เทศกาลวันหยุดยาว ๆ สงกรานต์ ปีนี้ (2565) รฟม. จับมือ BEM ร่วมส่งเสริมสถาบันครอบครัว เปิดให้ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ฟรี ตั้งแต่ 13 - 15 เม.ย. 65 พร้อมชวนสรงน้ำพระพุทธรูป 19 สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่ง Backbone MCOT รวบรวมพิกัดท่องเที่ยว รอบเส้นทางฯ มาแนะนำ
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ บริษัท ทางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ผู้ให้บริการทางพิเศษ และระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า ร่วมฉลองเทศกาลสงกรานต์ และวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี 2565 เชิญชวนผู้โดยสาร ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ฟรี ในระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน 2565 ตลอดระยะเวลาให้บริการ เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว ให้บุตรหลานพาผู้สูงอายุ เดินทางท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ รอบเส้นทางรถไฟฟ้า MRT เพียงแสดงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อขอรับคูปอง โดยสารรถไฟฟ้า..ฟรี ได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารทุกสถานี
พร้อมกันนี้ รถไฟฟ้า MRT ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูป เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล ในระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2565 เวลา 09.00 - 19.00 น. ณ บริเวณชั้นออกบัตรโดยสาร ของสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จำนวน 19 สถานี ได้แก่
(สำหรับสถานที่ท่องเที่ยว ของแต่ละสถานีดังกล่าว จะแนะนำพิกัดที่อยู่ใกล้สุด หรือสถานีถัดไปที่ใกล้ที่สุด)
1. สถานีหลักสอง
+ สวนเพชรกาญจนารมย์ : ใช้ทางออก 4
+ เดอะมอลล์ บางแค : ใช้ทางออก 4
2. สถานีภาษีเจริญ
+ ซีคอน บางแค : ใช้ทางออก 2
3. สถานีบางหว้า
+ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (แนะนำให้ลงสถานีบางไผ่) : ใช้ทางออก 1 และเข้าซอยเพชรเกษม 19 ระยะทางประมาณ 900 ม.
+ วัดกำแพงบางจาก (แนะนำให้ลงสถานีบางไผ่) : ใช้ทางออก 4 เลี้ยวเข้าซอยเพชรเกษม 20 ระยะทางประมาณ 800 ม.
+ วัดนางชีโชติการาม (แนะนำให้ลงสถานีบางไผ่) : ใช้ทางออก 2 เลี้ยวเข้าซอยเพชรเกษม 23 ระยะทางประมาณ 1.7 กม.
4. สถานีท่าพระ
+ วัดท่าพระ : ใช้ทางออก 4 https://bit.ly/3LoooHv
+ ย่านตลาดพลู : ใช้ทางออก 2 และใช้ถนนรัชดาภิเษก ประมาณ 1 กม.
+ วัดประดู่ในทรงธรรม : ใช้ทางออก 2B เดินไปตาม ซอยเพชรเกษม 15 ระยะทางประมาณ 600 ม.
+ ตลาดท่าพระรุ่งเรือง : ใช้ทางออก 1 เดินไปทางถนนจรัญสนิทวงศ์ แล้วเลี้ยวไปถนนเพชรเกษม ซอย 5/1 ระยะทางประมาณ 600 ม.
5. สถานีสนามไชย
+ พิพิธภัณฑ์ใต้ดินแห่งแรก “Site Museum” : อยู่ภายในสถานีสนามไชย บริเวณทางขึ้นไปยังทางออก 1
+ มิวเซียมสยาม : ใช้ทางออก 1
+ วัดโพธิ์ : ใช้ทางออก 1 https://bit.ly/3Bcey70
+ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร : ใช้ทางออก 5 ต่อเรือข้ามฟากได้ที่ ท่าเรือปากคลองตลาด https://bit.ly/3CBdlG5
+ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร : ใช้ทางออก 5 ต่อรถเมล์สาย 53 บริเวณป้ายหน้าโรงเรียนราชินี ปลายทางป้ายท่าเตียน ต่อเรือข้ามฟากได้ที่ ท่าเตียน https://bit.ly/2ZHdFER
+ ยอดพิมาน ริเวอร์ วอล์ก :ใช้ทางออก 5 เดินต่อประมาณ 450 เมตร https://bit.ly/3EzvxAs
+ ท่ามหาราช : ใช้ทางออก 5 ต่อรถเมล์สาย 53 บริเวณป้ายหน้าโรงเรียนราชินี / ปลายทางป้ายมหาราช https://bit.ly/3CBD94Q
+ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา : ใช้ทางออก 5 เดินต่อประมาณ 800 เมตร https://bit.ly/2ZBLJC8
+ สวนสราญรมย์ : ใช้ทางออก 2
+ ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร : ใช้ทางออก 1 เดินไปทางซ้ายของถนนสนามไชย ระยะทางประมาณ 900 ม.
6. สถานีวัดมังกร
+ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) : ใช้ทางออก 3 เดินต่อประมาณ 200 เมตร https://bit.ly/3GsITiq
+ ศาลเจ้าแม่ประดู่ : ใช้ทางออก 1 https://bit.ly/3GMHgfM
+ ถนนเยาวราช : ใช้ทางออก 1 เดินต่อประมาณ 300 เมตร
+ วงเวียนโอเดียน : ใช้ทางออก 1 เดินต่อประมาณ 700 เมตร
+ ตลาดสำเพ็ง : ใช้ทางออก 1 เดินต่อประมาณ 800 เมตร
7. สถานีหัวลำโพง
+ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร (วัดสามจีน) : ใช้ทางออก 1 แล้วเดินต่อไปอีกแค่ 200 เมตร
+ โบสถ์กาลหว่าร์ (โบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในย่านตลาดน้อย) : ใช้ทางออก 1 เดินเลี้ยวซ้ายไปตามถนนมหาพฤฒาราม เลี้ยวขวาเข้าถนนข้าวหลาม และเลี้ยวซ้าย เข้าถนนเจริญกรุง จากนั้นเข้าถนนโยธาประมาณ 130 ม.
8. สถานีสามย่าน
+ วัดหัวลำโพง : ใช้ทางออก 1
+ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ใช้ทางออก 2
+ สามย่าน มิตรทาวน์, จามจุรี สแควร์ : ใช้ทางออก 2
9. สถานีสีลม
+ วัดแขก (วัดพระศรีมหาอุมาเทวี) : ใช้ทางออก 2 https://bit.ly/34rGacs
+ สวนลุมพินี : ใช้ทางออก 1
+ ตลาดละลายทรัพย์ : ใช้ทางออก 2 เดินตรงไปตามถนนสีลม ประมาณ 800 ม. ก็ถึงตลาด
10. สถานีสุขุมวิท
+ สวนป่าเบญจกิติ (อุทยานเบญจสิริ) : ใช้ทางออก 3 เดินต่อประมาณ 400 เมตร https://bit.ly/3hlobH7
+ เทอร์มินอล 21 : ใช้ทางออก 3
+ ชิม บาย สยามวิสดอม (ร้านอาหารระดับ Michelin Star 1 ดาว) : ใช้ทางออก 2 เดินเข้าซอยคาวบอย และเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 23 ประมาณ 1.4 กม.
11. สถานีพระราม 9
+ เซ็นทรัลพลาซาแกรนด์ พระราม 9 : ใช้ทางออก 2
+ ฟอร์จูน ทาวน์ : ใช้ทางออก 1
+ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก : ใช้ทางออก 2 แล้วนั่งรถเมล์สาย 137, 168 ลงป้ายรถฯ ก่อนถึงถนนเลียบทางด่วนรามอินทราฯ
12. สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
+ เดอะ สตรีท รัชดา : ใช้ทางออก 4 เลี้ยวซ้าย มุ่งหน้าแยกห้วยขวาง
+ เอสพลานาด รัชดา : ใช้ทางออก 3
+ อาคารไซเบอร์ เวิลด์ ทาวเวอร์ : ใช้ทางออก 1 เลี้ยวขวาเดินตรงไปประมาณ 500 เมตร จะเจอตัวอาคาร
+ วัดกุนนทีรุทธาราม (แนะนำให้ลงสถานีห้วยขวาง) : ใช้ทางออก 4
+ เทวาลัยพระพิฆเนศ (แนะนำให้ลงสถานีห้วยขวาง) : ใช้ทางออก 4 เดินไปทางขวาประมาณ 100 ม.
+ สมบูรณ์โภชนา ร้านอร่อยเมนู “ปูผัดผงกะหรี่” ในตำนาน (แนะนำให้ลงสถานีห้วยขวาง) : ใช้ทางออก 3
13. สถานีลาดพร้าว
+ ดิ อิสสระ ลาดพร้าว : ใช้ทางออก 2 เดินย้อนไปทาง พหลโยธิน อยู่ระหว่างซอยลาดพร้าว 12
14. สถานีพหลโยธิน
+ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว : ใช้ทางออก 4
+ ยูเนี่ยน มอลล์ : ใช้ทางออก 4, 5
15. สถานีสวนจตุจักร
+ สวนจตุจักร : ใช้ทางออก 2
+ สวนรถไฟ (สวนวชิรเบญจทัศ) และ พิพิธภัณฑ์เด็ก : ใช้ทางออก 2 เดินลัดผ่านสวนจตุจักร ก็จะพบสวนวชิรเบญจทัศ ระยะทางประมาณ 1 กม.
+ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ : ใช้ทางออก 2
+ สวนจตุจักรพลาซ่า : ใช้ทางออก 1
16. สถานีบางซื่อ
+ วัดธรรมาภิรตาราม (วัดสะพานสูง) : ใช้ทางออก 1 แล้วนั่งรถเมล์สาย 5, 50, 65, 67, 70 หรือ 97
+ สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ : ใช้ทางออก 2 เดินไปทางซ้าย
17. สถานีบางโพ
+ วิเศษไก่ย่างภัตตาคาร : ลงลิฟต์จากสถานีบางโพ ใช้ทางออก 1A แล้วเดินกลับมาทางสี่แยกบางโพ เลี้ยวขวาประมาณ 100 ม.
+ ราดหน้าบางโพ : ลงลิฟต์จากสถานีบางโพ ใช้ทางออก 1A แล้วเดินกลับมาทางสี่แยกบางโพ เดินตรงไปอีกประมาณ 250 ม.
18. สถานีสิรินธร
+ บ้านอาจารย์ฝรั่ง (อดีตเป็นบ้านของ อ.ศิลป์ พีระศรี) : ใช้ทางออก 3A แล้วไปตามถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธน ระยะทางประมาณ 1.6 กม.
19. สถานีบางขุนนนท์
+ ตลาดน้ำตลิ่งชัน : ใช้ทางออก 1 และใช้ถนนสายเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 4.2 กม.
และ สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ทั้ง 16 สถานี
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือผู้โดยสาร ในการตรวจสัมภาระ และไม่อนุญาตให้นำน้ำ ถังน้ำหรือปืนฉีดน้ำที่บรรจุน้ำ เข้ามาในระบบรถไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ระบบ
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ จะยังคงดำเนินการ ตามมาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัส COVID-19 ในระบบรถไฟฟ้า MRT ทั้ง 2 สายอย่างเข้มงวด อาทิ
+ การทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ภายในสถานี และภายในขบวนรถไฟฟ้า
+ การทำความสะอาด เหรียญโดยสารก่อน นำไปให้บริการ
+ การตรวจวัดอุณหภูมิของเจ้าหน้าที่ ที่ให้บริการในสถานี เป็นต้น
และ ขอเน้นย้ำผู้โดยสาร โปรดให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ในการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนเข้าใช้บริการ, ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ในจุดให้บริการในสถานี, รักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing), สวมใส่หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย ตลอดระยะเวลา การใช้บริการ และสแกน QR Code ไทยชนะ ที่ติดอยู่ภายในตู้โดยสาร เพื่อเช็กอิน
เพื่อสุขอนามัยที่ดี ทั้งตนเอง และสังคมส่วนรวม รวมถึงการอำนวยความสะดวก และปลอดภัยให้แก่ประชาชน ที่จะเดินทางในช่วงเทศกาล โดยได้เตรียมความพร้อม ด้านมาตรการรักษา ความปลอดภัยในสถานี โดยจัดพนักงานตรวจความปลอดภัย ยืนประจำจุดตรวจสัมภาระ (Walk through Scanner) การตรวจตราผ่าน กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ตลอดจนการสังเกต ติดตาม ตรวจสอบบุคคล ที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย ที่เข้ามาในสถานี สร้างความมั่นใจ ในระบบรักษาความปลอดภัย ให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าอีกด้วย
นอกจากนี้ MRT ยังมีข้อมูลที่ส่งเสริม ความปลอดภัยของผู้สูงวัย ที่ช่วยลดความเสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุ ในการเดินทางรถไฟฟ้า MRT ควรเลือกใช้บริการลิฟต์โดยสาร ในการขึ้น-ลงสถานี หรือเปลี่ยนชั้นชานชาลา แทนการใช้บันไดเลื่อน เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มผู้โดยสาร ที่ต้องช่วยกันดูแลเป็นพิเศษ และมีความเสี่ยง ต่อการหกล้มได้ง่าย เพราะสายตา และสภาพร่างกาย อาจทำให้การล้ม เกิดบาดเจ็บสาหัสได้ง่าย หากผู้โดยสารพบเห็นผู้สูงอายุ ใช้บันไดเลื่อนเพียงลำพัง ร่วมกันแนะนำ ให้มาใช้บริการลิฟต์ เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ซึ่ง 3 สาเหตุหลัก จากการเกิดอุบัติเหตุบนบันไดเลื่อน คือ
1. การล้ม เพราะถือสัมภาระ 2 มือ ทำให้ไม่มีมือไว้ยึดเกาะ เมื่อทรงตัวไม่ดี ทำให้เสียหลัก และล้มได้
2. การล้ม เพราะยืนพิง ผนังบันไดเลื่อน ซึ่งผนังบันไดเลื่อน จะไม่ได้เลื่อนตามราวจับ ทำให้เสียหลักล้มได้
3. การล้ม เพราะไม่จับราวบันไดเลื่อน ซึ่งอาจจะกำลังใช้โทรศัพท์ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในขณะใช้บันไดเลื่อน ทำให้เสียการทรงตัวจนล้มได้
อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้า MRT ยังมีข้อความรณรงค์ ทางด้านความปลอดภัย ที่ว่า “MRT อยากเห็นคุณดูแลกัน ความปลอดภัยคุณทำได้ เราทำได้ ผู้สูงวัยทุกท่านทำได้”
สามารถสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดตามทางช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
ศูนย์บริการข้อมูลโทร. 0-2624-5200
เฟซบุ๊ก: MRT Bangkok Metro
ทวิตเตอร์: MRT Bangkok Metro
อินสตาแกรม: mrt_bangkok
และ โมบายแอปพลิเคชัน: Bangkok MRT “เดินทางปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ด้วยรถไฟฟ้า MRT”
อ้างอิง และขอบคุณข้อมูล จาก :
เฟซบุ๊ก : MRT Bangkok Metro
https://www.facebook.com/BEM.MRT
เว็บไซต์ : บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
https://www.bemplc.co.th
12 เม.ย 2565
1180 views
ขนาดตัวอักษร
อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย