X
คุ้งบางกะเจ้า ความหวังพื้นที่สีเขียวของเมืองกรุง

คุ้งบางกะเจ้า ความหวังพื้นที่สีเขียวของเมืองกรุง

4 ก.พ. 2568
1670 views
ขนาดตัวอักษร

คุ้งบางกะเจ้า พระประแดง สมุทรปราการ หรือพื้นที่สีเขียวกระเพาะหมู เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใกล้กรุงเทพมหานคร โดยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 6 ตำบล คือ ต.

บางน้ำผึ้ง ต.บางยอ ต.บางกอบัว ต.บางกะสอบ ต.บางกะเจ้า และ ต.ทรงคนอง มีเนื้อที่ประมาณ 11,819


คุ้งบางกะเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "สวนกลางมหานคร" โดยความเป็นมา เริ่มเมื่อปีพ.ศ.2520 สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลมีมติให้อนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามเขตคลองเตย เขตยานนาวา ให้เป็นสวนสาธารณะเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนของประชาชน และในปี พ.ศ. 2534 รัฐบาลอนุมัติให้เป็น "โครงการสวนกลางมหานคร" จึงมอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม ซื้อที่สวนรกร้างจากประชาชนในพื้นที่ทั้ง 6 ตำบล โดยสามารถจัดซื้อได้ทั้งสิ้น 564 แปลง คิดเป็นเนื้อที่ 1,276 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่บางกะเจ้าทั้งหมด เพื่อจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะและใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และรัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้าเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการอนุรักษ์ในด้านเกษตรกรรม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยให้คงสภาพสวนผลไม้แบบดั้งเดิมเอาไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 มีการโอนภารกิจของโครงการสวนกลางมหานครให้อยู่ภายใต้การดูแลของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมทั้งได้จัดตั้ง "ศูนย์จัดการ พื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศนครเขื่อนขันธ์ (พื้นที่โครงการสวนกลางมหานครทั้งหมด)" ขึ้น


ในปี พ.ศ. 2548 มีการโอนการดูแลพื้นที่ดังกล่าวให้กับกรมป่าไม้ โดยอยู่ภายใต้ สังกัด สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณดังกล่าวยังเป็น ที่ตั้งของโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นทางสัดให้น้ำไหลลง สู่ทะเลได้รวดเร็ว ขึ้น ช่วยลดระยะทางการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตร เหลือเพียง 600 เมตร ลดเวลาเดินทางของน้ำจาก 5 ชั่วโมง เหลือ 10 นาที ลดผลกระทบน้ำล้นตลิ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล


ลักษณะภูมิประเทศของคุ้งบางกะเจ้า มีลักษณะคล้าย "กระเพาะหมู" รูปร่างของลำนำตวัดคล้ายรูปบ่วง หรือกระเพาะหมูซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่เรียกว่า ทางน้ำโค้งตวัด โดยแม่น้ำเจ้าพระยาที่ล้อมอยู่รอบคุ้งเป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตรซึ่งอยู่ห่างจากอ่าวไทยประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงมีความลาดชันไม่เกิน 1 เมตร และ มีความสูงพื้นที่เฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำปานกลางโดยประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร ทำให้พื้นที่คุ้งบางกะเจ้าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสะสมของตะกอนปากแม่น้ำและมีระบบนิเวศพิเศษ คือน้ำจืด น้ำเค็มและน้ำกร่อย ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบโครงสร้างของสังคมพืชและสัตว์ที่มีความหลากหลายจนกลายเป็นพื้นที่มีลักษณะเฉพาะ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ อันเกิดจากการสะสมตัวของดินตะกอนปากแม่น้ำทำให้เกิดผลผลิตด้านการเกษตรที่มีรสชาติโดดเด่น และมีชื่อเสียง เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะพร้าวน้ำหอมกล้วย


สภาพภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้นสลับแห้ง โดยแบ่งออกได้ 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-เมษายน) ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝน (พฤษภาคม-กันยายน) ได้รับ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดเอาอากาศชื้นเข้ามา ทำให้เกิดฝนตกแพร่กระจายทั่วไปและฤดูหนาว (ตุลาคม-มกราคม) ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็นอากาศเย็นสลับกับอากาศร้อน จากข้อมูลสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา (2560) พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 28.98 องศาเซลเซียล โดยอุณหภูมิต้าสุดอยู่ที่ 16.10 องศาเซลเซียล ในเดือนธันวาคม และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 38.80 องศาสเซลเซียล ในเดือนเมษายน ส่วนในปริมาณน้ำฝนในช่วงระยะเวลา 12 ปี (2549-2560) พบว่ามีปริมาณน้ำฝนรวมอยู่ในช่วง 1,218.60 - 2,104.80 มิลลิเมตร โดยในปี 2560 มีปริมาณน้ำฝนรวมอยู่ที่ 1,981.70 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนต่ำสุดอยู่ที่ 0.30 มิลลิเมตร ในเดือน กุมภาพันธ์ และปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ 119.00 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม


การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า ด้วยแบบจำลอง MOLUSCE มีการใช้ข้อมูลการจำแนกประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2559 เป็นปีฐาน และใช้ข้อมูลการจำแนกประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีสุดท้าย และมีการกำหนดปัจจัย ได้แก่ ระยะห่างจากเส้นถนน ระยะห่างจากเมือง และเมือง และใช้ปี 2564 เป็นตัวที่จะทำการตรวจสอบในโปรแกรมโดยได้ผลลัพธ์ที่คาดว่า ในปี 2572 พื้นที่คุ้งบางกระเจ้า มีการเปลี่ยนแปลงได้แก่ มีพื้นที่แหล่งน้ำ 68.29 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด มีที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง 3,489.13 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.41 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ต่อมาคือป่าชายเลน พบว่ามีพื้นที่ 253.32 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.01ของพื้นที่ทั้งหมด ป่าละเมาะ มีพื้นที่ 2,440.72 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24.77 ของพื้นที่ศึกษา ไม้ผลและไม้ยืนต้นมีพื้นที่ 2,696.81 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.37 ของพื้นที่ศึกษา มีพื้นที่เกษตรรกร้าง 927.21 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.41 และพื้นที่อื่นๆ มีทั้งหมด 32.03 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.33


การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี 2572 ด้วยแบบจำลอง MOLUSCE มีที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นมากที่สุดในการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมดผลการวิจัยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่าบางกระเจ้าเป็นปอดของกรุงเทพฯ สาเหตุดังกล่าวนั้นมาจากการที่ไม่มีตัวแปรทางด้านนโยบายเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวทำให้ผลจากการคาดการณ์ออกมาใน ลักษณะของการที่มีพื้นที่ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด

ข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) ได้จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินสามารถนำมาการ


คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในการคาดการณ์ค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลไม่สอดคล้องกับนโยบายที่มีเป้าหมายพัฒนา พื้นที่บางกระเจ้าให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยเรื่องการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์


ข้อมูลจาก

การประเมินการกักเก็บคาร์บอนจากชีวมวลและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตบริเวณคุ้งบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยแบบจำลอง MOLUSCE โดยฐิติยา พัดคำตัน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)