X
ผู้ป่วยจิตเวชทำผิด ไม่ต้องรับโทษจริงหรือ?

ผู้ป่วยจิตเวชทำผิด ไม่ต้องรับโทษจริงหรือ?

15 ก.พ. 2565
16930 views
ขนาดตัวอักษร


จากกรณี เคร้อยล้าน ก่อเหตุปาขวดในห้างปทุมวัน รวมไปถึงที่สนามบินสุวรรณภูมิ และเคยก่อเหตุทำร้ายตนเองและปล่อยงู ที่แยกราชประสงค์อีกด้วยนั้น ภายหลังทราบว่าเป็นผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวน ทางตำรวจไม่สามารถดำเนินคดีได้ จึงดำเนินคดีกับญาติที่ปล่อยปละละเลยให้ผู้ก่อเหตุออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นแทน


สังคมเกิดคำถามว่า หากเป็นผู้ป่วยจิตเวชทำผิด ไม่ต้องรับโทษจริงหรือ?


ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 และมาตรา 66 การกระทำความผิดของคนที่มีจิตบกพร่องโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน หรือคนเมา กฎหมายถือว่า เป็นความผิด แต่ได้รับยกเว้นโทษ คือ ไม่ต้องรับโทษทางอาญา 


โดยฝ่ายผู้กระทำความผิด จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า กระทำความผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตัวเองได้ โดยจะต้องนำผลการรักษาโรคจิต หรือนำความเห็นของแพทย์มาแสดงต่อศาล แต่หากกระทำความผิดโดยสามารถรู้ผิดชอบได้บ้าง ศาลอาจจะลงโทษน้อยลง



และเมื่อ จนท.ตำรวจ พบผู้ที่มีอาการทางจิตเวช ที่มีพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น จนท.ตำรวจ รวมถึง จนท. ที่มีระบุไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพจิต สามารถบังคับเข้ารับการรักษาได้เลย 

ซึ่งการทำแบบนี้ ตามที่ พ.ร.บ. สุขภาพจิตกำหนดไว้ เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ทั้งกับคนป่วยเอง คนรอบข้าง และสังคม เพื่อที่ว่าจะได้พาไปรักษาแต่เนิ่นๆ ถ้าอาการดีขึ้น ก็เหมือนได้ชีวิตใหม่ ส่วนคนรอบข้างก็ไม่ต้องเสี่ยงเกิดเหตุสลดขึ้น 


อ้างอิงข้อมูลจาก : 

https://www.moph.go.th/index.php/news/read/831

https://sp.mahidol.ac.th/th/LAW/law/mental-health-51.pdf

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)