X
เสือติดดาบ ติดอาวุธผู้ประกอบการนวัตกรรมไทย

เสือติดดาบ ติดอาวุธผู้ประกอบการนวัตกรรมไทย

27 พ.ค. 2565
1100 views
ขนาดตัวอักษร

27..65 - “NIA” จับมือ 15 เครือข่ายพันธมิตร เปิดโครงการ “เสือติดดาบ” ติดอาวุธ 7 ด้านให้ผู้ประกอบการนวัตกรรมไทย ยกระดับธุรกิจให้เติบโตในยุควิกฤต


สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชนหรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ร่วมกับพันธมิตรนวัตกรรมไทย เปิดตัวโครงการ “เสือติดดาบ” พร้อมลงนามความร่วมมือ “กลไกการส่งเสริมศักยภาพด้านนวัตกรรมเพิ่มเติมจากการสนับสนุนด้านการเงิน” กับหน่วยงานชั้นนำของประเทศทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และสมาคมธุรกิจ จำนวน 15 หน่วยงาน เพื่อสร้างเครื่องมือช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมผ่านการเข้าถึงบริการและสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานที่ปรึกษา/ผู้ให้บริการ 


โดยให้การสนับสนุนธุรกิจจำนวน 7 ด้านครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งด้านการผลิต การบริหารจัดการและการขยายผลการเติบโตของนวัตกรรม เสมือนเป็นการติดอาวุธให้ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้นวัตกรรมสำหรับสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจเพื่อต่อสู้และปรับตัวต่อภัยคุกคามทางด้านเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน     


รศ.นพสรนิต ศิลธรรม ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า “ประเทศไทยจำเป็นต้องหาแนวทางการแก้ปัญหารูปแบบใหม่  เพื่อปรับตัวสอดรับกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ “นวัตกรรม” โดยNIA ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศมีเป้าหมายที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมแบบเปิด ผ่านการเชื่อมโยงเพื่อสร้างโอกาสการลงทุนและการเติบโตให้กับธุรกิจนวัตกรรม 


ดังนั้น NIA จึงได้พัฒนากลไกหรือเครื่องมือเพิ่มเติมจากการสนับสนุนด้านการเงิน (Non-Financial Support) โดยโครงการ “เสือติดดาบ” เป็นโครงการนำร่องที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการให้เข้าถึงบริการและสิทธิประโยชน์ของหน่วยงานผู้ให้บริการทั้ง 15 องค์กรพันธมิตรของ NIA ซึ่งมีบทบาทในฐานะหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่าย ในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง 


ดรพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชนกล่าวว่า “ระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจทั่วโลกต้องเผชิญกับ 3 ภัยคุกคามที่ใหญ่ ได้แก่ วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและการเกิดความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมที่ไม่มีแผนรองรับและต้องประสบกับความยากลำบากในการทำธุรกิจ ธุรกิจต่าง  ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด NIA จึงมีแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความสามารถด้านนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม 


โดย “เสือติดดาบ” นั้นเป็นหนึ่งในโครงการที่สนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทยได้ตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งด้านการผลิต การบริหารงานภายใน และการบริหารจัดการธุรกิจ ผ่านบริการและสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และสมาคมระดับแนวหน้าของประเทศ เป็นการเติมเต็มระบบนิเวศนวัตกรรม และส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการใช้นวัตกรรม เพื่อสร้างการเติบโตและสามารถยกระดับธุรกิจหรือปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลไกนำร่องในการสร้างแบรนด์ “นวัตกรรมประเทศไทย (Innovation Thailand)” ด้านการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการและหน่วยงานพันธมิตร


ดรกริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม กล่าวว่า “เสือติดดาบ เป็นกลไกการสนับสนุนรูปแบบใหม่ของ NIA ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความสามารถเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมเพิ่มเติมจากการสนับสนุนด้านการเงิน 


โดย NIA ทำหน้าที่เป็นเชื่อมโยงผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมที่มีความสามารถเปรียบเสมือน “เสือ” ให้เกิดการลับเขี้ยวเล็บจากการใช้บริการ และสิทธิพิเศษจากองค์ความรู้และเครื่องมือสนับสนุนในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม ซึ่งเปรียบเสมือนการ “ติดดาบ” ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและมีความได้เปรียบต่อการแข่งขันในสถานการณ์ที่เปลี่ยนและมีความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 7 ด้านบริการ ได้แก่กลุ่มการผลิต

  1. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์โรงงานต้นแบบ (OEM) 
  2. ด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม กลุ่มการบริหารงานภายใน
  3. ด้านการเงินและการบัญชี
  4. ด้านการบริหารจัดการธุรกิจนวัตกรรม (แผนธุรกิจ/การตลาดกลุ่มการขยายผลการเติบโตของธุรกิจ
  5. ด้านกฎหมายธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา
  6. ด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์
  7. ด้านการค้าระหว่างประเทศ



ผู้ประกอบการนวัตกรรมจะได้เข้าถึงการบริการและสิทธิประโยชน์ต่าง  เช่น การทดลองใช้บริการฟรี หรือได้รับส่วนลดในการใช้บริการของหน่วยงานพันธมิตรทั้ง 15 หน่วยงาน ได้แก่

  • อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) 
  • ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (FIN) 
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) 
  • บริษัท ยูไอซี เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด (UIC Certification) 
  • บริษัท แอ็คเคาท์ติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชั่นส์ จำกัด (ACCREVO) 
  • บริษัท เยสยูแคน จํากัด (YES YOU CAN) 
  • บริษัท บิลค์ วัน กรุ๊ป จำกัด (BUILK ONE GROUP) 
  • บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด (Baker McKenzie) 
  • สำนักงานที่ปรึกษาทรัพย์สินทางปัญญา (IP CO) 
  • บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) (TV Direct) 
  • บริษัท ฟาสต์ชิป จำกัด (FASTSHIP) 
  • บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด (CHANWANICH) 
  • ศูนย์สร้างโอกาสธุรกิจไทยสู่จีน (TSTC) 
  • บริษัท อีทัช จำกัด (eTouch) 
  • สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) 


ทั้งนี้ NIA หวังว่าผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมที่เข้าร่วมโครงการ “เสือติดดาบ” จะสามารถขยายธุรกิจ และแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคทางธุรกิจได้ตรงจุด เพื่อสร้างความได้เปรียบในโลกธุรกิจให้กับเสือได้อย่างแข็งแกร่ง

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล