16 มี.ค.66 - วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงงาน ในจังหวัดปราจีนบุรี ยังไร้วี่แวว เจ้าหน้าที่ยังรอความหวังค้นหาต่อ ด้านผู้เชี่ยวชาญย้ำ ใครเจอห้ามแกะ ชำแหละ ทำลายโดยไม่ถูกวิธี ผลกระทบสุดอันตราย
เจ้าหน้าที่ยังระดมค้นหา วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงงาน ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยนายรัชกฤช พยัคฆ์ นายอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับหลายหน่วยงาน ออกค้นหา ซีเซียม-137 ที่ร้านรับซื้อของเก่าแต่ยังไม่พบ ทั้งนี้ได้ประชาสัมพันธ์ย้ำขอให้ประชาชนที่ทราบ หรือมีเบาะแส หรือไปพบวัสดุที่คล้ายกับซีเซียม-137 ที่หายไปให้รีบแจ้งมาได้ ซึ่งเบื้องต้น ในขณะนี้ผู้ที่พบเห็นหรือครอบครองจะยังไม่มีความผิด
ส่วนการค้นหาในพื้นที่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ นำรถห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์ตรวจสอบไปสุ่มตรวจร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งร้านนี้รับสัมปทานนำวัสดุจากโรงไฟฟ้าจากบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด มากำจัด โดยนายกิตติ์กวิน อรามรุญ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยว่า ได้ขยายพื้นที่ออกตรวจนอกเหนือจากอำเภอศรีมหาโพธิ เนื่องจากสุ่มตรวจพื้นที่ที่คาดการณ์ครบแล้ว จึงมาพื้นที่ข้างเคียงซึ่งเป็นสถานที่รับกำจัดวัสดุจากโรงงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องมือ 3 ชนิด คือ
•
1.เครื่องวิเคราะห์ไอโซโทปรังสีแบบบอกทิศทาง ใช้เพื่อสำรวจปริมาณรังสีและวิเคราะห์ไอโซโทปรังสี รวมถึงบอกทิศทางของรังสีที่มากระทบกับเครื่องมือวัด
2. เครื่องสำรวจปริมาณรังสีใช้สำรวจปริมาณรังสีในพื้นที่เกิดเหตุ
3. อากาศยานไร้คนขับพร้อมเครื่องวิเคราะห์ไอโซโทปรังสี ใช้สำรวจปริมาณรังสีในพื้นที่ขนาดใหญ่พร้อมวิเคราะห์ไปโซโทปรังสีในพื้นที่เกิดเหตุ
•
สำหรับหลักการในการตรวจหาคือ หากเป็นพื้นที่โล่งจะใช้เจ้าหน้าที่นำเครื่องมือตรวจวัดปริมาณรังสี และเครื่องมือระบุชนิดวัสดุปริมาณรังสี เดินสำรวจ แต่หากเป็นพื้นที่ที่เดินเข้ายากหรือมีเศษวัสดุกองจำนวนมาก จะใช้โดรนที่ติดอุปกรณ์สำรวจปริมาณและระบุชนิดปริมาณรังสี บินสำรวจ สัญญาณการตรวจวัดในรัศมีราว 1 เมตรของเครื่องตรวจจับ จะถูกส่งมาที่อุปกรณ์ติดตั้งหน้างานแบบเรียลไทม์ ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก
•
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า รังสีแกมมาจากสารซีเซียม-137 อันตรายมาก แต่ที่ไม่สามารถใช้เครื่องมือวัดรังสีได้ เพราะในท่อวัสดุดังกล่าวมีตะกั่วห่อหุ้มอยู่ที่ป้องกันรับสีแพร่กระจาย แต่หากเกิดพลาด หรือผู้ไม่รู้จะเกิดผลกระทับทั้งระยะสั้น และยาว ดังนี้
1.หากมีคนไปแกะหรือผ่าแท่งซีเซียม-137 ออกมาและหายใจหรือจับกับสารดังกล่าวโดยตรงจะทำให้เกิดผิวหนังผุพองไหม้และป่วยหนักได้ แต่หากรับเข้าสู่ร่างกายเล็กน้อยโดยทางหายใจหรือผิวหนังรังสีจะถูดดูดซึมไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับและไขกระดูก สามารถถูกขับได้ทางเหงื่อและปัสสาวะ นอกจากนี้สารซีเซียม-137 ยังแผ่รังสีแกมมาที่มีพลังงานสูง ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่มีประจุไฟฟ้า ไม่มีมวล มีอำนาจทะลุทลวงสูงออกมาก็จะทะลุไปทำลายเซลต่าง ๆ ภายในร่างกายโดยเฉพาะเซลเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงมาก
2.รังสีแกมมาที่ทะลุเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยดังนี้
- เกิดเป็นผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ผมร่วง เซลล์ตาย เป็นแผลเปื่อย
- ทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย
- เกิดเนื้อเส้นใยจำนวนมากที่ปอด
-เกิดโรคเม็ดโลหิตขาวมากผิดปรกติหรือเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- เป็นต้อกระจกที่ดวงตา
- ทำให้โครโมโซม เกิดการเปลี่ยนแปลง มีผลต่อเนื่องทำให้DNAของลูกหลานผิดปรกติได้
- ทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดลงจนนำไปสู่การเป็นหมันได้
- เป็นมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
3.หากยังไม่มีการแกะหรือผ่าท่อของแท่งซีเซียม-137 ออก ก็จะยังไม่มีรังสีแกมมาแผ่ออกมาเพราะภายในท่อมีสารตะกั่วห่อหุ้มสารซี
เซียม-137 อยู่อีกชั้น จึงทำให้รังสีแผ่ออกมาข้างนอกท่อได้น้อยมากหรือไม่มีเลย
4.ในทางอุตสาหกรรม ซีเซียม-137 จะใช้ในการวัดความชื้นและความหนาแน่นในการก่อสร้าง, ใช้ในเครื่องมือทางแพทย์เพื่อรักษามะเร็ง, ใช้ในมาตรวัดกระแสน้ำในท่อ, ใช้วัดความหนาของสิ่งต่าง ๆ เช่น กระดาษ แผ่นโลหะ เป็นต้น
5.หากท่อของสารซีเซียม-137 ดังกล่าวถูกนำไปขายยังโรงแปรรูปเหล็กและถูกหลอมในเตาเผาจะอันตรายมากคือรังสีจะถูกปล่อยออกมาทางปล่องควันกระจายไปในสิ่งแวดล้อมและเกิดการเปรอะเปื้อนของรังสีเบต้าและแกมมาซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอย่างรุนแรงในสภาพแวด ล้อมในวงกว้าง
6.ผู้ครอบครองทั้งร้านรับซื้อของเก่า โรงงานรีไซเคิล โรงงานหลอมหล่อเหล็ก ที่รับท่อหุ้มดังกล่าว ผู้ครอบครองถือว่ากำลังตกอยู่ในอัน
ตรายหากนำไปกองไว้ฝนตก น้ำชะจะไหลปนเปื้อนลงในน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน หากนำไปหลอมยิ่งกระจายไปทางอากาศนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในอนาคตอันใกล้
ดังนั้นหากเจ้าหน้านำเครื่องมือตรวจวัดรังสี หรืออุปกรณ์ Digital Radiation Meter มาตรวจวัดตามกองเก็บเศษเหล็กของร้านรับซื้อของเก่า โรงงานหล่อหรือหลอมเหล็ก ก็อาจหาไม่พบซึ่งอาจต้องขอความร่วมมือให้ร้านหรือโรงงานเหล่านั้นตรวจสอบตนเองและให้เอามาส่งคืนโดยละเว้นความผิดทางกฎหมายแถมให้รางวัลตอบแทนด้วยจะช่วยได้มากขึ้น
•
ด้านกรมโรงงานอุตสาหกรรม ก็ได้แสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137
พบเห็น "ห้ามจับหรือเข้าไปใกล้" เด็ดขาด🚫☢️ ย้ำถึงอันตราย
🔸อาจทำให้ผิวหนังของผู้สัมผัสเกิดอาการเน่าภายใน 3 วัน ในกรณีที่รังสีมีความเข้มข้น
🔸หากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน อาจเกิดพังผืดที่ปอด เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดต้อกระจกขึ้นในนัยน์ตา ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ
•
ผู้ใดที่พบเห็นวัตถุต้องสงสัย หรือวัสดุที่มีลักษณะดังกล่าว
⚠️หากพบเห็นห้ามจับหรือเข้าใกล้เด็ดขาด ❗️
⚠️ผู้ที่เก็บวัตถุดังกล่าวไปไม่ควรผ่าท่อรังสีโดยเด็ดขาด☠️☢️
⚠️รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ1️⃣9️⃣1️⃣‼️