หลังเกิดข่าว เครื่องช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจอัตโนมัติ หรือ AED ของสภากาชาดไทย ที่มีอยู่ตามป้อมตำรวจในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานครหายไปถึง
27 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 1.8 ล้านบาท
จนตำรวจต้องออกแรงติดตามเครื่องคืนมา วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเครื่องนี้กัน
เครื่อง AED ชื่อเต็มคือ (Automated External
Defibrillator) เป็นเครื่องช่วยชีวิตขนาดพกพา ใช้ระบบปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์
ใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
จนผู้ป่วยเกิดอาการหมดสติ ถึงขั้นต้องได้รับการกู้ชีพด่วน ด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปขัดจังหวะการเต้นของหัวใจที่เกิดผิดจังหวะอยู่
แล้วให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะที่ถูกต้องได้ เครื่องนี้คนทั่วไปก็สามารถใช้ได้เมื่อผ่านการฝึกฝน
และมีผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่าน สายด่วน 1669 คอยให้คำแนะนำขณะใช้งาน
โดยการใช้เครื่อง AED มีลำดับ ดังนี้
ผู้ที่ทำการช่วยเหลือ
โทรศัพท์ติดต่อไปที่ สายด่วน 1669 เพื่อรับคำแนะนำ โดยจะต้องเปิดฝาเครื่อง AED และฉีกซองใส่แผ่นอิเล็คโทรด ซึ่งจะมีอยู่ 2 ชิ้น
ชิ้น 1. นำไปติดบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวาของผู้ป่วย
ชิ้น 2. นำไปต้องติดชายโครงด้านซ้ายของผู้ป่วย
จากนั้นเครื่องจะวิเคราะห์จังหวะการเต้นของใจเมื่อได้ผลว่าผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือด้วยการช็อกไฟฟ้า
เครื่องหน้าจอของเครื่องแจ้งให้ผู้ทำการช่วยเหลือ กดปุ่ม shock ไฟฟ้า โดยข้อควรระวัง คือ ระหว่างเครื่องทำงานจนถึงการ
Shock ไฟฟ้า นั้นห้ามผู้ช่วยเหลือแตะตัวผู้ป่วยเด็ดขาด จนกว่าเครื่องจะแนะนำว่า
“มีความปลอดภัยสัมผัสผู้ป่วยได้” ให้ผู้ช่วยเหลือเริ่มทำการ
CPR ผู้ป่วยทันทีอย่างต่อเนื่องไปอีก จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาให้ความช่วยเหลือ
ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข