Jagat หรือที่แปลว่า “จักรวาล” ในภาษาอินโดนีเซีย เป็นแอปพลิเคชันที่กำลังมาแรงในหมู่วัยรุ่น ด้วยฟีเจอร์เด่นอย่าง “Coin Hunt” ให้ผู้ใช้สามารถร่วมแคมเปญค้นหาเหรียญตามจุดต่างๆ ในสถานที่จริงเพื่อนำไปแลกรางวัลเงินสด เข้ามาเปิดตัวในช่วงรอยต่อปี 2567-68 ในประเทศไทย ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วมาแรงแซงทสงโค้งวัยรุ่นฮิตจนวิ่งหาเหรียญไปทั่วเมือง
แอปนี้เกิดในอินโดนีเซีย โดยบริ Jagat tech แรงมาบน TikTok ความสำเร็จของ Jagat มาพร้อมกับประเด็นถกเถียง ทั้งในแง่ความปลอดภัยและผลกระทบต่อสังคม
รูปแบบการเล่น Jagat มีความคล้ายกับ Pokémon Go ใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) แต่จุดเด่นของ Jagat อยู่ที่การตามหา “เหรียญจริง” ดึงดูดใจตรงสามารถเอาเหรียญไปแลกเป็นเงิน เหรียญมี 3 แบบ มีมูลค่าต่างกัน เหรียญทองแดง 500-2,000 บาท เหรียญเงิน 20,000 บาท เหรียญทอง 200,000 บาท ฮิตกันทั้งในพระนครและหัวเมือง ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปยัน ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา ฯลฯ
วิธีเข้าร่วมเกม ดาวน์โหลดแอพแล้วสมัครชำระค่าธรรมเนียมในการเล่น จ่ายเงินเพิ่มเติมเพื่อซื้อคำใบ้ที่ช่วยให้ค้นหาเหรียญได้ง่ายขึ้น เมื่อพบเหรียญ ผู้เล่นต้องกรอกรหัสในแอปเพื่อรับเงินรางวัล ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีภายใน 2-3 วัน ฟีเจอร์นี้สร้างแรงจูงใจให้วัยรุ่นจำนวนมากเข้าร่วมล่าเหรียญอย่างจริงจัง
ล่าสุดคุณตำรวจออกมาเตือนแล้วสำหรับ สำหรับผู้เล่นเกมนี้ แม้จะมีความสนุกแต่ก็มีความเสี่ยงแม้จะเป็นแหล่งรายได้ใหม่แต่อาจจะมีผลกระทบกรณีการบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลหรือทำความเสียหายให้กับพื้นที่สาธารณะที่มีการนำเหรียญไปซ่อน ความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคลในการเล่นจะมีการเปิดโลเคชั่น แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน และเมื่อเอาเหรียญไปแลกเงินต้องบอกบัญชีเงินฝากธนาคาร ในส่วนนี้ไม่มีใครคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพราะบริษัทที่เป็นเจ้าของแอพพลิเคชั่นอยู่ที่อินโดนีเซีย ทีมงานก็อินอินโดนีเซียทั้งหมดมีอยู่ 17 คน
ความสนุกจากการล่าเหรียญอายนำไปสู่ผลกระทบทางลบหลายประการ บทเรียนจากอินโดนีเซีย Jagat เคยถูกวิจารณ์ถึงผลกระทบทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เล่น บางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการแข่งขันล่าเหรียญ มีรายงานว่าการล่าเหรียญส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินสาธารณะ ขยะ การทำลายสถานที่ท่องเที่ยว