X
เปิดช่องให้ นร.เรียนวิธีอื่นหากไม่พร้อมเรียนออนไลน์

เปิดช่องให้ นร.เรียนวิธีอื่นหากไม่พร้อมเรียนออนไลน์

29 ม.ค. 2564
1290 views
ขนาดตัวอักษร


กทม. 29 ..64 - สพฐชี้แจงให้นักเรียนหรือโรงแรียน สามารถเลือกวิธีเรียนได้หลายแบบที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม หากไม่พร้อมเรียนออนไลน์ และลดภาระครอบครัวของนักเรียน


นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ชี้แจงจากกรณีที่มีผู้เสนอความคิดเห็นเรื่องปัญหาจากการเรียนออนไลน์ โดยยืนยันว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สพฐได้กำหนดรูปแบบการเรียนการสอนไว้ 5 รูปแบบ ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียน คือ 1. ON-AIR 2. ONLINE 3. ON–DEMAND 4. ON-HAND และ 5. ON–SITE ไม่จำเป็นว่าโรงเรียนที่ปิดเรียนต้องใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว 


ในกรณีที่เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กำหนด ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกลในระดับปฐมวัยมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการสอนใน 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. การเรียนการสอนผ่านทีวี (ON-AIR) ผ่านระบบดาวเทียมKU-BAND (จานทึบช่อง 186-200 ระบบเคเบิลทีวี (Cable TV) และระบบ IPTV 

2. การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต (ONLINE) ผ่านทางระบบ Video Conference ระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนและระบบอื่นตามที่ สพทจัดเตรียมให้ 

3. การเรียนการสอนแบบ ON–DEMAND ผ่านทางเว็บไซต์ DLTV (www.dltv.ac.th) ช่อง Youtube (DLTV Channel 1-15) และแอปพลิเคชั่น DLTV บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต 

4. การเรียนการสอนแบบ ON-HAND สำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การรับชม โดยการนำหนังสือแบบฝึกหัด ใบงาน ไปเรียนรู้ที่บ้านโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยในการดูแล 


ในส่วนของมัธยมศึกษาปีที่ 4–6 ให้จัดการสอนผ่านทางระบบ Video Conference หรือระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (LMS) ของโรงเรียน หรือระบบที่ สพทได้เตรียมไว้

ในกรณีที่เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีพื้นที่อยู่นอกเหนือจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามที่ ศบคกำหนด ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามปกติ (ON-SITE) โดยยึดคำสั่งจาก ศบค.จังหวัด โดยมี สพทเป็นผู้ดำเนินการ ควบคุมกำกับ ติดตาม และให้ความสะดวกแก่สถานศึกษา 

ดังนั้น นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่จำเป็นต้องหาซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เนื่องจากสถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของตัวเองได้ อีกทั้งสามารถกลับมาเรียนย้อนหลังในเวลาหลังเลิกงานของผู้ปกครอง ผ่านรูปแบบON-Demand หรือ ON-HAND ตามความเหมาะสม 


นายอัมพร กล่าวอีกว่า ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้ปกครองได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้กับทางโรงเรียน ทั้งค่าอาหารกลางวัน ค่ารถ ค่าที่พัก ค่าเรียนพิเศษ แต่กลับไม่ได้ใช้เพราะต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์แทน ขอให้ข้อมูลว่าสถานศึกษาในสังกัด สพฐไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าเทอมจากนักเรียนหรือผู้ปกครอง เนื่องจากรัฐบาลได้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดสรรให้แก่หรือผ่านทางสถานศึกษาหรือผู้จัดการศึกษา ในรายการพื้นฐาน 5 รายการ ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนนอกเหนือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้นักเรียนเกินมาตรฐานที่รัฐจัดให้ สามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ตามความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงจะดำเนินการขอรับการสนับสนุนได้ ซึ่งสถานศึกษาที่เปิดห้องเรียนพิเศษตามโครงการต่าง  ควรดำเนินการคืนค่าใช้จ่ายที่จะนำไปใช้ในการจัดค่ายวิชาการแก่นักเรียนที่เรียนในห้องเรียนพิเศษตามโครงการต่าง  ทุกคน 

สำหรับค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ สถานศึกษายังคงใช้จ้างครูชาวต่างประเทศเพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้แก่นักเรียนเช่นเดิม เช่นเดียวกับห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ยังใช้ครูต่างชาติ ให้นักเรียนได้ฝึกสนทนาโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษ

ขณะที่สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนแบบพักนอน กรณีหากปิดเรียนและใช้วิธีการสอนแบบออนไลน์ ได้ดำเนินการคืนเงินค่าอาหาร ค่าจ้างซักรีด และค่าตัดผมนักเรียน สำหรับค่าบ้านพัก เมื่อมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากนักเรียนหรือผู้ปกครองตั้งแต่แรกเข้า ทางโรงเรียนได้นำไปดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพัก หอนอน และใช้ดูแลซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านพัก

ทั้งนี้ สพฐได้จัดทำแนวทางดำเนินงานและบริหารงบประมาณการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรายการค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (เพิ่มเติมจากเดิม โดยเพิ่มกิจกรรมที่ 5 คือ กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนทางไกลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น การผลิตสื่อการเรียนการสอน ใบงาน แบบฝึกหัด และค่าใช้จ่ายในการติดตามและเยี่ยมบ้านนักเรียนที่เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทางไกลในช่วงการแพร่กระจายของเชื้อโรคดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกัน

 

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)