“...อนุสัญญาเจนีวา ยังย้ำเตือนอยู่เสมอให้เราคำนึงถึงหน้าที่ในการดูแลเอาใจใส่กันและกัน…” – เนลสัน แมนเดลลา
ยามเกิดสงครามหรือมีความขัดแย้งกันทางอาวุธ ย่อมมี “ผู้ได้รับบาดเจ็บ” และพวกเขาเหล่านั้นต้องได้รับการช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม
นายอังรี ดูนังต์ นอกจากริเริ่มให้ก่อตั้งกลุ่มองค์กรกาชาดระหว่างประเทศ และสภากาชาดประจำชาติแล้ว ยังได้กำหนดข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันคุ้มครองชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในยามสงคราม หรือขัดกันทางอาวุธ ที่เรียกว่า “กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” (International Humanitarian Law : IHL)
“กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” (International Humanitarian Law : IHL) นั้นมีต้นกำเนิดมาจาก อนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ คุ้มครองทหารและพลเรือนลอดทั้งพิธีสารเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามและความขัดแย้งกันทางอาวุธ
อนุสัญญาเจนีวา
สาระสำคัญของ IHL คุ้มครองและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามและการขัดกันทางอาวุธ ในการประชุมทางการทูตระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2492 ได้มีการลงนามรับรอง อนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ
- อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ เจ็บป่วยในสนามรบ
- อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ เจ็บป่วยในสงครามทางทะเล
- อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการกำหนดสถานภาพและการปฏิบัติต่อเชลย
- อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือพลเรือนในเขตพื้นที่ที่มีการขัดแย้งกันทางอาวุธ
สาระสำคัญของอนุสัญญาเจนีวา
- ผู้บาดเจ็บต้องไม่ถูกทอดทิ้ง
- ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล
- ผู้เสียชีวิตต้องถูกค้นหา
- พาหนะเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องได้รับการคุ้มครอง
- เชลยศึกต้องได้รับการปลดปล่อยและส่งกลับโดยไม่ชักช้า
- ให้ความช่วยเหลือแก่เรืออับปาง
- โรงพยาบาลต้องไม่ถูกคุกคาม
- หีบห่อยาและเวชภัณฑ์มีเส้นทางลำเอียงที่ปลอดภัย
- สตรีต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษให้พ้นจากการถูกข่มขืน
- ห้ามการปล้นสะดม
- ห้ามแก้แค้นผู้ที่ได้รับการคุ้มกัน
- เป็นหลักของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
- เป็นตราสารระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดในการป้องกันศักดิ์ศรีของมนุษย์ในยามสงคราม
- เป็นอนุสัญญาที่ได้รับการให้สัตยาบันมากที่สุดในโลก (191 ประเทศ)
พิธีสารเพิ่มเติม ( The Additional Protocols)
คือกฎหมาย IHL ที่ขยายความเพิ่มเติมจากอนุสัญญาเจนีวา เพื่อให้ปกป้องชีวิต และศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มพลเรือนให้ได้รับการคุ้มครองมากยิ่งขึ้น จึงมีการลงนามรับรอง พิธีสารเพิ่มเติม 2 ฉบับ ใน พ.ศ. 2550
- พิธีสารฉบับที่ 1 การคุ้มครองพลเรือน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศครอบคลุมถึงทรัพย์สินของพลเรือน อุปกรณ์รักษาพยาบาล แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ และกำหนดวิธีการใช้อาวุธในการทำสงคราม
- พิธีสารฉบับที่ 2 การคุ้มครองพลเรือนซึ่งได้รับผลกระทบจากการขัดแย้งที่มิใช่ระหว่างประเทศ เช่น สงครามกลางเมือง การขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ
สาระสำคัญของพิธีสารเพิ่มเติม
- ต้องจำกัดวิธีการในการทำสงคราม
- ต้องแยกแยะพลเรือนออกจากผู้ที่ทำการสู้รบ (ทหาร)
- ห้ามทำลายสิ่งที่จำเป็นต่อความอยู่รอดของพลเรือน
- ห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าร่วมในการสู้รบ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
กาชาด ถือกำเนิดเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เพื่อนมนุษย์ ป้องกันชีวิตและสุขภาพ เคารพในสิทธิของมนุษย์ ส่งเสริมสัมพันธภาพ ความร่วมมือเพื่อสันติสุขที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ ช่วยเหลือโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ชนชั้น และลัทธิการเมือง
คำว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" (Human Dignity) ในการดำเนินงานของกาชาด มีความสำคัญมากเพราะมนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีที่ผู้อื่นมิอาจจะล่วงละเมิดได้ กาชาดจึงทำหน้าที่ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งในยามสงคราม เมื่อเกิดภัยพิบัติ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐด้วย
ประเทศไทย มีกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 บัญญัติการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ว่า “...คือการห้ามปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงสัตว์ หรือเยี่ยงทาส เช่น จะนำมนุษย์มาทดลองเหมือนสัตว์ไม่ได้ และจะใช้สิทธิที่ได้รับการรับรองนี้ทำสิ่งใดก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น…” มนุษย์ มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่สามารถดำเนินชีวิตด้วยความรับผิดชอบของตนเอง และมีความเป็นอิสระที่จะพัฒนาบุคลิกภาพภายใต้ความรับผิดชอบและการตัดสินใจของตนเอง มนุษย์จึงมีสิทธิและเสรีภาพ โดยไม่ล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น นั่นก็คือการเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นนั่นเอง
สรุปกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL)
- การเคารพชีวิตทหาร พลเรือน
- การเคารพสัญลักษณ์กาชาด
- ห้ามทำร้ายคนที่วางอาวุธ
- ช่วยคนบาดเจ็บ รักษาพยาบาล
- การแบ่งเขตระหว่างทหารและพลเรือน
- การจำกัดวิธีการทำสงคราม