ช่วงเวลาที่พระองค์ดำเสด็จไปเป็นองค์ประกันที่กรุงหงสาวดี เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้และฝึกปรือศิลปะ วิทยาการที่ทำให้พระองค์เจริญพระชนม์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้า มีพระบรมเดชานุภาพในอนาคต เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าพระองค์ดำได้รับการถ่ายทอด วิชาพิชัยสงคราม วิชาการต่อสู้ การฝึกปรือการใช้อาวุธ โดยเฉพาะการใช้ดาบ มาจากครู ที่หงสาวดี ผสมกับบางส่วนจากสำนักดาบในเมืองสองแควและกรุงศรีอยุธยา ไม่ได้มีบันทึกว่าชื่อครูผู้สอนสรรพวิชาของท่านมีท่านใดบ้าง แต่เป็นที่น่าเชื่อว่า ดาบรามัญ จากพระราชประวัติ ทางเชี่ยวชาญอาวุธเกือบทุกชนิด
สำหรับวิชา ดาบ ดูจากที่ประทับของพระองค์แล้ว พระนเรศรน่าจะได้รับการถ่ายทอดวิชาดาบรามัญมาบ้างไม่มากก็น้อย ทั้งจากราชสำนักหงสาวดี และจากสำนักของพระมหาเถรคันฉ่อง ประวัติของพระมหาเถรคันฉ่อง ก่อนท่านจะบวชท่านเคยเป็นทหาร ท่านน่าจะมีวิชาเพลงดาบรามัญด้วย
คนมอญนั้น มีใช้ดาบมาตั้งแต่โบราณ ใช้ในการทำมาหากิน และใช้ในการปกป้องบ้านเมือง ดาบมอญ มีเอกลักษณ์ ทั้งเพลงดาบ และรูปแบบของดาบมอญ วิชาดาบรามัญ โดยเฉพาะเพลงดาบสองมือ ไม่เน้นการปะทะ เน้นการใช้ชั้นเชิงในการเฉือน การชิงจังหวะ การหมุนเป็นจักรผัน ในส่วนของวิชาดาบแบบรามัญ จุดเด่นของดาบมอญ คือ ดาบสองมือ ลักษณะของดาบมอญ เพจ MON Studies เล่าไว้ว่าดาบมอญมีลักษณะ ...ที่มีปลายดาบจะแตกต่างกันไปบ้าง มีทั้งปลายแหลม ปลายตัด ปลายมน ส่วนใบมีด,มีลักษณะเรียวยาวคล้ายดาบซามูไรญี่ปุ่นช่วงบริเวณสันมีดจะเป็นขอบนูนและเป็นร่องเลือดเพื่อให้ดึงกลับมาง่าย เนื้อไม่ดูดดาบเมื่อแทงศัตตรูส่วนด้ามจับจะมีลักษณะไม่ยาวเหมือนดาบไทย ที่พิพิธภัณฑ์มอญในรัฐมอญได้อธิบายไว้ว่าเมื่อสมัยอาณาจักรมอญแต่ก่อนเก่านั้น เมืองที่เป็นแหล่งตีดาบมอญแหล่งใหญ่อยู่สองเมืองคือ สกุลช่างเมืองเมาะตะมะ กับสกุลช่างเมืองมดมัวเลิมหรือเมาะละแหม่ง
หลังการเทครัวมอญมาพร้อมกับพระยาเกีรยติ พระยาราม ทำให้เกิดกองอาสามอญ และเป็นส่วนสำคัญของกองทัพสมเด็จพระนเรศวร เพลงดาบรามัญจึงรับใช้ราชสำนักอโยธยามาอย่างยาวนาน ฝังรากลึกอยู่ในวิถีการรบของนักรบไทยอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ กองอาทมาฎรามัญ กองอาสารามัญ ล่วนแต่ใช้บริการนักดาบสายนี้ทั้งสิ้น ดาบรามัญรับใช้ราชสำนัก รับใช้กองทัพไทย และสยามประเทศเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ดาบรามัญก็ยังคงอยู่และผสมผสานกับวิชาดาบที่มาแต่เดิมจนกลายเป็นดาบไทยที่ควรค่าแก่ความภาคภูมิใจ