X
ความเป็นมาของศาลพระกาฬ และลิงลูกเจ้าพ่อ

ความเป็นมาของศาลพระกาฬ และลิงลูกเจ้าพ่อ

5 ก.ค. 2566
14680 views
ขนาดตัวอักษร

เรื่องที่เราจะเล่าถึงในวันนี้มี 2 เรื่อง คือ ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ จังหวัดลพบุรี และ บรรดาลิงที่อยู่กับศาล ผู้ถูกขนานนามลูกศิษย์เจ้าพ่อ เจ้าพ่อพระกาฬ เป็นเทพอารักษ์ประจำเมือง ในคัมภีร์และจารึกโบราณปรากฏนาม "องค์พระกาฬไชยศรีซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาบ้านเมือง เชื่อว่าศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม เนื่องจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใกล้กับศาลเจ้าพ่อมีพระปรางค์สามยอดตั้งอยู่


ศาลพระกาฬ เดิมเรียกว่า ศาลสูง  .. ศาสตราจารย์ฌอง บัวเซอลีเยร์ นักโบราณคดีไทย-สำนักฝรั่งเศสสันนิษฐาน จากฐานพระปรางค์ที่สูงมาก เขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ 16 หรืออาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา


ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้สร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ทรงตึกเป็นแบบฝรั่งหรือเปอร์เซียผสมผสานกับไทยบนฐานศิลาแลงเดิม ตัวศาลเป็นอาคารชั้นเดียวหลบแดดขนาดสามห้อง


ศาลพรรคการเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพของผู้คนทั้งในจังหวัดลพบุรีแล้วทั่วประเทศที่ให้ความเคารพนับถือต่อพระกาฬไชยศรีเดินทางมาทำการสักการะเนื่องต่อเนื่องตั้งแต่อดีต


สำหรับเรื่องลิงที่ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ คุณเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี  เล่าไว้ในเรื่องลิงลพบุรี : ลูกศิษย์เจ้าพ่อพระกาฬจริงหรือ ? ว่า พื้นที่ของจังหวัดลพบุรีปรากฏหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิงมาตั้งแต่ราว ,๒๐๐ ปีมาแล้ว มีการค้นพบรูปประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กในวัฒนธรรมทวารวดี แบบที่นักวิชาการเรียกกันว่า “ตุ๊กตารูปคนจูงลิง” จากชุมชนโบราณและเมืองโบราณสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖หลายแห่ง เช่น เมืองโบราณซับจำปา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านวังไผ่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แหล่งโบราณคดีดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ตรอกโกษา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นต้น


การนำลิงมาเลี้ยงไว้ในชุมชนหรือบ้านเรือนคงจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จนถึงในสมัยพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ อาณาจักรเขมรภายใต้การปกครองของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรม และการเมืองเข้ามายังเมืองลพบุรี จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ หรือ K.410 อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมรโบราณ ซึ่งพบจากศาลสูง ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านหลังศาลพระกาฬ อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี มีเนื้อความที่มีสาระสำคัญมหาศักราช ๙๔๗ (.๑๕๖๘มีพระนิยมอย่าให้ควาย หมู แพะไก่ เป็ด ลิง เข้าที่สถานที่อยู่ของดาบส หรือพระภิกษุเหล่านั้น 


ข้อความในจารึกหลักนี้สะท้อนให้เห็นว่า ลิงเป็นสัตว์เลี้ยงธรรมดาสามัญในวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนั้น มิได้มีความเชื่อมโยงกับศาสนสถานหรือรูปเคารพของลัทธิศาสนาใดๆ ตรงกันข้ามกับเป็นสัตว์ที่มีประกาศกฎข้อห้ามนำเข้ามายังเขตศาสนสถานทั้งเทวาลัยในศาสนาฮินดู และวัดวาอารามทางพุทธศาสนาที่ต้องการความเงียบสงบเพื่อไม่ให้รบกวนการบำเพ็ญภาวนา


พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา เมื่อปีชาล .. 2421 จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ .. 2470 ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมายังเมืองลพบุรีและได้ทรงพระราชนิพนธ์อธิบายสภาพโดยรวมของศาลพระกาฬ เมืองลพบุรี ไว้ว่า “ ... ที่หน้าศาลนั้นมีต้นไทรย้อยรากจดถึงดินเป็นหลายราก ร่มชิดดีเขาทำแคร่ไว้สำหรับนั่งพัก ... ที่ศาลพระกาฬนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไปมาก มีบันไดอิฐหลายสิบขั้น ข้างบนเป็นศาลหรือจะว่าวิหารสามห้อง เห็นจะเป็นช่อฟ้าใบระกา แต่บัดนี้เหลืออยู่เพียงผนัง ที่แท่นมีรูปพระนารายณ์สูงประมาณ ศอก  เป็นเทวรูปโบราณทำด้วยศิลา ยังมีเทวรูปเล็กๆ เป็นพระอิศวรกับพระอุมาอีก  รูป ออกทางหลังศาลมีบันไดขึ้นไปบนเนินสูงอีกชั้นหนึ่ง มีหอเล็กอีกหอหนึ่ง มีแผ่นศิลาเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑแผ่นหนึ่งมีรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ แผ่นหนึ่งวางเปะปะไม่ได้ตั้งเป็นที่ ...”


ในเชิงอรรถอธิบายเพิ่มเติมของพระราชนิพนธ์ฉบับดังกล่าว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายเพิ่มเติม ระบุว่า


“ ... มีคำเล่ากันมาแต่โบราณว่า ที่เมืองลพบุรียังมีฝูงลิงเชื้อสายหนุมานอยู่อาศัย ถ้าราษฎรทำเรือนหลังคามุงกระเบื้อง ลิงก็มักมารื้อหลังคาเสีย แต่ผู้ที่ไปเที่ยวเตร่แต่ก่อนไม่เห็นฝูงลิงก็สันนิษฐานว่าเป็นนิทาน ถึงเมื่อเวลาเสด็จประพาสเที่ยวที่ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ (..๒๔๒๑ก็ไม่ปรากฏว่ามีฝูงลิงอยู่ในเมืองลพบุรี ครั้นล่วงมาอีกช้านานเมื่อตั้งโรงทหารบกที่ใกล้ศาลพระกาฬ ได้ยินว่ามีลิงพลัดเข้ามาครัวหนึ่ง พวกทหารให้ข้าวกิน แต่นั้นก็มีพวกลิงเข้ามาอาศัยอยู่ที่ต้นไทรศาลพระกาฬจนทุกวันนี้เป็นฝูงใหญ่ คนก็ชอบไปดูไปเลี้ยงจนลิงเลยคุ้น ถึงเข้ารับหรือเข้าแย่งกล้วยอ้อยในมือคน เขาเล่าว่า บางทีลิงฝูงนี้พากันขึ้นรถไฟซึ่งบรรทุกของขึ้นไปเที่ยวจนโคกกระเทียมหรือกว่านั้น แล้วอาศัยรถไฟกลับลงมาเมืองลพบุรีได้ แต่ข้อนี้จะจริงเท็จอย่างไรไม่ได้เห็นแก่ตา...” 


แสดงให้เห็นว่าลิงตัวแรกที่พลัดหลงฝูงข้ามาอยู่ในเมืองลพบุรีเมื่อประมาณร้อยปีมาแล้วนั้น ได้รับการเลี้ยงดูจากทหารที่ประจำการอยู่  โรงทหาร ต่อมาจึงได้ออกลูกสืบหลาน เหลน โหลนจนมาจนถึงทุกวันนี้ 


Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)