X

ครั้งแรกของโลก พบเส้นทางเหยี่ยวดำไทย บินอพยพไกลถึงอินเดีย

7 มี.ค. 2564
2780 views
ขนาดตัวอักษร

กทม. 7 มี..64- นักวิจัยทุน วชพบข้อมูลใหม่ครั้งแรกของโลก เหยี่ยวดำไทยมีเส้นทางบินอพยพไปอินเดีย กว่า 4,000 กิโลเมตร ก่อนกลับมาไทยอีกครั้ง เป็นลักษณะพิเศษของนกอพยพที่ผูกพันธ์บินกลับถิ่นกำเนิด พร้อมนำข้อมูลช่วยวางแผนอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ ไม่ให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากธรรมชาติของไทย


นักวิจัยทุนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ติดระบบอุปกรณ์ติดตามด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมให้ “เจ้านาก” เหยี่ยวดำไทย ศึกษาเส้นทางการบินอพยพในแต่บะช่วงปีโดยจากข้อมูลพบนกบินผ่านเมียนมาร์ไปอาศัยที่อินเดีย เป็นข้อมูลใหม่ครั้งแรกของโลกที่นกมีเส้นทางอพยพจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จากปกติจะเป็นการอพยพจากทิศเหนือลงทิศใต้ นักวิจัยเดินหน้าติดระบบติดตามด้วยดาวเทียมให้เหยี่ยวอีก 6 ตัว เพื่อสำรวจเส้นทางดังกล่าว


ผศ..สพ.ดร.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว หน่วยวิจัยนกนักล่าและเวชศาสตร์การอนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทย จากทุกสนับสนุนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดข้อมูลการติดตามเหยี่ยวดำไทยเพศผู้ชื่อ นาก รหัส R96 ซึ่งเกิดที่.ปากพลี .นครนายก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมให้เหยี่ยวตัวดังกล่าวซึ่งได้บินออกจากรังเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563


โดยจากข้อมูลพบว่า หลังจาก “นาก” ซึ่งเป็นเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นเติบโตพร้อมออกจากรัง ได้เดินทางออกจาก.ท่าเรือ .ปากพลี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 โดยมีเส้นทางผ่านประเทศเมียนมาร์ บังคลาเทศ และขณะนี้ไปอาศัยอยู่ในรัฐคานัทฑะกะ ประเทศอินเดีย รวมระยะทางอพยพประมาณ 4,000 กิโลเมตร


ซึ่งยังพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับเส้นทางอพยพของเหยี่ยวดำไทย จากเดิมเข้าใจว่าเป็นนกประจำถิ่นและอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น


ทั้งนี้ในปี .. 2564 ทีมวิจัยมีแผนติดตามเหยี่ยวดำไทยด้วยดาวเทียมเพิ่มอีก 6 ตัว เพื่อศึกษาเส้นทางดังกล่าวว่าเป็นเส้นทางการอพยพปกติ หรือเป็นเส้นทางเฉพาะเหยี่ยวดำไทยชื่อนากตัวเดียว

อย่างไรก็ตามนับเป็นครั้งแรกของโลกในการติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมให้เหยี่ยวดำไทย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มิลวัส ไมแกรนส์ โกวินทะ (Milvus migrans govinda) เนื่องจากก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีการศึกษาเหยี่ยวดำชนิดย่อยโกวินทะด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม แต่มีทีมนักวิจัยอินเดียใช้เทคโนโลยีดาวเทียมศึกษาเหยี่ยวดำชนิดย่อยอีกชนิดคือเหยี่ยวดำอพยพ หรือ เหยี่ยวดำใหญ่ หรือ เหยี่ยวหูดำ


ผศ..สพ.ดร.ไชยยันต์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เหยี่ยวดำไทยกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย และเนปาล และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และไทย ยกเว้นมาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ สำหรับในประเทศไทยพบการกระจายพันธุ์ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางลงไปถึง .เพชรบุรี โดยพื้นที่วิจัยของโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำไทยอยู่ใน .นครนายก .อ่างทองและ .เพชรบุรี  


อย่างไรก็ตามสถานภาพการอนุรักษ์เหยี่ยวดำไทยอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากภัยคุกคามจากการล่าลูกเหยี่ยวไปขายในวงการค้าสัตว์ป่า รวมทั้งต้นไม้สำหรับทำรังลดลง นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษานิเวศวิทยาการสืบพันธุ์ของเหยี่ยวดำไทยที่ทำรังวางไข่ในประเทศไทยและอาเซียนอย่างละเอียดเป็นระบบ 

ซึ่งการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมจะช่วยตอบโจทย์วิจัยกรณีการอพยพย้ายถิ่นของเหยี่ยวดำไทยตามฤดูกาลเป็นครั้งแรกของอาเซียน และเส้นทางอพยพของนกเหยี่ยวชื่อนากยังเป็นครั้งแรกของโลกที่พบการอพยพจากเส้นทางทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แตกต่างจากเส้นทางอพยพทั่วไปที่ย้ายถิ่นจากทิศเหนือลงทิศใต้ 


สำหรับเหยี่ยวดำไทยมีขนาดตัวจากจะงอยปากจรดปลายหาง 510 – 600 มิลลิเมตร โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 500 – 800 กรัม อาหารของเหยี่ยวดำไทย ได้แก่ หนูนา ปลา งู คางคก ลูกนกน้ำ เช่น นกกวัก ซึ่งนักวิจัยจะใช้ข้อมูลใหม่ด้านนิเวศวิทยาและการอพยพสร้างความตระหนักให้เกิดความสนใจต่อพฤติกรรมเดินทางไกลของเหยี่ยว และให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของเหยี่ยวดำในฐานะทรัพยากรธรรมชาติ


รวมทั้งจะนำข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นชุดความรู้ โดยจะจัดทำสื่อการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและสาธารณะในรูปแบบแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟน และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แล้วส่งมอบให้แก่ชุมชนและโรงเรียนต่าง  ฟรี เพื่อส่งเสริมศักยภาพของชุมชนปากพลีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อเกิดรายได้ให้ชุมชน และเหยี่ยวดำได้รับการคุ้มครองไปด้วย ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วม


ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วชกล่าวว่า วชให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนางานิวัจยและนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการต่อยอดงานวิจัยในทุกระดับสำหรับประโยชน์จากโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะทำให้ทราบนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทย 


จะนำไปสู่การจัดการเพื่อแก้ปัญหาแนวโน้มการลดลงของประชากร และทราบถึงสถานภาพที่แท้จริงในปัจจุบันของเหยี่ยวดำชนิดนี้ และเผยแพร่สู่การเรียนรู้สู่ชุมชนเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีอยู่เหยี่ยวดำชนิดนี้ และสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล