X
โรคตุ่มน้ำพอง เกิดจากอะไร?? แล้วรุนแรงแค่ไหนมาดูกัน

โรคตุ่มน้ำพอง เกิดจากอะไร?? แล้วรุนแรงแค่ไหนมาดูกัน

21 มี.ค. 2567
1040 views
ขนาดตัวอักษร

โรคตุ่มน้ำพอง โรคที่คร่าชีวิตของพระเอกร้อยล้าน “เมฆ-วินัย ไกรบุตร” ให้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักโรคนี้กัน

โรคตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน เป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มพองน้ำ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้ไม่บ่อยมาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มาทำลายโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกันกลายเป็นตุ่มน้ำและแผลถลอกรวมถึง พันธุกรรม การติดเชื้อ การแพ้ยาแพ้สารเคมี หรืออาจเรียกอีกแบบว่า “ภูมิเพี้ยน" คือภูมิต้านทานที่มีหน้าที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรค สิ่งกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ โรคเพมฟิกัส และโรคเพมฟิกอยด์


สาเหตุของโรคตุ่มน้ำพอง

โรคนี้เป็นผลกระทบของการบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันอย่างที่กล่าวไปทำให้เกิดการทำลายระบบ หรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดติดเซลล์ผิวหนังเข้าไว้ด้วยกัน เป็นผลให้เซลล์ผิวหนังหลุดออกจากกัน และกลายเป็นตุ่มน้ำ หรือแผลถลอกนั่นเอง โดยหลัก ๆ แล้วสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้อย่างชัดเจน แต่ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่สุ่มเสี่ยง เช่น สารเคมี หรือการติดเชื้อ เป็นต้น


อาการโรคกลุ่มนี้บางชนิดพบเฉพาะในเด็ก บางชนิดพบได้ในผู้ใหญ่ พบได้ทั้งเพศหญิงและชาย โดยมีลักษณะเด่นคือ เป็นตุ่มพองที่ผิวหนังหรืออาจมีตุ่มพองที่บริเวณเยื่อบุต่างๆ ร่วมด้วย โดยตุ่มน้ำอาจมีขนาดต่างๆ กัน เมื่อตุ่มน้ำแตกจะเกิดแผลถลอกหรือเป็นสะเก็ด ทำให้มีอาการเจ็บมาก ผู้ป่วยในช่วงอายุ 50-60 ปีเกิดจากความผิดปกติที่ชั้นผิวหนังกำพร้าในผิวหนังชั้นตื้น แต่อาจกินบริเวณกว้าง ผู้ป่วยจะมีแผลเหมือนถูกน้ำร้อนลวก และส่วนใหญ่มักมีแผลถลอกในช่องปากร่วมด้วย รวมถึงอาจพบแผลถลอกที่เยื่อบุบริเวณอื่น เช่น ทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอดและอวัยวะเพศ บริเวณผิวหนังมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำ แตกได้ง่าย กลายเป็นแผลถลอก มีอาการปวดแสบ หรือคัน เมื่อแผลหายมักทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น


อาการโรคตุ่มน้ำพอง
ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ ศีรษะ หน้าอก หน้าท้อง และบริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกัน ผู้ป่วยบางรายมีแผลที่เยื่อบุในปากเป็นอาการนำของโรค ทำให้กลืนอาหารลำบาก ทั้งอาจลามต่ำลงไปถึงคอหอย และกล่องเสียงทำให้เสียงแหบได้ แผลถลอกที่เกิดขึ้นทั้งที่ผิวหนังและเยื่อบุจะหายช้า เมื่อหายมักไม่เป็นแผลเป็นแต่จะทิ้งรอยดำบนผิวหนังในช่วงแรกและจะจางไป ในรายที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง แผลจะมีลักษณะเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็นหายได้ยาก มักกลายเป็นรอยแผลเป็น 

 

  • มีตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นตามร่างกาย และจะแตกได้ง่าย สามารถกลายเป็นแผลถลอกได้
  • มีอาการปวด หรือแสบ และคันบริเวณที่เกิดแผล
  • บางรายจะกลืนอาหารลำบาก
  • หากเกิดการติดเชื้อจะกลายเป็นหนอง และมีกลิ่นเหม็น

 

ในระดับรุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อในระบบกระแสเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มมีปัญหา ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้


การดูแลหากเกิดโรคตุ่มน้ำพอง


  • หมั่นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำเกลือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาพ่น หรือยาพอก
     
  • ไม่เกา หรือแกะแผลที่ขึ้นตามผิวหนัง
     
  • ดูแลสุขอนามัยของร่างกายทั้งการทานอาหาร ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
     
  • หลีกเลี่ยงสภาวะ หรือกิจกรรมที่มีผลให้โรคกำเริบ ได้แก่ การทานอาหารรสจัด การตากแดดหรือโดนความร้อน และความเครียด
     
  • เมื่อได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ร่างกายอาจอ่อนแอให้อยู่ห่างผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อ
     
  • ในระหว่างการรักษาอาจมีผลกับโรคประจำตัว หรืออาจมีอุจจาระสีดำ และอาเจียนเป็นเลือด ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
     
  • พบแพทย์เพื่อปรึกษา และคอยตรวจดูอาการ

     

การรักษาโรคตุ่มน้ำพอง 


การรักษาโรคนี้ในปัจจุบันทำได้หลายวิธี เช่น การรับยากดภูมิคุ้มกัน ร่วมกับใช้ยาแก้อักเสบเพื่อควบคุมโรค หรือการรับยาที่มีผลให้เซลล์เปลี่ยนการทำงานได้ แต่การรักษานั้นจะไม่หายในทันทีโดยระยะเวลาของการรักษาอาจกินเวลาหลักปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับระยะอาการของโรคด้วย

 

โรคตุ่มน้ำพองเป็นโรคที่เสี่ยงกับทุกเพศทุกวัย และส่งผลสู่ผิวหนังโดยตรงถึงแม้ว่าอันตรายสูงสุดของโรคนี้จะถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่โอกาสที่จะเป็นเช่นนั้นกลับมีไม่มาก การคอยดูแลรักษาตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจึงเป็นวิธีเดียวที่สามารถหายขาดจากโรคนี้ได้



 

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)