เรื่องแอปพลิเคชันอันตรายกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังจากดราม่าปัญหาสายชาร์จดูดเงิน เพราะสายชาร์จดูดเงินมีจริงแต่ไม่ได้มีแพร่หลายที่สำคัญต้องรู้ว่าเป้าหมายเป็นใครมียอดบัญชีดึงดูดมิจฉาชีพ
อาจารย์ปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ ให้ความชัดเจนไว้ว่า สายชาร์จที่เป็นของแฮกเกอร์ทำขายมีจริง แต่ทำได้เพียงทดลองและมีข้อจำกัดหลายอย่าง (ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าคงแพงด้วย ) เรื่องที่มีผู้เสียหายถูกดูดเงินไม่ได้มาจากสายชาร์จแต่อย่างใด แต่เกิดจากการติดตั้งแอปพลิเคชันที่มีมัลแวร์ในมือถือ
รายชื่อแอปพลิเคชันที่มีมัลแวร์ กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) รวบรวมมาจากการแจ้งความของผู้เสียหายที่ถูกมิจฉาชีพสร้างกลอุบายหลอกลวงให้กดลิงก์ดาวน์โหลด หรือติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่เข้าข่ายอันตรายคือ แอปพลิเคชันสำหรับการหาคู่, แอปพลิเคชันดูไลฟ์สด ดูภาพลามกอนาจาร , แอปพลิเคชันพูดคุยยอดนิยม เช่น Viber, Sweet meet, Bumble, Snapchat, Kakao Talk แล: Flower Dating หนทางรอดพ้นจากมัลแวร์คือดำเนินชีวิตตามปกติ ห่างไกลจากแอปเหล่านี้
Kaspersky เตือนให้รีบลบ 13 แอป มีโฮสต์มัลแวร์อันตราย ดูดเงิน อ่านข้อความ และสอดแนมการทำงานในโทรศัพท์
Classic Emoji Keyboard
Battery Charging Animations Bubble Effects
Easy PDF Scanner
Dazzling Keyboard
Halloween Coloring
EmojiOne Keyboard
Smart TV remote
Flashlight Flash Alert On Call
Volume Booster Hearing Aid
Now QRcode Scan
Volume Booster Louder Sound Equalizer
Super Hero-Effect