พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า เทคโนโลยีอวกาศ กับ digital transformation คือ เรื่องเดียวกัน ที่นำ digital footprint มาแปลงเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ เวลามองจากอวกาศ เราจะเห็นดาวเทียมที่ส่งข้อมูลกลับมายังโลกมากมาย ข้อมูลเหล่านี้คือ digital footprint ของเมืองและภูมิภาคนั้น ข้อมูลที่ได้ทั้งข้อมูลสภาพอากาศ และภาพถ่ายทางอากาศ สามารถเอามาใช้ในการวางแผน
กฤชนนท์ จินดาวงศ์ นักวิเคราพห์ กล่าวว่า ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง ระบบสำรวจระยะไกล ระบบนำทางระยะไกลจะเป็นที่ต้องการของภาคการเกษตร ขนส่ง และธุรกิจก่อสร้าง หากนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ในภาคการเกษตรจะช่วยลดผลความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ 2354 ล้านบาทต่อปี ในภาคขนส่งจนลดการเน่าเสียในการขนส่งได้3,000 ล้านบาทต่อปี และธุรกิจก่อสร้าง นำโดรนและภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการสำรวจ จะช่วยลดต้นทุนได้ถึง 10%ต่อปี
โอกาสในการที่ประเทศไทยจะเป็นผู้ผลิต Space Technology ในเชิงพาณิชย์ ต้องลงลงทุนไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในช่วย 10 ปีต่อจากนี้ แต่จะเป็นการลงทุนที่มีประโยชน์ เพราะ Space Technology จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยการลงทุน ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยรวม 92,000 ล้านบาท การวิจัยและพัฒนา 64,000 ล้านบาท และการพัฒนาบุคลากร 44,000 ล้านบาท โดยภาครัฐและเอกชนควรมีบทบาทร่วมกันในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา