X
ฟิล์มกระจก หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 3

ฟิล์มกระจก หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 3

24 พ.ค. 2568
110 views
ขนาดตัวอักษร

นิทรรศการพิเศษ "ฟิล์มกระจก: หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 3 " 

พุทธศักราช 2568



รวบรวมภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกโดย หอจดหมายเหตุแห่งชาติประจำปี 2568 เป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร มูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจจำกัด (มหาชน) สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ


มีภัณฑารักษ์ คือ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน


ท่านผู้หญิง ได้บันทึกไว้ในเอกสารนำชมว่า ในอันที่จะเข้าใจพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่าง ถ่องแท้ เราต้องย้อนกลับไปค้นคว้าเรื่องราวในอดีตอย่างลึกซิ้ง เมื่อแยกองค์ประกอบต่างๆ ออกจนถึงแก่นหลัก เราจะเห็นแนวคิดที่ประสานกันระหว่างปรัชญาโบราณของอินเดียกับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แก่นหลักนี้เองที่เป็นพลังเบื้องหลังตำนานเรื่องเล่าต่างๆทำให้เรื่องราวเหล่านั้นได้เล่าขานและสืบทอดในวัฒนธรรมเหตุการณ์เล็กน้อยที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญอาจเป็นต้นเรื่องของเหตุการณ์ใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เป็นดังเส้นด้ายบางๆ เชื่อมร้อยอาณาจักร พระมหากษัตริย์ และประชากร ทั้งหลายเข้าด้วยกัน รวมถึงเชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับภูมิภาค อื่นๆ ของโลก จากแก่นหลักนี้ มีสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่แผ่ไปสู่ทุกองค์ประกอบของเรื่องราว เชื่อมร้อยแต่ละชั้น แต่ละมิติเข้าไว้ด้วยกันความเป็นไปเช่นนี้คือการประสานกลมกลืนของอารมณ์ความรู้สึกและ สีสรรพ์อันกรุ่นกลิ่นอายของยุคสมัย "มณฑล" หรือ "มันดาลา"เป็นแนวคิดโบราณจากอินเดียที่สอดประสานอยู่ในแก่นหลักแห่ง วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ แต่กลับมักถูกมองข้าม



ในความหมายดั้งเดิมในคติฮินดู-พุทธศาสนา มณฑลหรือมันดาลา (mandala) คือผังวงกลมศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้สำหรับเพ่งเป็นนิมิตในการทำสมาธิ พลังจักรวาลจะรินเข้าสู่ผังวงกลมนี้ผ่านตรงใจกลางอัน ศักดิ์สิทธิ์ ที่ศูนย์กลางนั้นอาจปรากฏรูปได้หลายอย่าง เช่น เทพเจ้า ซึ่งประทับอยู่ตรงใจกลางของศูนย์กลางมณฑลที่วาดขึ้น จุดประสงค์คือการประสานจิตของผู้ปฏิบัติให้เป็นหนึ่งเดียวกับเทพพร้อมทั้ง คุณลักษณะของเทพนั้น เพื่อยกจิตสู่สภาวะที่สูงขึ้นผ่านการปฏิบัติสมาธิและสัมมาปฏิบัติ ปรัชญาสำคัญของเพ่งนิมิตมณฑลหรือ มันดาลาคือ การตระหนักว่าไม่มีสิ่งใดเป็นอย่างที่เห็น ทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่งสมมติ กาลเวลาและพื้นที่อาจดูเหมือนว่ามีอยู่แต่ก็มีได้มีอยู่จริง เราจะบรรลุความหลุดพ้นได้ก็ต่อเมื่อสามารถปลดปล่อยตนออกจากโลกแห่งสมมติและความยืดมั่นถือมั่นต่างๆ ที่จิตสร้างขึ้น



นิทรรศการ มีตั้งแต่  วันที่ 22 พฤษภาคม - 27 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9 

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร




Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)