เจ้าที่ คือ ผู้ที่มีอำนาจ คอยปกป้องดูแล อยู่ในพื้นที่นั้นๆ หมายรวมถึง บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ไปจนถึง หมู่บ้าน ความเชื่อเรื่องเจ้าที่มีอยู่ในหลายชนชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมแบบตะวันออก คนไทยมีฐานมาจากความเชื่อเรื่องเจ้าที่มาจากความเชื่อเรื่องผี อยางที่ชอบเรียกว่า ผีบ้าน ผีเรือน คนจีนมีรากความเชื่อเรื่องเจ้าที่มาจาก เทพเจ้าผู้คุ้มครอง สำหรับตอนนี้เอาเรื่อง เจ้าที่แบบจีนมาคุยกันก็คงยืดยาวพอควร ที่หยิบเรื่องเจ้าที่แบบจีนมาเล่าเพราะ คนไทยกับคนจีนเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่มีการถ่ายเทเจ้าที่สู่กันและกันมากที่สุด ถ่ายเทในที่นี้ไม่ได้การแลกเจ้าที่ แต่เป็นการมีเจ้าที่รวมกันหรือรับมาส่งต่อเจ้าที่มาจากอีกฝ่าย เช่นการที่คนไทยเข้าไปซื้อบ้านเก่าของคนไทยเชื้อสายจีน หรือคนจีนไปซื้อบ้านซื้อที่ขอคนไทยที่อยู่มาก่อน นำมาซึ่ง คำถามว่าศาลพระภูมิ กับตี่จู่เอี๋ยะ ต้องเอาออกไหม ต้องเปลี่ยนใหม่ไหม ต้องถอนไหม ถ้าเก็บไว้ทั้งคู่แบบเพลง อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคนจะทำยังไง เชื่อว่าหลายคนเคยเข้าไปในบ้านที่มีการตั้งศาลพระภูมิ และตี่จู่เอี๋ยะ หรือศาลแบบจีน ผมคนนึงแหละที่เคยถามเพื่อนที่มีบ้านแบบนี้ว่า ตกลงท่านเป็นองค์เดียวกันหรือเปล่า ?
ขอเอาความรู้ที่เคยได้ยินมาเล่า ซึ่งอาจจะไม่ได้สมบรูณ์ทั้งหมด ถ้ามีท่านผู้อ่านจะแนะนำก็ยินดีน้อมรับ คติเรื่องเจ้าที่ของจีน มีความเหมือนและความแตกต่างกับเจ้าที่แบบไทย อยู่หลายส่วน ที่เหมือนกัน เจ้าที่ในคติแบบจีนหรือไทย เป็นความเชื่อพื้นฐานตรงกันว่า ทุกๆ ที่ ทุกบ้าน จะมี เจ้าที่คอยดูแลทั้งหมด แตกต่างกันที่การกำหนดตัวเจ้าที่ คือ เจ้าที่แบบไทย มักหมายถึงเจ้าของที่เดิม ผู้ที่เคยอยู่ก่อน รวมความถึงบรรพบุรุษที่เคยมีตัวตนอยู่ในพื่นที่นั้น ขณะที่ เจ้าที่แบบจีน เชื่อว่า ที่ทุกสถานที่มีเทพเจ้าคอยดูแล และมีการอัญเชิญเทพที่ตนนับถือมาไว้เพื่อเคารพบูชา ส่วนจะเป็นเทพองค์ใด กำหนดเอาตามความเชื่อของชาวจีนแต่ละเชื่อสายสืบกันมัน เช่นคนกวางตุ้ง จะนับถือองค์หนึ่ง คนแต้จิ๋ว จะนับถืออีกองค์หนึ่ง ขนาดเจ้าในวัฒนธรรมจีนแบบคนละท้องถิ่นยังต่างกัน
การตั้งศาลเจ้าที่ของจีนกับไทย เป็นอีกส่วนที่ต่างกัน เรื่องเจ้าที่หรือพระภูมิ จะหมายถึงพระภูมิหรือเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ในเมืองจีน หมู่บ้านจึงมีศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้านเพียงศาลเดียว ไม่ได้มีพระภูมิทุกบ้านแบบไทย ในความเชื่อคนไทย ที่รับเอาอิทธิพลความเชื่อเรื่องเจ้าที่ของจีนเข้ามาผสม ปรากฎเห็นในหมู่บ้านจะมีเจ้าที่กลาง 1 ศาล และมีศาลเจ้าที่ประจำบ้านอีก 1 ศาล เวลาจะไหว้าเจ้าที่ตามความเชื่อคือต้องไหว้ทั้งของหมู่บ้านและที่บ้าน แม้แต่ในเมืองไทยเอง ศาลเจ้าทีก็ย้งมีการตั้งแตกต่างกัน ในชนบาทจะมีศาลเจ้าที่ บ้างเรียกเป็นศาลปู่ตา ตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อย คติความเชื่อเรื่องเจ้าที่แบบไทยจึงขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น
อย่างที่บอกว่า เจ้าที่ในคติจีน มีหน้าที่คอยดูแลทุกข์สุขของคนในชุมชน คอยป้องกันไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในหมู่บ้าน เจ้าที่จีนยังมีหน้าที่ในการบันทึก การทำความดีและทำบาปของคนในชุมชนนั้น และมีหน้าที่สำคัญในการรับเอาดวงวิญญาณของผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตไว้ในพิทักษ์ เพื่อนคอยแนะนำวิญญาณว่าควรประพฤติหรือทำอะไรต่อไป ในชุมชนจีน เมื่อมีคนตายและมีศาลเจ้าที่อยู่ในชุมชน ญาติพี่น้องจะพากันไปที่ศาลเพื่อแจ้งข่าวให้เจ้าที่ทราบ และของให้รับรองวิญญาณนั้นเอาไว้ ชุมชนจีนในเมืองไทยอย่างที่เยาวราชก็มีศาลเจ้าที่ ที่บางคนเรียกว่าศาลหลักเมือง คอยพิทักษ์รักษา อย่างที่วัดมังกรกมลาวาส จะมีตึกที่อยู่ของท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่
วิธีการทำความเคารพหรือจะเลือกบูชาควรทำยังไงดี ? เรื่องเจ้าที่แบบจีน ถ้าเอาไปพิจารณารวมถึง ผู้ที่เคยอยู่ หรือเจ้าของบ้านเดิม ยิ่งซับซ้อนมาก เช่น เราไปซื้อบ้านของคนจีน ที่เคยมีการตั้งศาลเจ้าที่ ที่เรียกว่า ตี่จู่เอี๋ยะไว้ ก็จะมีเทพองค์หนึ่งที่อดีตเจ้าของบ้านนับถือถ้าเจ้าของบ้านใหม่เป็นจีนเหมือนกัน แต่คนละเชื้อสาย ก็จะนับถือเทพอีกองค์ เคยถามเพื่อนที่เป็นคนจีนว่าถ้าเจอเคสนี้ จะนับถือหรือเรียกเจ้าที่เป็นองค์ไหนกันแน่ แล้วยิ่งถ้่าเพื่อนเป็นจีนอีกความเชื่อนึงจะกลายเป็นว่าบ้านนี้มีเทพสามองค์หรือมากกว่านั้นอยู่ประจำใช่หรือเปล่า เคยถามผู้ใหญ่เชื้อสายจีนได้คำตอบว่า เรื่องเจ้าที่ ถ้าจะนับถือ ไม่ต้องคิดอะไรย้อนไปย้อนมาให้มาก ถ้าครอบครัวนับถือใครก็ให้นับถือองค์นั้นหรือคนนั้น แค่การบูชาการให้ทำตามวัฒนธรรมความเชื่อของตัวเอง ไม่ต้องแม้กระทั้งไปเปลี่ยนไปรื้อศาลที่มีอยู่แล้ว ถ้าศาลไม่ได้ชำรุดหักพัง ศาลพระภูมิหรือ ตี่จู่เอี๊ยะที่มีในบ้าน หากสบายใจที่จะรักษาไว้ก็รักษาไว้ ไม่สบายใจก็ทำให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมความเชื่อ การนับถือเจ้าที่ก็เหมือนนับถือญาติผู้ใหญ่ไว้เมื่อถึงกาลเวลาที่ไหว้ เคารพหรือแสดงมารยาทแบบที่เราแสดงกับผู้ใหญ่ แค่นี้เจ้าที่ก็จะเมตตาและคอยคุ้มครอง เพราะเราไม่รู้หรอกว่า มี หรือไม่มี อย่างไร ในศาลที่ตั้งไว้ในบ้าน เมื่อเช้าว่า มีใครสักคนมีอำนาจคุ้มครองอยู่ ก็แสดงความให้เกียรติเจ้าของที่นั้น ด้วยความเคารพ และมีมารยาท ย่อมได้รับการอำนวยพรได้ไม่ยากนัก