Meta ประกาศเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการยกระดับรักษาความปลอดภัยของผู้ใ ช้โดยการร่วมมือกับหลายองค์กรไทยที่ครอบคลุมการดำเนินงานในหลายภาคส่วน
โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันในประเทศ ด้วยการบูรณาการความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับปัญหาการฉ้อโกงและหลอกลวงบนโลกออนไลน์โดยโครงการริเริ่มล่าสุดนี้ยังตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของในการมอบประสบการณ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยมั่นคงและมีประสบการณ์เชิงบวกให้กับผู้ใช้และชุมชนอย่างต่อเนื่องภายในงานแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผบ.ตร.เชื่อการลดภัยคุกคาทต้องอาษัยคสามร่วมมือ สร้าง วัคซีนไซเบอร์ให้ประชาชน
พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตำรวจไทยต้องหาแนวทางไซเบอร์วัคซีนให้ประชาชนปกป้องตัวเอง ที่ผ่านมาตำรวจได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการป้องกันภับคุกคามจนมีแนวโน้มลดลวแต่ยังมีอยู่เพราะทิจฉาชีพได้หาวิธีการหลอกลวงประชานวิธีการใหม่ เมื่อกฝเกิดภัยคุกคามแล้วตำรวจต้องเร่งสกัดกั้นและหาทางป้องกันภัยให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด ต้องจับและสกัดเส้นทางการเงินให้เร็วที่สุด การจะทำให้ภัยคุกคามเป็นศูนย์ต้องอาศัยความร่วมมือ จนกลายเป็นไซเบอร์วัคซีน
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กล่าวว่า ปัญหาอาชญากรรม การหลอกลวงออนไลน์เป็นปัญหาระดับโลกไม่ใช่แค่ในประเทศไทย กลุ่มองค์กรอาชญากรรมที่ตั้งฐานปฏิบัติการตามชายแดนในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่การบังคับใช้กฎหมายปกติเป็นไปได้ยากเพื่อพุ่งเป้าหลอกเหยี่อทั่วโลก รวมทั้งคนไทย โดยนับตั้งแต่ปี 2567 ที่ทางตำรวจสอบสวนกลางได้เข้ามาช่วยทำคดีอาชญากรรมทางออนไลน์ได้มีการสืบสวนสอบสวนจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์จำนวนหลายแก๊งและดำเนินการแสวงหาความร่วมมือเพื่อป้องกันเชิงรุกกับหน่วยงานต่างๆ รวมถึง Meta อย่างต่อเนื่องทั้งการแชร์ข้อมูลเพื่อร่วมกันทำการปราบปรามหรือการพิจารณานำฟีเจอร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอื่นๆ มาใช้ในไทย" ทั้งนี้ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปี 2568 ตั้งแต่ 1 ม.ค.-30 เม.ย. 68มูลค่าความเสียหายจากปัญหาอาชญากรรมการหลอกลวงออนไลน์อยู่ที่ 7,600 ล้านบาท แผนประทุษกรรมที่มีจำนวนผู้เสียหายเยอะลำดับหนึ่งคือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านโลกออนไลน์และแพลตฟอร์ม ภายใต้ความร่วมมือกับตำรวจสอบสวนกลาง
พ.ต.ต. ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ "สารวัตรแจ๊ะ"จากกองบังคับ การสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล
(IDMB) กล่าวว่า ปัญหามิจฉาชีพออนไลน์โดยเฉพาะวิวัฒนาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเหมือนกับว่าแทบจะเป็นธุรกิจเฟรนไซน์ประเภทหนึ่งไปแล้ว ต้นตอของปัญหานี้ก็มีหลายอย่างเกี่ยวพันกันเป็นทอดๆการแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่จับได้ครั้งสองครั้งแล้วจะจบ มันเป็นเหมือนสงครามที่ต้องต่อสู้กับมันในทุกมิติ สิ่งสำคัญ ผมมองว่าคือ "ความร่วมมือ" ในทุกภาคส่วนไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ทาง Meta เองส่วนสำคัญในการช่วยในทะลายสะพานโจรเหล่านี้ สิ่งที่เป็นรูปธรรม คือ กลุ่มหางานที่หลอกคนไปทำงานที่คอลเซ็นเตอร์ถูกสืบสวนและเอาลงทั้งเครือข่ายทำให้เกิดความคืบหน้าในการทำงานสกัดกั้นกลุ่มอาชญากรรมเหล่านี้ได้มากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น
นายยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะจาก Facebook (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความพยายามล่าสุดของ Meta ได้ให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยและความมั่นคงของชุมชนเรามีความมุ่งมั่นที่จะจัดการกับปัญหาการหลอกลวงที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปได้ตลอดเวลาในทุกแพลตฟอร์มของเรา และเราได้ทุ่มเทการลงทุนเพื่อยกระดับเทคโนโลยี ความร่วมมือและการบังคับใช้กฎหมายเชิงรุกเพื่อก้าวนำหน้าผู้ไม่ประสงค์ดีโดยเรามุ่งหวังที่จะสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัยและอุ่นใจสำหรับทุกคน พร้อมพัฒนากลยุทธ์ของเราอย่างต่อเนื่องรวมไปถึงทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อปก ป้องผู้ใช้และสร้างความไว้วางใจให้กับแพลตฟอร์มของเรา" ด้วยการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีผ่านความร่วมมือในประเทศไทย
Meta มีแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมการจัดการกับปัญหาการหลอกลวงบนโลกออนไลน์ที่มีการปรับเปลี่ยนกลโกงอยู่อย่างต่อเนื่องรวมถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับชุมชนออนไลน์ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรเ พื่อตรวจจับและสกัดกั้นภัยคุกคาม การมอบชุดเครื่องมือและฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลายเพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับผู้คนที่ใช้งานแพลตฟอร์ม Meta และการร่วมมือกับหน่วยงานและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่างเพื่อปราบปรามมิจฉาชีพและกิจกรรมฉ้อโกงต่าง ๆแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุม
ตั้งแต่ต้นปี 2567ที่ผ่านมา Meta ตรวจพบและลบบัญชีที่มีความเกี่ยวข้องกับศูนย์รวมแก๊งมิจฉาชีพในเมียนมาร์ ลาว กัมพูชาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฟิลิปปินส์ ไปแล้วเป็นจำนวนกว่าเจ็ดล้านบัญชีโดยความพยายามเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่องค์กรอาชญากรรมที่อยู่เบื้องหลังแผนการที่พยายามหลอกลวงบุคคลผ่านแอป จึงใช้กลยุทธ์ในการต่อสู้กับปัญหาเหล่านี้ด้วยแนวทางการดำเนินงานแบบองค์รวมโดยให้ความสำคัญกับทั้งมาตรการเชิงรุกและการป้องกันเพื่อขัดขวางผู้ประสงค์ร้ายและปกป้องผู้ใช้บริษัทได้ลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและทีมงานผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้โดยในปัจจุบัน
Meta มีบุคลากรราว 40,000 คนที่ทำงานเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยและความมั่นคงทั่วโลกโดยมีการลงทุนกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในการพัฒนาทีมงานและเทคโนโลยีในด้านนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
สิ่งที่ Metaให้ความสำคัญเป็นหลักในทำงานเพื่อลดผลกระทบจากภัยออนไลน์ ได้แก่ การยกระดับการป้องกันภัยบนแพลตฟอร์ม การปกป้องแพลตฟอร์มจากภัยลวงออนไลน์ การ ขัดขวางผู้กระทำผิด เพิ่มขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายเพื่อไม่ให้มิจฉาชีพหลอกลวง ผู้ใช้งานได้ง่าย การ ผนึกความร่วมมือ: ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยี ธนาคารและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมอบการดูแลความปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน: ส่งมอบเครื่องมือการควบคุมความปลอดภัยของตนเองและให้ความรู้เพื่อป้องกันการฉ้อโกง
Meta เปิดตัวฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงเพิ่มเติม รวมถึงการมอบเครื่องมือใหม่แก่ผู้ใช้ในการตรวจจับบัญชีม้าร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางและอำนวยความสะดวกให้สามารถรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัยบนแพลตฟอร์มได้ รวมถึงพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้ผู้ใช้รักษาความปลอดภัยของบัญชีได้ง่ายขึ้น เช่น การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน การแจ้งเตือนการเข้าสู่ระบบ และฟีเจอร์ Security Checkup สำหรับการอัปเดตการตั้งค่าความปลอดภัย
นอกจากนี้ ยังใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการจดจำใบหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หลอกลวงใช้ภาพของบุคคลสาธารณะในโฆษณา ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกู้คืนบัญชีที่ถูกแฮ็กไปจนถึงตรวจจับและลบบัญชีปลอมได้ อีกทั้งยังมีฟีเจอร์การสื่อสารอื่น ๆเช่น Safer Message Requests
บน Instagram กำหนดให้ผู้ใช้ต้องส่งคำเชิญให้กับผู้ใช้อีกรายที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกันมาก่จึงจะสามารถส่งข้อความถึงกันได้โดยจำกัดการสื่อสารครั้งแรกให้แชทได้เพียงข้อความเดียว
มีการแจ้งเตือนผู้ใช้อย่างจริงจังให้มีความระมัดระวังเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่ไม่รู้จักบน Instagram , Messenger และ WhatsApp สำหรับภาคธุรกิจ ได้พัฒนาเครื่องมือการรายงานบัญชีที่อาจมีความน่าสงสัยเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการฉ้อโกงและการหลอกลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขี้นทั้งการปลอมแปลงตัวตนและการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องมือเหล่านี้รวมไปถึง Brand Rights Protection
เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถค้นหาและตรวจสอบเนื้อหาที่อาจละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างรวดเร็วและไม่ให้ผู้ประสงค์ร้ายนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ในทางที่ละเมิด
การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับและการบังคับใช้ด้วย AIการลงทุนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของMeta ได้ส่งเสริมความสามารถของทีมงานในการตรวจจับและจัดการเนื้อหาสแปมที่มีเป้าหมายฉ้อโกงทางการเงินบัญชีปลอมและการหลอกลวงได้อย่างมีนัยสำคัญช่วยให้ Metaสามารถตอบสนองต่อภัยลวงได้อย่างรวดเร็วและรับมือกับปริมาณเนื้อหาในแต่ละวันได้ พร้อมเพิ่มการป้องกันเพิ่มเติมให้กับผู้ใช้
นายยิ่งยศ กล่าวอีกว่า เทคโนโลยีการตรวจจับของเราเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการต่อสู้กับบัญ ชีปลอมและการหลอกลวง เราได้สกัดกั้นความพยายามในการสร้างบัญชีปลอมรวมไปถึงตรวจจับและนำบัญชีปลอมลงได้กว่าหลายล้านบัญชีในแต่ละวัน ภายในไม่กี่นาทีหลังจากมิจฉาชีพสร้างบัญชีเหล่านั้นขึ้น ในไตรมาสที่ 4 ปีพ.ศ. 2567 เราได้ดำเนินการกับบัญชีปลอมถึง 1,400 ล้านบัญชี โดย 99.9% ถูกลบก่อนจะมีการรายงานเข้ามาระบบอัตโนมัติของเราทำงานตลอดเวลาเพื่อตรวจจับและลบบัญชีปลอมสแปม และโพสต์หลอกลวงในปีที่ผ่านมา
“เราได้ลบบัญชีกว่า 408,000 บัญชีที่เชื่อมโยงกับการหลอกให้หลงรัก(Romance Scam) รวมถึงลบเพจและบัญชีที่มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงกว่า 116,000 รายการ นอกจากนี้ได้นำข้อกำหนดใหม่มาใช้ โดยให้ผู้ลงโฆษณารายใหม่ต้องยืนยันหมายเลขโทรศัพท์ที่เชื่อมกับบัญชีโฆษณาก่อนที่จะมีการเผยแพร่โฆษณา เพื่อปกป้องชุมชนจากการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้น ผู้โฆษณาใหม่ในกรณีนี้หมายถึงผู้ที่ยังไม่มีบัญชีโฆษณาเป็นบัญชีที่มีอายุน้อยกว่า 90 วันและไม่มีการใช้งบประมาณการลงโฆษณาและไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชีธุรกิจที่ได้รับการจัดการหรือยืนยันก่อนหน้านี้รวมพลังสร้างความเท่าทันเทคโนโลยีให้ผู้ใช้”
Metaได้ร่วมดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในประเทศไทยเพื่อแบ่งปันทั้งความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีและร่วมกันต่อต้านผู้หลอกลวง ในปี 2568 ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยเพื่อจัดการฝึกอบรมร่วมเกี่ยวกับเครื่องมือปกป้องสิทธิ์แบรนด์ของ Meta (ก.ล.ต.) เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงหน่วยงานในตลาดทุนและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างการปกป้องธุรกิจและทรัพย์สินแบรนด์เพื่อปกป้องแบรนด์จากการแอบอ้างโดยมิจฉาชีพพร้อมกันนี้ยังมีความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)ในการจัดโรดโชว์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยออนไลน์และการต่อสู้กับภัยลวงโดยมีการจัดกิจกรรมในกว่า 32 จังหวัดทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565
Meta ยังได้เปิดแคมเปญต่อต้านการหลอกลวง 'Legit or Leg It' ใน 7 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศรวมถึงกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และ ETDA ในประเทศไทยแคมเปญนี้ประกอบด้วยสื่อออนไลน์ที่จัดทำร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยและครีเอเตอร์ชาวไทยเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการหลอกลวงออนไลน์ทั่วไปรวมถึงวิธีการตรวจจับมิจฉาชีพออนไลน์ แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีการเข้าถึง (Reach) ทั้งหมด 224 ล้านครั้งทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยครีเอเตอร์ชาวไทยมีส่วนสร้างการเข้าถึงในแคมเปญนี้กว่า 18.3 ล้านครั้ง
นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลทุกกิจกรรมขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการทำธุรกรรมออนไลน์กันแทบ ทั้งสิ้นแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆติดต่อสื่อสารทำงานตลอดจนทำธุรกิจได้รวดเร็วแต่สิ่งที่ตามมา คือ ภัยหรือปัญหาที่แฝงมากับโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกงและอาชญากรรมออนไลน์ ETDA มุ่งส่งเสริมให้คนไทยทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยพร้อมเดินหน้าพัฒนาการดำเนินงานในหลายมิติตั้งแต่การกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล การรับแจ้งเรื่อง ส่งต่อเรื่องร้องเรียน และการสร้างความตระหนักรู้ เพื่อให้คนไทยรู้เท่าทัน รับมือเป็นการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยกันสร้างความแข็งแกร่งด้านทักษะเสริมเกราะป้องกันภัยออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการส่งต่อเรื่องร้องเรียนร่วมกันผ่านศูนย์ช่วยเหลือและ จัดการปัญหาออนไลน์ (1212 ETDA) เพื่อแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ให้ครอบคลุมมากสุดรวมถึงมุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ร่วมลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ในทุกมิติแก่ประชาชนมาแล้วกว่า 42 จังหวัดทั่วประเทศ แม้โลกดิจิทัลหมุนผ่านไปอย่างไรเราสามารถหมุนตามให้ทันได้หากเราพัฒนาทักษะองค์ความรู้รู้จักใช้ดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ไม่เป็นภัยเชื่อว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างพร้อมบูรณาการระดมความร่วมมือ พัฒนามาตรการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวการสำคัญที่จะช่วยลดความสูญเสียของประชาชนจากภัยออนไล
นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต.ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการปกป้อง ผู้ลงทุนจากภัยคุกคามในโลกดิจิทัลโดยเฉพาะการหลอกลวงด้านการเงินการลงทุนที่มีความซับซ้อนและพัฒนาการของรูปแบบอย่างรวดเร็ว ภารกิจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปี 2568 - 2570 โดย ก.ล.ต.ได้ดำเนินการเชิงรุกในการส่งเสริมความรู้เท่าทันภัยการลงทุนผ่านความร่วมมือกับภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อรับมือกับความท้าทายจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นรวมทั้งสนับสนุนการพัฒนากลไกที่จะช่วยธุรกิจและหน่วยงานในตลาดทุนและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในการปกป้องธุรกิจจากภัยคุกคามในโลกดิจิทัล
ก.ล.ต.ให้ความสำคัญกับการบูรณาการข้อมูลเชิงลึกจากภาคเอกชนเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังภัยการลงทุนการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อคัดกรองข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายรวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถตัดสินใจด้านการลงทุนด้วยความรอบครอบและปลอดภัยยิ่งขึ้น ความร่วมมือระหว่าง ก.ล.ต. และ Meta ถือเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับความมั่นคงทางการเงินและสร้างระบบนิเวศออนไลน์ที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือสำหรับคนไทย ซึ่งทั้งสององค์กรได้ทำงานเชิงรุกร่วมกันอย่างต่อเนื่อง