X
ต่างกันอย่างไร ระหว่าง? ขับออก กับลาออก จากพรรคการเมือง

ต่างกันอย่างไร ระหว่าง? ขับออก กับลาออก จากพรรคการเมือง

20 ม.ค. 2565
3780 views
ขนาดตัวอักษร

20 ..65 – อยู่ในกระแสข่าวการเมือง ที่กลับมาร้อนแรงชวนติดตามอีกครั้ง เมื่อ 21 .นำโดย ร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่า ถูกขับออกตามมติของพรรคพลังประชารัฐ แล้วมีความต่างกันอย่างไรการที่ .. “ลาออก กับถูกขับออก” จากพรรคการเมือง

กระแสการเมืองกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง เมื่อสปอร์ตไลท์ส่องไปที่พรรคใหญ่ อย่างพรรคพลังประชารัฐ ผู้นำเสียงข้างมากของฟากรัฐบาล 


ที่ปัญหาภายในพรรคส่งสัญญาณออกมาอีกครั้ง ต่อเนื่องจากผลที่ไม่เป็นไปตามคาดในการเลือกตั้งซ่อมของ 2 เขตพื้นที่ภาคใต้ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา 


แรงกระเพื่อมส่งตรงถึงร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า สมาชิกพรรค ที่สมาชิกพรรเรียกร้องให้รับผิดชอบในความพ่ายแพ้ครั้งนี้


จนกระทั้งคืนของวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา กระแสดังชัดขึ้นว่าพรรคพลังประชารัฐ มีมติขับ 21 .นำโดยร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ออกจากพรรค 

นำมาสู่คำถามที่ว่า ระหว่างการลาออก และการขับออก” จากพรรคการเมือง มีความต่างกันอย่างไร?

เมื่อดูตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2560 มาตรา 101 ระบุว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง มีรายละเอียด 13 ข้อย่อย ยกตัวอย่างเช่น เสียชีวิตสภาครบวาระยุบสภา

การลาออกจากพรรค

การลาออกมี 2 กรณี คือ 

> ตามข้อย่อยที่ 3 ระบุไว้ว่า ลาออก หมายถึง การลาออกจากการเป็น .ซึ่งจะทำให้สถานภาพ ..สิ้นสุดลงทันที


> ส่วนในข้อย่อยที่ 8 การลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก หมายความว่า .รายนั่น จะลาออกจากพรรคการเมืองหนึ่งแล้วไปสังกัดอีกพรรคหนึ่งไม่ได้ เนื่องจากเมื่อลาออกจากพรรคการเมืองที่เป็นสมาชิกแล้ว จะทำให้ความเป็น ..จะสิ้นสุดลงทันที เช่นกัน

การขับออกจากพรรค

ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2560 มาตรา 101 ยังเปิดช่อง มี  กรณี ที่ .หากจะย้ายจากพรรคหนึ่งไปอีกพรรคหนึ่งได้ โดยไม่สิ้นสุดสถานภาพความเป็น .ต้องเข้าเกณฑ์กติกาดังนี้

1. ถูกพรรคการเมืองเดิมขับออกจากพรรค นั่นคือ พรรคมีการลงมติด้วยคะแนน 3 ใน 4 ให้พ้นจากพรรค โดยจะมีเวลา 30 วันในการหาพรรคสังกัดใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (9) ใจความว่า ความเป็น ..สิ้นสุดลงเมื่อพ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่เป็นสมาชิก ตามมติของพรรคการเมืองนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น 

ในกรณีเช่นนี้ ถ้า .ผู้นั้นมิได้เข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นภายใน 30 วันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่พ้น 30 วันดังกล่าว

2.พรรคการเมืองเดิมถูกยุบ ..จะมีเวลา 60 วันในการหาพรรคสังกัดใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (10) มีใจความว่า ความเป็น ..สิ้นสุดลงเมื่อขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีคําสั่งยุบพรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก 

และ สส.ผู้นั้นยังไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีคําสั่งยุบพรรคการเมืองกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนด 60 วันนั้น

หากจะสรุปความแตกต่าง ของ การลาออกเอง กับ ถูกขับให้พ้นพรรค นั่นคือเรื่องของสถานภาพความเป็น .นั่นเอง

ลาออกเอง เท่ากับ พ้นสภาพการเป็น ..โดยทั้นที

หากถูกขับให้พ้นพรรค เท่ากับว่า จะคงยังเป็น .อยู่ต่อไป แต่ต้องหาพรรคใหม่ให้ได้ภายใน 30 วัน หรือในกรณีถูกยุบพรรคต้องหาพรรคใหม่ให้ได้ภายใน 60 วัน

ซึ่งน่าสนใจว่า เสียงของ .ที่หายไปจากพรรคพลังประชารัฐ จะกระทบต่อความมั่นคงของฟากรัฐบาลหรือไม่ หรือจะส่งผลอย่างไรต่อการต่อรองในตำแหน่งทางการเมืองในรัฐบาลนี้หรือไม่

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)