19 ก.ย.66 - 31 ปี ที่รอคอย UNESCO รับรองขึ้นทะเบียนมรดกโลกแห่งใหม่ และเป็นมนดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่4 ของไทย “เมืองโบราณศรีเทพ” จ.เพชรบูรณ์
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 กรุงริยาด ซาอุดิอาราเบีย เดินทางมาถึงวันที่ 19 กันยายน2566 โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้เเทนไทย จากกระทรวงการต่างประเทศ กรมอุทยานเเห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช กรมศิลปากร และสำนักงานนโยบายและเเผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เข้าร่วมการประชุมในวันนี้
ในวาระสำคัญที่คนไทยจับตา การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลก “แหล่งทางวัฒนธรรมของไทย คือ เมืองโบราณศรีเทพ” โดยได้รับข่าวดี คณะกรรมการมรดกโลก (UNESCO) ได้รับการรับรอง “เมืองโบราณศรีเทพ” จ.เพชรบูรณ์ ให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแหล่งใหม่ของโลก และกลายเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแหล่งที่ 4 ของประเทศไทยอีกด้วย ต่อจากนครแหล่งมรดกโลก 1.แหล่งประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 2.แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และ 3.เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร อีกทั้งยังทำให้ขณะนี้ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกรวมทั้งสิ้น 7 แหล่งด้วยกัน
สำหรับบรรยากาศการประชุมฯ ภายหลังจากที่ประชุมให้การรับรองเมืองโบราณศรีเทพของไทยขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกแล้ว นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ได้กล่าวขอบคุณต่อที่ประชุมและขอนำสาสน์ขอบคุณและแสดงความยินดีในนามของประชาชนชาวไทยจาก “นายเศรฐษา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี” นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในครั้งนี้ด้วย ต่อคณะกรรมการมรดกโลกและองค์กรที่ปรึกษา โดยสรุปว่า “เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 3 พื้นที่เกี่ยวข้องกัน มีอายุเก่าแก่ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์”
👉เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทวารวดี ที่โดดเด่นกว่าเมืองในยุคเดียวกัน
👉มีรูปแบบศิลปะ สถาปัตยกรรมที่ได้รับการยอมรับ ในชื่อ “ศิลปะสกุลช่างศรีเทพ”
การขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือและการร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้อง แหล่งอันทรงคุณค่าให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ และสมบัติอันล้ำค่าของคนทั่วโลกและคนรุ่นหลังต่อไปและขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาเยียมเยือนเมืองโบราณศรีเทพ นับตั้งแต่การขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เมื่อ31 ปีที่ผ่านมา เมืองโบราณศรีเทพ นับเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งล่าสุดของประเทศไทย นับจากกาขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เมื่อปี 2535
สำหรับการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ ให้ UNESCO พิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลก คณะทำงานได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 พื้นที่ คือ
👉เมืองโบราณศรีเทพ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
👉เขาคลังนอก และถ้ำเขาถมอรัตน์ ในเขตพื้นที่อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
โดยนำเสนอคุณค่าความโดดเด่น ในเรื่องของการจัดวางผังเมืองที่แตกต่างจากเมืองทวารวดี ในยุคสมัยเดียวกัน และประติมากรรม สกุลช่างศรีเทพ ที่มีลักษณะลอยตัว และมีสีหน้าผสมผสาน
ขณะที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาครัฐ ภาคประชาขาชน ภาคเอกชน กลุ่ม Drive Si Thep รวมตัวกันอย่างเนืองแน่น พร้อมโปกธงชาติไทย แสดงถึงความยินดี เฉลิมฉลองแสดงความยินดีในการขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทย
การนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก
1. คณะรัฐมนตรีประชุมเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 และมีมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก โดยให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ลงนามในหนังสือถึงศูนย์มรดกโลก (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 เมื่อปี 2562 ที่ประชุมได้ให้การรับรองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทย เมืองโบราณศรีเทพ ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
2. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จ้างที่ปรึกษาจัดทำเอกสารการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก
3. วันที่ 10 ธันวาคม 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการนำเสนอเเหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก โดยมีอำนาจหน้าที่โดยสรุป ดังนี้
1) ดำเนินการกำหนดแนวทางและเเผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันและขับเคลื่อการนำเสนอฯ
2) จัดทำและกำกับดูเเลกรจัดทำ (ร่าง) เอกสารการนำเสนอฯ
3) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความร่วมมือในการสนับสนุนการผลักดันการนำเสนอฯ
4) พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) เอกสารนำเสนอก่อนนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม และคณะกรรมการเเหล่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
4. วันที่ 19 มกราคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา และลงมติ
1) เห็นชอบเอกสารนำเสนอเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก เมืองโบราณศรีเทพ และ
2)เห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงนามในเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก ต่อศูนย์มรดกโลก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศสซึ่งเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 ประธานกรรมการแห่งชาติฯ ได้ลงนามในหนังสือถึงศูนย์มรดกโลกจัดส่งเอกสารการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ ฉบับสมบูรณ์ เข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก ภายหลังจากการที่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข 2 ครั้ง
5. วันที่ 16 กันยายน 2565 Ms. Jigna Desai ผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียจากองค์กรที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรม (ICOMOS) ได้เดินทางมาตรวจประเมินพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำเสนอเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง
6. วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ICOMOS จัดการประชุมหารือ ICOMOS World Heritage Panel เพื่อประเมินการเสนอขึ้นทะเบียนแหล่งเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ผ่านการประชุมทางไกล โดยมีผู้แทนกรมศิลปากร และสผ.เข้าร่วม และมีข้อเสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อแหล่งจาก The Ancient Town of Si Thep เป็นชื่ออื่นที่สามารถสื่อถึงแหล่งที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันในการนำเสนอ
7. วันที่ 21 ธันวาคม 2565 สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) มีหนังสือถึงเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ในฐานะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก จัดส่งรายงานความก้าวหน้าการประเมินการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก พร้อมขอรับข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ และ สผ.ได้จัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ตามที่ ICOMOS ร้องขอ
8. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา จะมีการพิจารณาการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก ในวาระการประชุมที่ 45COM 8B.41 (ร่าง) ข้อมติเสนอให้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก (Inscribe) พร้อมขอให้ไทยดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ รวม 11 ข้อ
9. หากเมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จะเป็นแหล่งมรดกโลกเหล่งที่ 7 ของประเทศไทย
👉โดยเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแหล่งที่ 4 ต่อจาก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร