5 ก.ค.64 - อุบัติเหตุจากสารเคมีระเบิด! อันตรายแค่ไหน? แล้วเราจะมีวิธีการรับมือ ป้องกันตัวเองกันได้อย่างไรให้ปลอดภัย เรามีคำแนะนำไว้ให้เป็นประโยชน์
>>สารเคมีอันตราย วัตถุอันตรายหรือ สารอันตราย หมายถึงธาตุหรือสารประกอบ ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อคน สัตว์ พืช ทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จำแนกได้ 9 ประเภทตามหลักสากล
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด
ประเภทที่ 2 ก๊าซ
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ
ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดส์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์
ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ
ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี
ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อน
ประเภทที่ 9 วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย
>>สารอันตรายมีอะไรบ้าง?
-วัตถุระเบิด :ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทก เสียดสี หรือความร้อน เช่น ทีเอ็นที ดินปืน พลุไฟ ดอกไม้ไฟ
-ก๊าซไวไฟ :ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน
-ก๊าซไม่ไวไฟ, ไม่เป็นพิษ :อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกอย่างแรง หรือได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนเหลว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
-ก๊าซพิษ :อาจตายได้เมื่อได้สูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์
-ขอเหลวไวไฟ :ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่นน้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ อะซิโตน ไซลีน
-ของแข็งไวไฟ :ลุกติดไฟง่ายเมื่อถูกเสียดสีหรือความร้อนสูง ภายใน 45 วินาที เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดงไม้ขีดไฟ
-วัตถุที่ถูกน้ำแล้วทำให้ก๊าซไวไฟ : แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียม
-วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง :ลุกติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับอากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลืองโซเดียมซัลไฟต์
-วัตถุออกซิไดส์ :ไม่ติดไฟแต่ช่วยให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรตแอมโมเนียม ไนเตรท
-ออร์แกนนิคเปอร์ออกไซด์ :อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน ไวต่อการกระทบและเสียดสีทำปฎิกริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ เช่น อะซิโตนเปิร์ออกไซด์
-วัตถุติดเชื้อ :วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนและทำให้เกิดโรคได้ เช่น ของเสีย อันตรายจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว เชื้อโรคต่าง ๆ
-วัตถุมีพิษ :อาทำให้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกิน สูดดม หรือจากสัมผัสทางผิวหนัง เช่น อาร์ซีนิคไซยาไนด์ ปรอท สารฆ่าแมลง สารปราบศัตรูพืช โลหะหนักเป็นพิษ
-วัตถุกัมมันตรังสี :วัตถุที่สามารถให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น โคบอลต์ เรเดียม
-วัตถุกัดกร่อน :สามารถกัดกร่อนผิดหนังและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ แคลเซี่ยมไฮโปคลอไรต์
-วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย :เช่น ของเสียอันตราย แอสเบสทอสขาว เบนซัลดีไฮด์ ของเสียปนเปื้อน ไดออกซิน
>>สารเคมีเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?
-ทางปาก :โดยการรับประทานเข้าไปโดยตรงทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ
-ทางจมูก :โดยการสูดดมเอาไอ ผง หรือ
ละอองสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
-ทางผิวหนัง :โดยการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษซึ่งสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังได้
>>สารเคมีจะมีผลต่อร่างกายอย่างไร?
“เมื่อได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายจะมีขบวนการทำลายพิษให้น้อยลงและพยายามขับสารนั้นออก ทางเหงื่อ น้ำนมปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย ลมหายใจ แต่หากได้รับสารพิษมากเกินไปจะเกิดการสะสมและเกิดผลเสียหายต่อระบบต่างๆ ของร่างกายทั้งในลักษณะเฉียบพลันหรือเรื้อรัง” ดังนี้
1. ผลต่อระบบทางเดินหาย ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนต้น ทำลายเนื้อเยื่อปอดทำลายความยืดหยุ่นปอด เกิดการแพ้สาร หรือเกิดมะเร็งหากสัมผัสสารอย่างต่อเนื่องซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งโพรงจมูก เป็นต้น
2. ผลต่อผิวหนัง เกิดการระคายเคืองขั้นต้น เกิดการแพ้แสง ทำลายผิวหนังอย่างถาวร เกิดมะเร็งผิวหนัง
3. ผลต่อตา เกิดอาการระคายเคือง แสบตา เยื่อยุตาอักเสบ ตาพร่ามัว น้ำตาไหลและอาจตาบอดได้ถ้ารับสารในปริมาณมาก เช่น เมธานอล
4. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ขาดออกซิเจนในเลือด มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท เช่น ตาพร่ามัวกระสับกระส่าย กล้ามเนื้อสั่น ชัก ขาดความจำกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และการรับความรู้สึกไม่ปรกติ
5. ผลต่ออวัยวะภายใน
ตับ : แบบเฉียบพลัน (เซลล์ตาย) แบบเรื้อรัง (ตับแข็ง มะเร็ง) สารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์คลอโรฟอร์ม
ไต :สารที่เป็นพิษต่อไต เช่น โลหะหนัก คาร์บอนไดซัลไฟด์
เลือด : กระทบต่อระบบการการสร้างเม็ดเลือด (ไขกระดูก) องค์ประกอบของเลือด (เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว) หรือความสามารถในการขนส่งออกซิเจนของเซลล์เม็ดเลือด สารที่เป็นพิษต่อเลือด เช่น เบนซินกัมมันตรังสี
ม้าม : สารที่เป็นพิษต่อม้าม เช่น คลอโรฟีน ไนโตรเบนซิน
ระบบสืบพันธุ์ :เป็นหมัน อสุจิผิดปกติ มีอสุจิน้อย ระบบฮอร์โมนทำงานผิดปกติ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ เช่นโลหะหนักไดออกซิ
>>อาการรุนแรงแค่ไหนบ้าง?
แบบเฉียบพลัน : เป็นกาารสัมผัสที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เกิดผลผื่นคันระคายเคือง ผิวหนังไหม้ อักเสบ ขาดอากาศ หน้ามืด วิงเวียน
แบบเรื้อรัง : เป็นการสัมผัสสารที่ระดับค่อนข้างต่ำในระยะเวลานานตั้งแต่เป็นเดือนถึงเป็นปี อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่การเกิดความพิการในทารก (Teratogenic) การเกิดความผิดปกติทางสายพันธ์ในตัวอ่อน หรือการผ่าเหล่า(Uutagenic) การผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงของ DNA การเกิดมะเร็ง (Carcinogenic)
>>แล้วจะป้องกันจากสารเคมีอันตรายได้อย่างไร?
1.ไม่สัมผัสภาชนะบรรจุสารเคมีที่ชำรุด หรือสารที่รั่วไหล
2.อย่าเข้าใกล้แนวกั้นเขตอันตราย สังเกตจากแถบเหลือง-ดำหรือแถบแดง-ดำ
3.อยู่เหนือลม หรือที่สูงหรือออกจากบริเวณที่เกิดเหตุทันที หากเห็นว่าไม่ปลอดภัย
>>หากพบเห็นภัยสารเคมี ต้องทำอย่างไร?
1.พยายามจำแนกว่าเป็นสารเคมีชนิดใด โดยดูจากฉลากหรือแผ่นป้ายที่ติดอยู่บนภาชนะบรรจุหรือข้างรถ
2.อย่าพยายามกระทำในสิ่งที่ไม่รู้จริง เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างรุนแรงโดยมิได้คาดคิด
3.โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ข้อมูลที่ท่านควรแจ้ง เมื่อพบเห็นเหตุการณ์
-สถานที่เกิดเหตุ
-ลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
-มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือไม่
-ชนิด/ประเภทของสารเคมี ( ถ้าทราบ )
-จำนวน/ปริมาณของสารเคมีที่หกหรือรั่วไหล ( ถ้าทราบ )
-มีแหล่งน้ำหรือชุมชนอยู่ใกล้เคียงบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่
>>การช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ทำได้อย่างไร?
1.เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์
2.ถอดเสื้อที่เปื้อนสารเคมีออกและแยกใส่ถุง
หรือภาชนะต่างหาก
3.หากสัมผัสสารให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที
4.ไปพบแพทย์
5.ไม่สัมผัสภาชนะบรรจุสารเคมีที่ชำรุด หรือสารที่รั่วไหล
6.อย่าเข้าใกล้แนวกั้นเขตอันตราย สังเกตจากแถบเหลือง-ดำหรือแถบแดง-ดำ
7.อยู่เหนือลม หรือที่สูงหรือออกจากบริเวณที่เกิดเหตุทันที หากเห็นว่าไม่ปลอดภัย
8.โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
เช่น
-สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
โทร. 0 2579 5230-4 ต่อ 552, 553, 139
นอกเวลาราชการ โทร. 0 2579 5230 -4 หรือ 0 2562 0123
-ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย ปภ. 1784
-ศูนย์นเรนทร 1669
-กรุงเทพมหานคร 199 หรือศูนย์ กทม. 1555
-กรมควบคุมมลพิษ 1650
-กรมควบคุมมลพิษ 1650
ข้อมูลจาก : กรมควบคุมมลพิษ, ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา