X
สึนามิคลื่นยักษ์ ภัยพิบัติร้ายแห่งท้องทะเล

สึนามิคลื่นยักษ์ ภัยพิบัติร้ายแห่งท้องทะเล

3 เม.ย 2567
2090 views
ขนาดตัวอักษร

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว รุนแรง ขนาด 7.4 ลึก 19 กิโลเมตร ตึกถล่ม บริเวณชายฝั่งไต้หวัน ทำให้ประเทศญี่ปุ่น ประกาศเตือนสึนามิ

วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้  คลื่นสินามิ ภัยพิบัติธรรมชาติที่น่ากลัว


เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักสึนามิ

กรมทรัพยากรธรณี ได้ระบุว่า สึนามิ (Tsunami) เป็นคำที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าหมายถึงคลื่นยักษ์ที่มีความยาวคลื่นเป็นหลัก 100 กิโลเมตรขึ้นไป ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ 


เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นหากแปลตรงตัวคำว่า TUS หมายถึง ท่าเรือ NAMI หมายถึง คลื่น


สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งตรงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งก่อให้มีแนวของรอยเลื่อนมีพลังอันเป็นแหล่งกำหนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คลื่นที่เกิดขึ้นมักมีลักษณะขนาดเล็ก  ไม่สามารถตรวจวัดได้ขณะอยู่ในทะเลเปิด 


ต่อเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตามสภาพภูมิลักษณ์ของชายฝั่งนั้นๆ จนมีผลกระทบร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลต่ออ่าวที่เว้าเป็นรูปตัววี (V) และเปิดไปสู่มหาสมุทรโดยตรง


สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ มี 4 รูปแบบหลัก


  • 1. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวที่พื้นท้องทะเล
  • 2. การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเล 
  • 3. ดินถล่มที่พื้นท้องทะเล 
  • 4. การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล


ในย่านมหาสมุทรอินเดีย ก็สามารถเกิดสึนามิได้เช่นกัน ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนี้

  • 🌊เมื่อ 326 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกิดแผ่นดินไหวใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำสินธุ ประเทศอินเดีย ส่งผลให้เกิดสึนามิเข้าโจมตีกองเรือรบของกษัตริย์อเลกซานเดอมหาราช ขณะเดินทางกลับประเทศกรีก (Lietzin, 1974)
  • 🌊.. 2067 เกิดสึนามิใกล้เมืองดาพอล รัฐมหาราชต์ ประเทศอินเดีย
  • 🌊.. 2305 เกิดแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งอารากัน สหภาพพม่า ส่งผลให้เกิดสึนามิ ทำความเสียหายกับบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวเบงกอล
  • 🌊.. 2340 เกิดแผ่นดินไหวในทะเลทางทิศตะวันตกของตอนกลางเกาะสุมาตรา ด้วยขนาด 8.4 ริกเตอร์ ทำให้เกิดสึนามิ เข้าชายฝั่งเมืองปาดัง ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน
  • 🌊.. 2376 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.7 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งตะวันตกด้านทิศใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ทำความเสียหายให้แก่บริเวณดังกล่าว และมีผู้เสียชีวิตมากมาย
  • 🌊.. 2386 มีคลื่นขนาดใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่หมู่เกาะ Nias มีรายงานการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก
  • 🌊.. 2424 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ ที่หมู่เกาะอันดามัน ส่งผลให้เกิดสึนามิมีคลื่นสูง 1 เมตร เข้ากระแทกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินเดีย
  • 🌊27 สิงหาคม 2426 เวลาเช้าตรูภูเขาไฟกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง เป็นผลให้ปากปล่องภูเขาไฟทะลายลงทะเลส่งผลให้เกิดสึนามิทั่วมหาสมุทรอินเดีย ที่เกาะชวา และเกาะสุมาตรามีความสูงของคลื่นสึนามิ 15 - 42 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 36,000 คน
  • 🌊26 มิถุนายน 2484 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่ระหว่างหมู่เกาะนิโคบาร์-อันดามัน แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงแนวชายฝั่งของประเทศอินเดีย และศรีลังกา ทำให้เกิดสึนามิตามมา มีการบันทึกว่ามีความสูงของคลื่น 1 เมตร และเชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน
  • 🌊27 พฤศจิกายน 2488 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางบริเวณชายฝั่งทะเลเมืองมิกราน ทางทิศใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร ของเมืองหลวง ประเทศปากีสถาน เป็นผลให้เกิดสึนามิทำความเสียหายให้แก่ชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย



เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ 26 ธันวาคม 2547

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเวลา 07:58:53 เวลาท้องถิ่นของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ตามรายงานของกรมธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) มีขนาด 9.0 ริกเตอร์ (Moment Magnitude) ที่ระดับความลึกจากพื้นท้องทะเล 28.6 กิโลเมตร มีศูนย์กลางในทะเลนอกชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งส่งพลังงานมหาศาลเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา23,000 ลูก ก่อให้เกิดการสั่นไหวที่รุนแรงของแผ่นดิน และเกิดสึนามิตามมาในมหาสมุทรอินเดีย โดยเข้าถล่มชายฝั่งประเทศต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ ได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ไทย โซมาเลียมัลดีฟส์ พม่า แทนซาเนีย บังคลาเทศ และเคนยา มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,000 คน และสูญหายอีกหลายหมื่นคน เฉพาะในเมืองบันดาอาเจะห์ ของประเทศอินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 150,000 คนสำหรับประเทศไทยมี 6 จังหวัดในฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับผลกระทบ คือ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ภูเก็ต ตรัง และสตูล มีผู้เสียชีวิตทั้งคนไทย และต่างชาติมากกว่า 5,395 คน และสูญหายมากกว่า2,000 คน บาดเจ็บประมาณ 8,000 คน ส่วนอาคารบ้านเรือน โรงแรมที่พักเสียหายอย่างยับเยิน และพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยได้รับผลกระทบมากกว่า 475,000 ไร่


ลำดับเหตุการณ์ของสึนามิที่มีผลกระทบกับประเทศไทยในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 โดยมียอดคลื่นสูงสุด10 เมตร พัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้


  • เวลา 09.35 น้ำทะเลแห้งจากบริเวณชายหาดโดยถดถอยลงเป็นระยะทาง 100 เมตร เป็น เวลา 5 นาที
  • เวลา 09.38 คลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร เข้ากระทบฝั่ง
  • เวลา 09.43 คลื่นสูง 6-7 เมตร เข้ากระทบฝั่ง
  • เวลา 10.03 คลื่นสูงเกินกว่า 10 เมตร เข้ากระทบฝั่งเป็นเวลา 20 นาที
  • เวลา 10.20 คลื่นสูง 5 เมตร เข้ากระทบฝั่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง และ น้ำทะเลกลับสู่ระดับปกติเวลาประมาณ 12.00 .



สำหรับบริเวณแหล่งเกิดสึนามิ ส่วนใหญ่สึนามิเกิดบริเวณเดียวกับย่านที่เกิดแผ่นดินไหวในทะเลหรือชายฝั่งโดย 80% ของสึนามิที่เกิดทั้งหมดมักอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก กรมทรัพยากรธรณี ยกตัวอย่างการเกิดสึนามิ ครั้งรุนแรงในอดีต ไว้ดังนี้


  • 🌊เมื่อประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกิดภูเขาไฟระเบิดที่เกาะอีเจียน เมืองทีรา ประเทศกรีซ ทำให้เกิดสึนามิในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สันนิษฐานว่ามีคลื่นสึนามิที่กระทบชายฝั่งของอิสราเอลสูงประมาณ 6 เมตร
  • 🌊.. 2298 เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เป็นผลให้เกิดสึนามิตามแนวชายฝั่งประเทศโปรตุเกส สเปน และโมร็อกโก มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ 60,000 คน
  • 🌊15 มิถุนายน 2439 เกิดสึนามิที่เมืองเมจิ ซันริจู คลื่นสูง 30 เมตร มีผู้เสียชีวิต 27,000 คน บาดเจ็บ 9,316 รายบ้านเรือนเสียหาย 10,600 หลัง
  • 🌊1 เมษายน 2489 เกิดแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งของมลรัฐอาลาสกา ทำให้ประภาคารสกอตซ์เคป บนเกาะยูนิแมก สูง13.5 เมตร พังทลาย ต่อมาประมาณ 5 ชั่วโมง คลื่นสึนามิแผ่ไปถึงเมืองฮีโล มลรัฐฮาวาย ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่าวขนาดใหญ่ และรับคลื่นสึนามิโดยตรง ทำให้มียอดคลื่นสูง 16 เมตร ก่อความเสียหายรุนแรง ไม่ว่าอาคารบ้านเรือน สะพานรางรถไฟ ถนนเลียบชายหาด เสียหายยับเยิน คร่าชีวิตมนุษย์ประมาร 160 คน
  • 🌊 23 พฤษภาคม 2503 เกิดแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งประเทศชิลีขนาด 9.5 ริกเตอร์ (แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่บันทึกได้ก่อให้เกิดสึนามิทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก คร่าชีวิตมนุษย์กว่า 1,000 คน คลื่นมีความเร็ว 710 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากประเทศชิลีถึงเมืองฮีโล มลรัฐฮาวาย 14.9 ชั่วโมง ซึ่งอยู่ห่าง 10,600 กิโลเมตรได้รับผลกระทบรุนแรง ความร้ายกาจของสึนามิครั้งนี้ยังคร่าชีวิตชาวญี่ปุ่น 140 คน ทั้งที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ห่างถึง 17,000 กิโลเมตร ซึ่งมียอดคลื่นสูงถึง 7 เมตร ใช้เวลาเดินทาง 24 ชั่วโมง
  • 🌊27 มีนาคม 2507 เกิดสึนามิจากแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริกเตอร์ ในร่องลึกชันอะลูเชียน ใกล้ชายฝั่งมลรัฐอาลาสกาทำให้บริเวณอ่าววาลดีสมียอดคลื่นสูง 30 เมตร และที่ชายฝั่งมลรัฐฮาวายมียอดคลื่นสูง 5 เมตร
  • 🌊 2 กันยายน 2535 เกิดสึนามิที่ประเทศนิการากัว มียอดคลื่นสูง 10 เมตร คนเสียชีวิต 170 คน บาดเจ็บ 500 คนประชากรไร้ที่อยู่อาศัย 13,000 ครอบครัว
  • 🌊13 กรกฎาคม 2536 เกิดคลื่นสึนามิเข้าทำลายชายฝั่งเมืองโอะกุชิริ เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่นอย่างรุนแรง
  • 🌊 17 กรกฎาคม 2541 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของเมืองซาวน์ดาวน์ เกาะปาปัวนิวกีนี ส่งผลให้มีดินถล่มใต้ทะเล และสึนามิตามมาเป็นชุดขนาดใหญ่อย่างน้อย 3 ชุด มีผู้เสียชีวิต 2,200 คน บาดเจ็บ473 คน บริเวณชายฝั่งเสียหายมาก ตามรายงานของ Earthquake Engineering Research Institue (January, 1999) รายงานว่าแผ่นดินไหวเกิดเวลา 18.49 ตามเวลาท้องถิ่น มีผู้บาดเจ็บถูกทยอยส่งเข้าโรงพยาบาลเมืองไอทาเป เวลา 20.00 แต่ไม่สามารถช่วยอะไรได้เพราะโรงพยาบาลปิดตั้งแต่เวลา 16.00 .



เมื่อมีสัญญานว่าจะเกิดสึนามิ จะมีมาตราการป้องกันภัยอย่างไร?

  • 1. ขณะที่อยู่บริเวณชายฝั่งเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหวหรือพบว่าระดับน้ำทะเลลดลงมากผิดปกติ ให้รีบอพยพไปยังบริเวณที่สูงทันที 
  • 2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดสึนามิตามมาได้
  • 3. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือ ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบข่าวว่าจะเกิดสึนามิพัดเข้าหา 
  • 4. คลื่นสึนามิ อาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอประกาศจากการก่อนจึงสามารถลงไปชายหาดได้
  • 5. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อ
  • 6. หากที่บ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องสึนามิ
  • 7. ควรหลีกเลี่ยงการก่อสร้างอาคารบ้านเรือใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง
  • 8. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากสึนามิเป็นประจำทุกปี เช่นกำหนดเส้นทางหนีภัยสึนามิ สถานที่ในการอพยพ และแหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
  • 9. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
  • 10. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากสึนามิและแผ่นดินไหว
  • 11. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น


ที่มากรมทรัพยากรธรณี http://www.dmr.go.th/n_more_news.php?filename=tsunami3

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล