ประเพณีสู่ขวัญควาย อีกหนึ่งประเพณีดังของสระแก้ว ที่มีขึ้นเพื่อเตือนสติ เตือนจิต เตือนใจให้คนมีความกตัญญูกตเวที รำลึกถึงบุญคุณของผู้ที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ตนเอง เราเลยขอพาไปรู้จักประเพณีนี้กัน
ความเป็นมาของการจัดประเพณีสู่ขวัญควาย จังหวัดสระแก้ว สืบเนื่องจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ขึ้นในจังหวัดสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกกระบือให้สามารถไถนาและทำงานด้าน การเกษตรกรรมและ สอนผู้ที่ต้องการใช้กระบือทำการเกษตรให้สามารถทำงานร่วมกับกระบือได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลกระบือให้มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งกระบือหรือควายถือเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับชาวไร่ ชาวนา มาช้านานตั้งแต่อดีตกาล เป็นสัตว์ให้คุณ เป็นกำลังหลักของชาวนาในการปลูกข้าว เลี้ยงผู้คนมาโดยตลอด ถึงแม้ในปัจจุบันควายอาจถูกใช้งานน้อยลง เพราะวิถีชีวิตเกษตรกรเปลี่ยนไปจากใช้แรงงานควายหันไปใช้แรงงานจากเครื่องจักรกลแทนก็ตาม
การจัดประเพณีการสู่ขวัญควาย จึงเหมือนเป็นการเตือนสติ เตือนจิต เตือนใจ ให้คนมีความกตัญญูกตเวที รำลึกถึงบุญคุณของผู้ที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ตน เป็นการแสดง การตอบแทนบุญคุณที่ผู้อื่นได้กระทำแก่ตน เช่นกรณี “ควาย” คนได้ใช้แรงงานในการไถคราด พลิกแผ่นดิน อันเป็นของหนัก เพื่อหว่านเพาะปลูกข้าวปลูกพืชผักในแผ่นดิน จนได้รับผลประโยชน์จากแรงงานของควาย คือ ได้ข้าวสำหรับบริโภคเลี้ยงชีวิต ในขณะที่ระหว่างคนไถคราด บางทีก็ดุด่า เฆี่ยนตีควาย ซึ่งทำโดยไม่ได้ตั้งใจทั้งที่กำลังมีแอก ต่างคออยู่หนักแสนหนัก เหนื่อยแสนเหนื่อย เมื่อคนระลึกถึงบุญคุณของควาย ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ จึงมีการหาวิธีที่จะตอบแทนคุณของควาย อโหสิกรรมต่อควาย โดยวิธีสู่ขวัญควายนั่นเอง จากเหตุผลดังกล่าว จังหวัดสระแก้ว โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จึงได้กำหนดจัดงานสืบสานประเพณีสู่ขวัญควาย จังหวัดสระแก้ว ขึ้นเป็นประจำทุกปีและอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการจัดงานประเพณีขวัญควาย ที่โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ อยู่ระหว่างการการือการจัดงานของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดนเพจฮัลโหลสระแก้ว : Hello Sakaeo ได้ระบุว่างานจะมีขึ้นเร็วๆนี้