“ริกเตอร์” ขนาดนี้ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะขนาดไหน? จากกรณีเกิด “แผ่นดินไหว” ที่หมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย-เมียนมา ใกล้กับจังหวัดภูเก็ตประมาณ 400 กม. มากกว่า 30 ครั้ง วันนี้ทีมงาน Backbone MCOT จึงขอนำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวมาฝากกัน
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้เผยแพร่บทความ “ความรุนแรงของแผ่นดินไหว” โดยได้อธิบายความหมายของ “ขนาด” และ “ความรุนแรงแผ่นดินไหว” เอาไว้ ดังนี้
ขนาด (Magnitude)
เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น “ริกเตอร์”
ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity)
แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก
มาตราริกเตอร์