X
เคพีเอ็มจี ชี้ไทยมีแนวโน้มบรรลุปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

เคพีเอ็มจี ชี้ไทยมีแนวโน้มบรรลุปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

25 พ.ย. 2564
440 views
ขนาดตัวอักษร

เคพีเอ็มจีได้มีการทำการศึกษาดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านเน็ตซีโร่ เพื่อประเมินความพร้อมของแต่ละประเทศในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือเน็ตซีโร่ (Net Zero) ประเทศที่มากด้วยทรัพยากรน้ำมันจากแถบนอร์ดิก ได้ถูกขนานนนามว่าพร้อมที่สุดสำหรับการบรรลุเน็ตซีโร่ภายในปี 2593


ประเทศในทวีปยุโรปทางตอนเหนือได้อันดับต้นๆ ในการสำรวจครั้งนี้ โดยที่นอร์เวย์ได้อันดับหนึ่ง สหราชอาณาจักรได้ทีสอง และสวีเดนได้ที่สาม หากมีความหย่อนยานในความสามารถและความตั้งใจในการบรรลุเน็ตซีโร่จะเป็นจุดอ่อนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก


ผลวิจัยชี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ ‘น่าจับตามอง’ ในการบรรลุเน็ตซีโร่ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในเจ็ดประเทศที่มีโอกาสชัดเจนที่จะก้าวหน้าในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการใหญ่ๆ และความพยายามที่เพิ่มขึ้น


รายงานฉบับนี้ได้มีการเปรียบเทียบความคืบหน้าของแต่ละประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและมีการวิเคราะห์ความพร้อมในการบรรลุเน็ตซีโร่ภายในปี 2593 คณะกรรมการขององค์การสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) กำหนดให้ 2593 เป็นปีที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยจะลดลงก่อน 40% ระหว่างปี 2553 ถึง 2573 เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ภูมิอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ในเดือนสิงหาคม2564 รัฐบาลจาก 195 ประเทศทั่วโลก ยอมรับว่ามนุษย์เป็นเหตุให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.5 องศาเซลเซียสในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้า และถ้าไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกอย่างรวดเร้วและจริงจัง การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจะไม่หยุดที่แค่ 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียสเท่านั้น


การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการประเมินแต่ละประเทศด้วยเกณฑ์ทั้งหมด 103 ข้อที่นำไปสู่การบรรลุเน็ตซีโร่ ซึ่งผลการศึกษานี้ได้ชี้ 25 ประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุด และอีก 7 ประเทศที่ ‘น่าจับตามอง


แม้ว่านอร์เวย์จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกน้ำมันและก๊าซมากที่สุดในโลก แต่ยังได้อันอับหนึ่งใน NZRI ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลงทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพลังงานหมุนเวียนและยานพาหนะไฟฟ้า ในปี 2559 รัฐสภาของนอร์เวย์โหวตให้เลื่อนเป้าหมายในการบรรลุเน็ตซีโร่จากปี 2593 เป็น 2573 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่านอร์เวย์จะได้อันดับหนึ่งในการจัดอันดับครั้งนี้ ประเทศยังคงต้องก้าวผ่านความท้าทายว่าจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เป็นประเทศที่เป็นเน็ตซีโร่ได้


เคพีเอ็มจี ยังระบุอีก 7 ประเทศที่น่าจับตามอง เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีโอกาสชัดเจนที่จะก้าวหน้าในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการใหญ่ๆ และความพยายามที่เพิ่มขึ้น คือ อินเดีย

อินโดนีเซีย ไนจีเรีย รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้

ไทย

 

ประเทศไทยมีแผนที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 ภายใต้แผนจัดการพลังงานของประเทศซึ่งกำหนดให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในอัตรา 50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด จึงทำให้มีโครงการหลายโครงการออกมา เช่น จากปี2578 เป็นต้นไป ยานพาหนะที่ไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้นที่จะจดทะเบียนได้ รัฐบาลไทยประกาศว่าจะสนับสนุนภาคเอกชนในการเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (low carbon economy) และมีความพยายามที่จะให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและมีผลกระทบน้อยที่สุด ความพยายามนี้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งจะเป็นหนทางสู่การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ


ในสองสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการตื่นตัวของประชาชนในประเทศไทยมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลเพิ่มเรื่องนี้เข้าไปในหลักสูตรการศึกษา” ธเนศ เกษมศานติ์ หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เคพีเอ็มจีประเทศไทย กล่าว “ความก้าวหน้านี้เป็นแนวโน้มที่ดี และเรากำลังสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่เคพีเอ็มจี เราเชื่อในการทำงานร่วมกันสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเราจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน


ประเทศไทยยังคงต้องพัฒนาขีดความสามารถในการค้นคว้าวิจัย โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ยากต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” กาเนสัน โคลันเดเวลู หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว “เทคโนโลยีจำพวกที่วัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศได้ ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สำหรับภาคธุรกิจแล้ว การมีเป้าหมายทาง ESG ที่ชัดเจนเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องไม่ใช่การทำเพื่อให้ผ่านเกณฑ์เท่านั้น จำเป็นจะต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความมั่นใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความซื่อสัตย์ต่อแบรนด์จากผู้บริโภค


อีกหนึ่งเรื่องที่ธุรกิจในประเทศไทยต้องคำนึงถึงคือการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ออก One Report เพื่อเตรียมความพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน สำหรับรายงานปี2564 ซึ่งให้ความสำคัญกับการรายงานด้านความยั่งยืนและ ESG” ณัฐพงศ์ ตันติจัตตานนท์ กรรมการบริหาร ฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน เคพีเอ็มจีประเทศไทย กล่าว

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล