แถลงการณ์คณาจารย์เศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เรื่องการตรวจสอบการควบรวมกิจการทรูดีแทค
ตามที่ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) และ บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) ประกาศความประสงค์ที่จะควบรวมกิจการเข้าด้วยกันดังระบุในสารสนเทศที่ทั้งสอง บริษัท แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมานั้นคณาจารย์เศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์จากสถาบันต่างๆดังรายนามปรากฏท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (ก.ค. ) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องแสดงความชัดเจนต่อสาธารณะที่จะทำงานเชิงรุกโดยเฉพาะการออกมาตรการตรวจสอบและกำกับดูแลการควบรวมกิจการครั้งอย่างเคร่งครัดและเพียงพอการประกาศควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคในครั้งนี้แม้ว่ายังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ดังสารสนเทศที่ทั้งสอง บริษัท แจ้งต่อตลท. ก็ตามก็ค่อนข้างชัดเจนว่าน่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการแข่งขันผู้บริโภคและเศรษฐกิจของประเทศด้วยเหตุผลสามประการดังต่อไปนี้
ประการแรกหากการควบรวมครั้งนี้สำเร็จผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเหลือเพียง 2 รายจากเดิม 3 รายการควบรวมกิจการครั้งนี้เป็นการควบรวมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมซึ่งมีลักษณะผู้เล่นขนาดใหญ่น้อยรายเป็นทุนเดิมในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 3 รายซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันมากกว่าร้อยละ 98 หากทรูและดีแทคผู้ให้บริการสองรายใหญ่ควบรวมกันได้สำเร็จจะทำให้เหลือผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 2 ราย (duopoly) เท่านั้นกล่าวคือบริษัท ใหม่ของทรูดีแทคและ บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) อันเป็นระดับการกระจุกตัวที่เข้มข้นที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ในตลาดที่มีการแข่งขันและดังนั้นจึงน่าจะส่งผลอย่างรุนแรงต่อระดับการแข่งขันและสวัสดิการของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการณ์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่การลดลงของการแข่งขันจะเพิ่มต้นทุนและลดโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นซึ่งจะยิ่งเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลของประชาชน
ประการที่สองโทรศัพท์เคลื่อนที่จัดเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจรวมถึงเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลนอกจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นตลาดที่มีผู้เล่นน้อยรายแล้วยังเป็นตลาดที่ใช้คลื่นความถี่ทรัพยากรอันมี จำกัดและวันนี้จัดเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นรากฐานที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลดังนั้นในเมื่อการควบรวมกิจการครั้งนี้สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่โครงสร้างตลาดที่ผูกขาดมากกว่าเดิมผู้ประกอบการดิจิทัล(digital companies) ผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (startups) และผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่กำลังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ (digitization) ซึ่งล้วน แต่อาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นส่งผลต่อแรงจูงใจในการคิดค้นนวัตกรรมความสามารถในการแข่งขันและการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลโดยรวม
ประการที่สามวิธีควบรวมกิจการที่อยู่ระหว่างการศึกษาจะก่อเกิด บริษัท ใหม่และยุบเลิก บริษัท เดิมสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมแม้ในช่วงการศึกษาความเป็นไปได้จากสารสนเทศที่ทรูและดีแทคแจ้งต่อตลท. ทั้งสอง บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการรวมกิจการเข้าด้วยกันโดยวิธีการควบ บริษัท หรือ amalgamation ซึ่งหมายถึงการถ่ายโอนสินทรัพย์หนี้สินและกิจการทั้งหมดของทั้งสอง บริษัท ไปอยู่ใน บริษัท ใหม่ที่ตั้งขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะจากนั้นยุบเลิกบริษัท เดิมทั้งสองโดย บริษัท ใหม่จะเข้าจดทะเบียนในตลท. แทนวิธีการควบ บริษัท หรือ amalgamation นั้นนับเป็นวิธีควบรวมกิจการที่เข้มข้นที่สุดเนื่องจากจะต้องควบรวมทุกมิติของกิจการเข้าด้วยกันเป็น บริษัท ใหม่ดังนั้นในระหว่างการตรวจสอบกิจการซึ่งกันและกัน (dus diligence) จึงสุ่มเสี่ยงว่าอาจเกิดพฤติกรรมที่เข้าข่ายการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมเช่นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับราคาและเงื่อนไขการให้บริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแผนการลงทุนเป็นต้นซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจก่อผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้บริโภคและการแข่งขันถึงแม้ว่าในท้ายที่สุดการควบรวมกิจการอาจไม่บรรลุผลสำเร็จก็ตาม
ด้วยเหตุผลทั้งสามประการดังกล่าวข้างต้นพวกเราจึงเรียกร้องให้กสทช. และ ก.ค. ไม่รีรออีกต่อไปในการใช้อำนาจตามกฎหมายทำหน้าที่ตรวจสอบและกำกับการควบรวมครั้งนี้อย่างทันท่วงทีทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันอันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานกำกับดูแลทั้งสอง