X
ทำความรู้จัก DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย

ทำความรู้จัก DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย

29 มี.ค. 2565
57200 views
ขนาดตัวอักษร


จากกรณีที่มีข่าวลือว่า DSI จ่อรับสืบสวนสอบสวนคดีของ “แตงโม นิดา” เป็นคดีพิเศษนั้น วันนี้ #BackboneMCOT จึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ DSI หรือ กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย กันค่ะ


DSI คือใคร?

กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย (Department of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


หน้าที่ของ DSI มีอะไรบ้าง?

ป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

มีอำนาจจับกุม หากความผิดดังกล่าวเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จับได้ทั้งโดยการขอหมายจับ หรือกรณีความผิดซึ่งหน้า และมีอำนาจพกพาอาวุธได้ เช่นเดียวกับทหาร ตำรวจ ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ มาตรา 29


“คดีพิเศษ” คืออะไร?

“คดีพิเศษ” หรือคดีอาชญากรรมพิเศษในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หมายถึง คดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้าย พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.)


5 เงื่อนไข ที่ DSI จะรับเข้า “คดีพิเศษ”

    1. คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ

    2. คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่นคงของประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ

    3. คดีความผิดทางอาญาที่มีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม

    4. คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน

    5. คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา


    ทั้งนี้การกระทำความผิด ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงฯ จะเป็นคดีพิเศษจะต้องเข้าลักษณะตาม (1) – (19)[10] และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้มีการกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด อาทิ มูลค่าความเสียหาย จำนวนผู้กระทำความผิดไว้ในประกาศ กคพ. เรื่องการกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)


ที่มา : DSI (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)