สี่เหลี่ยมสีทอง มีลายเส้นรูปบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ด้านหลัง เขียนตัวหนังสือ บูรณะภูเขาทอง 2567 เป็นของขวัญ จากการร่วมทำบุญบูรณะ พระเจดีย์ ยอดภูเขาทอง วัดสระเกศ
ความเป็นมา ของภูเขาทอง สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่3 จุดมุ่งหมายคือ การมีเจดีย์ภูเขาทอง เหมือน วัดภูเขาทอง ที่กรุงศรีอยุธยา บริเวณที่ตั้งทั้งสองแห่งติดริมน้ำ เป็นที่ลอยเรือเล่นสักวา เพื่อพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง และเมื่อฝั่งธนบุรี มีพระปรางวัดอรุณราชวรารามแล้ว ภูเขาทองจึงจะเป็น แลนด์มาร์คของฝั่งกรุงเทพฯ
ความตั้งใจเดิมของภูเขาทองจะสร้างให้ใหญ่กว่าที่เห็นแต่เกิดการถล่มเพราะดินชายน้ำไม่แน่นพอ จึงเหลือขนาดที่เราเห็น เดิมเจดีย์ภูเขาทองเป็นเจดีย์ปูนสีขาวมาตั้งแต่แรก กาลเวลาทำให้ภูเขาทองทรุดโทรม จึงทำการบูรณะมาหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือปี การซ่อมแซมปี 2509 มีการนำเอาโมเสกที่บูรณะพระบรมมหาราชวังง มาใช้ปิดองค์เจดีย์ ตั้งแต่นั้นมาเจดีย์ภูเขาทองจึงเป็นสีทอง
ปี 2567 วงรอบของการบูรณะพระเจดีย์เกิดขึ้นอีกครั้ง ตึงมีการนำเอา เศษโมเสกที่ชำรุดหักพังมาทำเป็นของที่ระลึกแก่ผู้ทำบุญ ว่ากันว่าประสบการณ์ในการเอา ของที่ระลึกมาใช้ติดตัว มีเรื่องดีๆเกิดขึ้นมากมาก อาจเป็นเพราะเจดีย์ภูเขาทอง บรรจุ พระบรมสารีสริกธาตุ มีผู้คนกราบไว้บูชามาอย่างยาวนาน และอาจด้วยัจุดที่ตั้ง ของบรมบรรพต ถือเป็น จุดกึ่งกลางประเทศ (กึ่งกลางประเทศไม่ใช่กึ่งกลางเมือง) จึงถือเป็นพื้นที่มงคลและสำคัญมากของเมือง บรรจุสิริมงคลที่สำคัญไว้
ปี 2567 วงรอบของการบูรณะพระเจดีย์ บรมบรรพต เกิดขึ้นอีกครั้ง งานหลักคือการเปลี่ยนโมเสกที่ปิดรององค์เจดีย์ เมื่อเอาโมเสกเก่าออก และมีการนำเอา เศษโมเสกที่ชำรุดหักพังมาทำเป็นของที่ระลึกแก่ผู้ทำบุญ ว่ากันว่าประสบการณ์ในการเอา ของที่ระลึกมาใช้ติดตัว มีเรื่องดีๆเกิดขึ้นมากมาย
ภาพจากเพจ โครงการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ พระบรมบรรพต ภูเขาทอง