ท่าเรือเขียว ท่าเรือแดง ที่ท่าเตียน อดีตจุดเชื่อมต่อสำคัญในการคมนาคมของเมืองกรุงเทพฯ อดีตตลาดท้ายวัง มาเป็นตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ ที่ที่มีคนโดยสารเรือจากต่างจังหวัดมาที่ท่าเตียน เรือขนสินค้า ข้าวสาร ผลไม้ หมาก พลู กะปิ น้ำปลา ฯลฯ
ย้อนวันเวลาที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเตียนถูกพัฒนาให้มีตึกร้านค้าในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ราวปี 2450 รูปแบบสถาปัตยกรรมของท่าเตียนมีรูปแบบเป็นอาคารตึกล้อมตลาด ชั้นล่างของตึกทำการค้าขั้นเป็นที่พัก ท่าเตียนเป็นย่านการค้าสำคัญมาอย่างยาวนาน 2470 มีการสร้างตึกแถวริมน้ำเป็น Art Deco เพื่อให้เช่าทำการค้า 2510 เกิดไฟไหม้ตลาดมรกฎ จะเห็นว่าท่าเตียนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทั้งเพราะเวลาเปลี่ยน บริบทเปลี่ยนทำให้การใช้งานเปลี่ยนไป
ทิศทางการพัฒนาย่านท่าเตียนด้วยยุทธศาสตร์การเชื่อมย่านสู่เมือง จะทำสองส่วนคือการฟื้นฟูพื้นที่เก่าในท่าเตียน ตลาด ตึกแถวเช่า เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่รองย่านที่มีเอกลักษณ์ โดยเลือกจากพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เล่าเรื่องราวแต่ละยุคสมัย พื้นที่พาณิชยกรรมที่มีเอกลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรมหรือพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ และพื้นที่ราชการที่มีศักยภาพพัฒนาใหม่
การเปลี่ยนแปลงย่านเก่า อยู่ภายใต้กลยุทธ์ ด้านเทคโนโลยี 10 เทรนด์ คือ การเป็นย่านที่รองรับวิถีชีวิตที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา มีระบบรางเชื่อมเมือง มีอิสระแห่งการทำงาน และมีบริการสาธารณะที่สะดวก บูรณาการของการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม อุตสาหกรรมใหม่กลางเมืองซึ่งมีขนาดเล็กลง และแหล่งพลังงานหลากหลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์โครงสร้างประชากรใหม่ ความปกติใหม่ของชีวิตคนเมือง และการพัฒนาอย่างทั่วถึง
ท่าเตียน คงไม่เหี้ยนเตียน ในความเปลี่ยนแปลง แต่คงเปลี่ยนไป จากภาพร้านค้าที่เห็นชินตาเป็น ร้านอาหาร โรงแรม แหล่งพักผ่อนยามเย็น แบะยังคงเป็นย่านที่มีความทรงจำทั้งเก่าและใหม่ Sense of Place ในการที่ปลี่ยนไปสู่ ย่านบริการการท่องเที่ยว ผู้คนมาที่นี่ไม่ได้หวังที่จะได้อิ่มท้องอย่างเดียว แต่หวังจะได้อิ่มใจ ได้ความทรงจำและภาพสวยๆ จาก ท่าเตียน
ข้อมูลพัฒนาเมืองจากโครงการ กรุงเทพ 250