทย์ด้านพลังงานและวัสดุ และด้านท่องเที่ยวและบริการ


ด้าน ผศณัชชา สมจันทร์ ตัวแทนทีมเชียงคานสตอรี่ ของ .เชียงคาน .เลย ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ด้านพลังงานและวัสดุ กล่าวว่า จากที่ผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วของอำเภอเชียงยืน เป็นสินค้าชุมชนที่ขึ้นชื่อ จึงทำให้ต้องมีใช้มะพร้าวน้ำหอมมาเป็นวัตถุดิบในแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 ลูกปัญหาที่ตามมาคือ เกิดปัญหาขยะของชุมชนจากเปลือกมะพร้าวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งผลกระทบสำคัญที่พบคือทำให้ปลาในธรรมชาติตาย และดินเป็นกรด จากกรดแทนนิกที่มีอยู่ในเปลือกมะพร้าว


ทีมเชียงคานสตอรี่ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เข้าไปร่วมแก้ปัญหาด้วยการวิจัยพัฒนาเปลี่ยนขยะให้เป็นเงินภายใต้ชื่อผลงาน “เปลือกและกะลามะพร้าวมาแปรรูปเป็นปุ๋ย” 

  • ด้วยการนำเปลือกมะพร้าวมาผลิตเป็นวัสดุในการปลูกพืชหรือที่เรียกว่า Coco Peat ที่ปลอดทั้งเชื้อโรคและศัตรูพืช 
  • เก็บกัดความชื้นได้ดี มีคุณสมบัติทางเคมีเหมาะสมกับพืช ใช้งานง่าย สะดวกต่อการเก็บรักษา 
  • ช่วยทั้งการเพิ่มมูลค่าของเปลือกมะพร้าว ทำให้เกิดการหมุนเวียนที่สร้างประโยชน์ และลดมลพิษ ลดขยะในชุมชน 
  • ซึ่งในระยะยาวจะช่วยลดขยะจากเปลือกมะพร้าวได้ถึง 3,000 กิโลกรัมต่อเดือน 
  • ช่วยทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายให้กับลูกค้าเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 
  • โดยในระยะแรกคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ไม่ต่ำกว่า เดือนละ 100,000 บาท


อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)