X
มช. มุ่งเป้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม สู่ “มหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน” ภายในปี 2032

มช. มุ่งเป้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม สู่ “มหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน” ภายในปี 2032

13 ก.พ. 2567
2200 views
ขนาดตัวอักษร

13 ก.พ.67 - มช. มุ่งเป้าสู่ “มหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน” ภายในปี 2032


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนโยบายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2575 และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) โดยมุ่งผลักดันให้แต่ละส่วนงานมีการจัดทำฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงงานครพิงค์ ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการบริหารจัดการโครงการ SODU สำหรับการก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Carbon Neutral University) จึงได้ทำการจัดสัมมนา ภายใต้ชื่องาน "มช. มุ่งสู่ความเป็น กลางทางคาร์บอน (CMU towards Carbon Neutrality)" เพื่อให้ทุกส่วนงาน รับทราบถึงแผนนโยบายในการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยได้ในที่สุด


ภายในงานได้จัดพิธีขอบคุณและมอบเกียรติบัตรแก่หน่วยงานนำร่อง "โครงการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและขอรับรอง Carbon Neutrality พื้นที่การศึกษาแม่เหียะ และศูนย์การศึกษาหริภุญไชย" จำนวนทั้งสิ้น 11 หน่วยงาน ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา ศูนย์สัตว์ทดลอง ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์หอพักในกำกับแม่เหียะ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเขียงใหม่ หริภุญไชย ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ โดยมี พื้นที่การศึกษาแม่เหียะ และศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย จ.ลำพูน เป็นสองหน่วยงานนำร่อง จนทำให้ประสบผลสำเร็จ ได้รับการรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 


โดยมีความมุ่งหวังที่จะให้ทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้ด้วยตนเอง และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัย (Carbon Neutral University) ให้ได้ 70% ในปี 2570 และ 100% ในปี 2575 อีกทั้ง ยังมีการรายงานผลดำเนินการ “โครงการก่อสร้างลานจอดรถต้นแบบที่มีผิวพรุนและซึมน้ำจากขยะพลาสติกและด่านชีวมวลที่มีความเป็นลบทางคาร์บอนบนพื้นฐานเทคนิคการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” 


โดย รศ.ดร. พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าทีมวิจัยในโครงการ Negative Carbon Parking & Road และตัวแทนจากทาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

พร้อมพิธีเปิดลานจอดรถ Negative carbon parking "U-Parking" ณ ลานจอดรถ ด้านหน้าสำนักบริการวิชาการ(UNISERV) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยพัฒนาถนนด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย ได้ศึกษาการนำเศษวัสดุทางการเกษตร มาทำเป็นวัสดุ Carbon removal materials เป็นหนึ่งในส่วนผสมของซีเมนต์เพื่อทำถนนคอนกรีตแบบใหม่และเทคนิคการลาดยางถนนแบบซับน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ ไม่ขังบนถนน


โดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งเป้านโยบาย Carbon Neutral University โดยจะมีการนำร่องวิจัยพัฒนา “ลานจอดรถและถนนแบบ Low Carbon” ในพื้นที่ลานการใช้ประโยชน์ร่วมระหว่าง สำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และ สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพัฒนาต่อไปในพื้นที่อื่น ๆ

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)