X

อุกกาบาต ที่ เชียงคาน เมื่อ 40 ปีก่อน

27 พ.ย. 2564
1140 views
ขนาดตัวอักษร

27 ..64 – วันนี้เราจะพาย้อนเวลา กลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน ซึ่งครั้งหนึ่งที่ เชียงคาน .เลย เคยมีอุกกาบาตตกลงมา ซึ่งสันนิษฐานว่า คือใจกลาง ของดาวหางเทมเปล-ทัดเดิล


ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปี ก่อน ชาวเชียงคาน .เลย วัยเลยเลขหลัก 4 อาจจะจำกันได้ว่า วันที่ 17พฤศจิกายน .. 2524 ครั้งหนึ่งที่เชียงคาน เกิดปรากฏการณ์ “ลูกไฟอุกกาบาตเชียงคาน” เกิดขึ้น  เวลาประมาณ 05.30 ซึ่งขณะนั้นประชาชนจำนวนมาก ทั้งในจังหวัดทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้เห็นลูกไฟขนาดเท่าดวงจันทร์แต่ส่องสว่างจ้ากว่าปรากฏบนท้องฟ้าอื่น เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วสู่ขอบฟ้าทางทิศเหนือ ในขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์และสีสันไปด้วย 

จากนั้นไม่นานที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ชาวบ้านได้เห็นลูกไฟระเบิดกลางอากาศ เสียงระเบิดนั้นดังกึกก้องได้ยินทั่วทั้งจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งมีชิ้นส่วนจากการระเบิดตกกระจายไปทั่ว ทั้งตกทะลุหลังคาบ้าน ตามทุ่งนา และในลำน้ำโขง รวมถึงทางฝั่งประเทศลาว เดชะบุญครั้งนั้นเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บและโชคดีที่ 2 มีผู้เก็บชิ้นส่วนอุกกาบาตเอาไว้ได้จำนวนหนึ่งด้วย

หลังจากเหตุการณ์เช้ามืดวันที่ 17 พฤศจิกายน 2524 ก้อนอุกกาบาต 2 ก้อน ถูกส่งถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านทางกระทรวงมหาดไทย มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางไปสำรวจยังจังหวัดเลย ซึ่งชาวบ้านปกปิดเก็บไว้ส่วนตัวหลายคน โดยถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์เพราะตกจากท้องฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยและนายอำเภอเชียงคาน จึงช่วยรวบรวมได้อีก 29 ชิ้น ก้อนใหญ่ที่สุดหนัก 51.3 กรัม เล็กที่สุด ขนาด 0.2 กรัม รวมเป็นน้ำหนักทั้งสิ้น 367 กรัม ขนาดเฉลี่ย 2 .มีความหนาแน่น 3.6 กรัมต่อ ลบ.ซมซึ่งสูงกว่าก้อนหินบนพื้นโลก

จากนั้นได้จัดส่งอุกกาบาตสองชิ้นไปยังสถาบันสมิธโซเนียนในสหรัฐ ตามคำขอต่อมาได้รับแจ้งผลขั้นต้นว่า เป็นอุกกาบาตเนื้อหิน (Stony-meteority) ชนิด โอลีวีน บรอนไซท์ ซอนไดรท ชนิดเกรด H6 ซึ่งเป็นพวกมีแร่เหล็กมากและพบได้บ่อยก้อนอุกกาบาต ที่รวบรวมได้จากปรากฏการณ์เชียงคานครั้งนั้น มีการวินิจฉัยแล้วทั้งในประเทศไทยและสถาบันสมิธโซเนียนแห่งสหรัฐว่า ว่าเป็นอุกกาบาตชนิดซอนไดรท (Chondrites)


นักวิเคราะห์แร่สหรัฐแจ้งว่าอุกกาบาตเชียงคานมีองค์ประกอบเป็นแร่ธาตุหลายชนิด  สามารถถูกแม่เหล็กดูดให้เข้าหาได้

สำหรับก้อนอุกกาบาตเชียงคานทุกก้อน มีผิวสีดำหนาเฉลี่ย 2 มม.หุ้ม มีลักษณะเป็นหินทรายหลอมละลายด้วยความร้อนสูงแล้วกลับแข็งตัว ก้อนที่แตกแสดงเนื้อในสีเทา มีเม็ดแร่โลหะสีดำกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปนอกจากนี้ สังเกตได้ว่ามีซอนดรูลแทรกแซงอยู่ด้วย รวมแล้วทีมวิจัยได้รับอุกกาบาต 31 ก้อน ส่วนใหญ่แตกหัก มีไม่กี่ก้อนที่เกือบสมบูรณ์การแตกหักอาจเป็นเพราะความร้อน หรือวิ่งพุ่งชนของแข็ง หรือถูกทุบ เพื่อดูเนื้อในโดยผู้เก็บก็ได้ ส่วนที่มีรูปร่างทั้งก้อนของพวกที่เกือบสมบูรณ์น่าสนใจมาก เพราะมีนัยบ่งบอกถึงการเคลื่อนที่ในอากาศของสารวัตถุที่ร้อนจัดหลอมเหลวแล้วเย็นตัวลงในขณะที่ยังเคลื่อนที่อยู่ 

จากนั้นทีมวิจัย ทราบว่ามีอุกกาบาตก้อนใหญ่อีกชิ้นจึงให้ผู้แทนไปรับซื้อก้อนหนึ่งใหญ่เป็นพิเศษที่มีน้ำหนักมาก หนักกว่า 1,241.2 กรัม ซื้อไว้เป็นสมบัติของมหาวิทยาลัย โดยก้อนนี้ต่อมาสถาบันมิธโซเนียนได้ขอยืมไปวิเคราะห์อย่างละเอียด และได้ส่งข่าวมาให้ทราบว่าเนื่องจากพบว่าปริมาณธาตุโคบอลต์ 60 สูงมาก ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ก้อนวัตถุต้นตอที่วิ่งเข้ามาสู่โลกนั้น ค่อนข้างใหญ่โต ประเด็นนี้ช่วยยืนยันสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ก้อนวัตถุนั้น คือ ใจกลาง(Nucleus) ของดาวหางเทมเปล-ทัดเดิล นั้นเอง จากนั้น สถาบันสมิธโซเนียนก็ได้ส่งคืนกลับมา ในปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอประวัติจุฬาฯ และเป็นหลักฐานครั้งสำคัญที่ยืนยันว่าครั้งหนึ่งที่เชียงคาน .เลย เคยมีอุกกาบาตตกใส่ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของวงการดาราศาสตร์ไทยและดาราศาสตร์โลก 

ขอบคุณที่มา : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ https://www.narit.or.th/index.php/naru/exhibition/rawi-bhavila/meteorite?fbclid=IwAR3Y4K--qiqa6n3dWJ1ZkQQcU6FNzRBhRh2ZMh8BS8lWZmBYJi7Ldzz92QM

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล