ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กรรมกากสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 850 , 1500 , 1800 , 2100 , 2300 MHz สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล(IMT) โดยสำนักงานฯ จะพิจารณาทางเลือกการประมูลที่ละย่าน ที่ละกลุ่ม หรือทุก ย่านพร้อมกัน รวมถึงมาตรการส่งเสริมการมีผู้ประกอบการรายใหม่ การประมูลความถี่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานในระยะเวลา 5 ปี (2567 - 2571 ) และเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และแผนการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT Spectrum
"เป็นไปได้ที่จะมีคนสนใจคลื่นย่าน 2100 และ 2300 MHz มากที่สุด เพราะโอเปอเรเตอร์มีคลื่นพอสมควรแล้ว จากแนวโน้มพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่ต้องการใช้บริการดาต้าเพิ่มสูงขึ้น แบนด์วิธที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ คลื่นย่าน 2100 และ 2300 MHz โอเปอเรเตอร์น่าจะต้องการที่สุด โดยคลื่น 2100 MHZ น่าจะแข่งขันรุนแรงทีสุดเพราะอยู่ในความต้องการของรายใหญ่ คลื่นย่านนี้ยังมีแนวคิดในการนำคลื่นที่จะหมดเวลาใบอนุญาตในปี 2570 อีก 20 MHz เอามารวมกับคลืนที่จะประมูลในรอบนี้ 40 MHz เป็นคลื่นผืนใหญ่ที่ 60MHz โดยแนวคิดนี้โอเปอเรเตอร์มีสนใจแต่คงอยู่ที่สำนักงานฯ กำหนดเงื่อนไขอย่างร สำหรับเรื่องราคาคลื่นความถี่ส่วนตัวไม่อยากให้ราคาประมูลคลื่นความถี่สูงมากเกินไปเพราะสุดท้ายผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบ "
ดร.สมภพ กล่าวอีกว่า ส่วนโอกาสของผู้ประกอบการรายใหม่ได้เสนอความเห็นให้สำนักงานฯ เพิ่มเงินไข หากในการประมูลเพื่อให้ได้ผู้ประกอบการายใหม่เข้ามา กรณีมีที่่ประมูลได้คลื่นความถี่ย่าน 2100 2300 1800 MHz ถ้าผู้ประกอบการมีคลื่นย่าน Low Band อยู่แล้ว เช่น 850 MHz ต้องทำ Network sharing ให้ผู้ประกอบการรายเล็ก โดยอัตราการโรมมิ่งจะต้องไม่สูงเท่าราคาตลาด และกำหนดให้โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ต้องหาพันธมิตรผู้ประกอบการายเล็กในการให้บริการ MVNOs (Mobile Virtual Network Operators : การให้บริการโดยผู้ให้บริการที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบการและโครงข่ายเป็นของตัวเอง) อย่างไรก็ดีอยู่ที่สำนักงานฯ จะกำหนดเงื่อนไขตามที่เสนอหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งขัน
"โรดแม๊พ คือ ตั้งเป้าการประมูลภายในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2568 การประมูลและจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการประมูลและจัดสรรคลื่นย่าน 3500 MHZ (3300-4200 MHz) โดยคำนึงถึง แผนการย้ายการใช้งานทีวีจานดำ (TVRO) และการใช้งานสำหรับ 5G Private Network ในภาคอุตสาหกรรม , การประมูลและจัดสรรคลื่นความถี่ช่วงแรก 3300-3700 MHZ เน้นสำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ในช่วงปี พ.ศ.2570 ช่วงที่สอง 3700 - 4200 MHz ในช่วงปี พ.ศ. 2572 " ดร.สมภพ กล่าว
กรรมการด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวอีกว่า ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz (เมกะเฮิรตซ์) ผลักดันให้ใช้งานกับ 5G Private Network ในภาคอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างการสำรวจความต้องการใช้งานเพิ่มเติม โดยได้มีการประชุมรับฟังความเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus Group)เมื่อวันที่๒๙ พฤษภาคม๒๕๖๗ ทั้งนี้ ผู้ร่วมประชุมให้ความเห็นว่าการใช้งานสำหรับกิจการ Private Network เพื่อใช้งานในภาคอุตสาหกรรมนั้น แม้ว่าจะเป็นการจำกัดพื้นที่แต่ต้องพิจารณาประเด็นการรบกวนกันกับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ด้วย นอกจากความถี่ย่าน 3500 MHz แล้ว กสทช. ได้กำหนดคลื่นความถี่ย่าน 4800-4900 MHZ สำหรับการใช้งาน สำหรับกิจการ Private Network ไว้ก่อนหน้า โดยแม้ปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ที่รองรับความถี่ย่านนี้แพร่หลายใน ท้องตลาด สำนักงาน กสทช. ก็มีแผนจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์การใช้งานความถี่ย่านนี้ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2568