ช่วงนี้ประเทศไทยตอนบนจะต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อน ซึ่งอาจมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่าและ “ลูกเห็บ” ตกบางแห่ง วันนี้ Backbone MCOT จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเจ้า “ลูกเห็บ” ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมมีก้อนน้ำแข็งตกลงมาจากอากาศ
“ลูกเห็บ” (Hail) เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ ‘หยาดน้ำฟ้า (Precipitation)’ เป็นชื่อเรียกรวมของหยดน้ำและน้ำแข็ง ที่เกิดจาการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้น เช่น ฝน ลูกเห็บ หิมะ ลูกเห็บ เป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 5-50 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่มักเป็นก้อนน้ำแข็ง หรือชิ้นน้ำแข็งใส มีลักษณะเป็นชั้นน้ำแข็งใส่สลับกับน้ำแข็งฝ้า
ลูกเห็บ เกิดจากอะไร?
ลูกเห็บ เกิดขึ้นจากกระแสในอากาศแนวดิ่งภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส พัดให้ผลึกน้ำแข็งสะสมตัวจนมีขนาดใหญ่และตกลงมา กล่าวคือ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเขตร้อน อากาศมีอุณภูมิสูง ทำให้เกิด “เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus) ซึ่งเป็นเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง โดยภายในเมฆคิวมูโลนิมบัสจะมีทั้งกระแสอากาศยกตัว (Updraft) และกระแสอากาศจมตัว (Downdraft) สลับกัน พัดขึ้นและลงสลับกันในแนวดิ่ง ทำให้หยดน้ำที่เกิดขึ้นสะสมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ และหากถูกพัดให้สูงขึ้นสู่ด้านบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้เกิดก้อนน้ำแข็งที่เกิดขึ้นประทะกับน้ำเย็นยิ่งยวด แล้วสะสมตัวกันเป็นชั้นๆ จนมีขนาดใหญ่แล้วตกลงมาเป็นลูกเห็บ (Hail) นอกจากนี้ลูกเห็บสามารถเกิดเป็น “พายุลูกเห็บ” ได้ ส่วนใหญ่จะเกิดในขณะที่เกิดพายุฤดูร้อน
ภาพกระบวนการเกิดหยาดน้ำฟ้าในเมฆคิวมูโลนิมบัส จาก ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
ขอบคุณข้อมูลจาก