X
1 ครอบครัว 1 คู่ 1 กระทง สืบสานประเพณี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

1 ครอบครัว 1 คู่ 1 กระทง สืบสานประเพณี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

8 พ.ย. 2565
1520 views
ขนาดตัวอักษร

..65 - ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ชวนลอยกระทงแบบรักสิ่งแวดล้อม ชู 1 ครอบครัว 1 คู่ ลอย 1 กระทงแนะเลือกกระทงจากวัสดุใบตองและต้นกล้วย เป็นทางเลือกที่ดีจัดเก็บได้ง่าย เก็บได้ทันก่อนย่อยสลายในแหล่งน้ำ


กระแสวันลอยกระทงปีนี้คึกคักมาก หลายที่มีการจัดสถานที่จัดกิจกรรมลอยกระทงแบบจัดเต็ม ทั้งแสดง สี เสียง เชิญชวนทุก  คนมาน่วมกันเที่ยวงานลอยกระทงในแต่ละพื้นที่ แน่นอนว่ากิจกรรมนี้เป็นประเพณีดั้งเดิมของไทย ที่สืบสานผ่านกาลเวลามายาวนอน วัสดุอุปกรณ์ลอยกระทงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งทำให้หลายภาคส่วนแสดงความห่วงใยหากในคืนที่จันทร์เต็มดวง จะเป็นคืนที่เต็มไปด้วยขยะตามแหล่งน้ำ นั่นไม่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอนแล้วการลอยกระทงด้วยวัสดุแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร


ดร.วิจารณ์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย บอกว่า กระทงมีหลากหลายประเภทให้เลือกนำมาใช้ในการลอยกระทง ซึ่งวัสดุธรรมชาติ ยังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด โดยกระทงจากหยวกกล้วย กาบกล้วย ใบตอง กลีบดอกบัวหรือดอกไม้ กลัดด้วยไม้แทนเข็มหมุด กระทงจากวัสดุต้นกล้วยแบบนี้ “จะไม่ย่อยสลายหรือจมลงเร็วเกินไปสามารถจัดเก็บและนำไปกำจัดได้ง่ายหลังจากเสร็จงาน หรือหากมีบางส่วนตกหล่นในแหล่งน้ำก็สามารถย่อยสลายได้ ส่วนที่จัดเก็บยังนำไปใช้รีไซเคิลเป็นปุ๋ย หรือทำประโยชน์อื่น  อีกด้วย

ทั้งนี้ ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุเหล่านี้

  • กระดาษ  เนื่องจากเมื่อถูกน้ำแล้ว กระดาษจะเปียกและจมน้ำ ซึ่งมีความยุ่งยากในการจัดเก็บ และสะสมในแหล่งน้ำอาจเป็นส่วนทำให้น้ำเน่าได้
  • วัสดุพวกแป้ง ขนมปัง ส่วนหนึ่งเป๋นอาหารของสัตว์น้ำได้ก็จริง แต่วัสดุพวกนี้ซับน้ำไว ยุ่ยง่าย จมเร็ว และยังเป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้เร็ว หากมีจำนวนมาก สัตว์น้ำกินไม่หมด จะทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียเป็นการเพิ่มความสกปรกให้แหล่งน้ำ
  • ส่วนกระทงน้ำแข็ง อาจผลต่อแหล่งน้ำเฉพาะถ้ามีการลอยในจำนวนมาก แหล่งน้ำจะเย็นจัด กระทบสัตว์น้ำได้อีกทั้งการผลิตกระทงน้ำแข็ง ใช้พลังงานที่ค่อนข้างสูง
  • งดการวัสดุพลาสติกและโฟม เป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก พลาสติกบางชิ้นและโฟมไม่เหมาะในการนำไปรีไซเคิลหากเล็ดลอดสู่แม่น้ำและทะเลแล้วก็จะใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย
  • งดใช้ลวด แม็กซ์ หมุด ตะปู ในการยึดวัสดุทำกระทง เมื่อตกในแหล่งน้ำเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ แหล่งน้ำ และผู้มาใช้แหล่งน้ำหลังจากนี้ ควรใช้ไม้กลัดจากวัสดุธรรมชาติแทน


อย่างไรก็ตาม การลอยกระทงไว้ว่าจะที่ไหน ชนิดอะไร ควรใช้กระทงเดียวกัน เป็น 1 ครอบครัว 1 คู่รัก 1 กลุ่มเพื่อนลอย 1 กระทง ช่วยลดจำนวนกระทงที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ

ทั้งนี้ จากข้อมูลง กทม. 3 ปีหลังสุด สถิติจำนวนกระทงลดลงต่อเนื่อง

  • ปี 2561 จัดเก็บกระทง ได้ 841,327 ใบ 
  • ปี 2562 จัดเก็บกระทง ได้ 502,024 ใบ 
  • ปี 2563 จัดเก็บกระทง ได้ 492,537 ใบ 
  • ปี 2564 จัดเก็บกระทง ได้ 403,235 ใบ

โดยปี 2564 ในจำนวนกระทงทั้งหมด 403,235 ใบ “เป็นกระทงจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย จำนวน388,954 ใบ คิดเป็นร้อยละ 96.46” และกระทงที่ทำจากโฟม จำนวน 14,281 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.54 แนวโน้มที่ดีที่มีผู้สนใจเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ มากกว่าวัสดุจากโฟม หรือพลาสติก ซึ่ง กรุงเทพมหานคร ได้นำกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติส่งเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม 

ส่วนกระทงโฟมจะนำไปกำจัดโดยการฝังกลบอย่างถูกวิธีที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช สายไหม และหนองแขม หรือเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมเช่นกัน

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)