ในโอกาสที่คลองโอ่งอ่างจะกลับมาชีวิตชีวาอีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ที่เราจะไดเไปเดินเที่ยว ถ่ายรูป ชิมอาหารอร่อย ริมคลองโอ่งอ่าง จึงเชิญมาร่วมรำลึกถึงสะพานหันที่คลองโอ่งอ่าง สะพานหัน ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เป็น สะพานหันที่สร้างใหม่ สะพานหันเดิมต้องหันได้ สะพานหันมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ตัวสะพานหันสามารถ หัน ได้ คือ หันไปทางด้านกำแพงเมืองหรือกำแพงพระนคร คำว่าหันได้ คือเป็นสะพานไม้ที่สามารถ หันเปิดให้ เรือ วิ่งผ่านเข้าออกในคลองได้ เดิมตรงกำแพงเมืองหรือกำแพงพระนครตรงบริเวณสะพานหันจะมีประตูเข้าออกระหว่างพระนครกับตลาดสำเพ็ง ณ บริเวณสำเพ็งนี้ในสมัยก่อนได้เต็มไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายซื้อขายสินค้าจจำนานมาก
คนที่อาศัยทำการค้าและพำนักอยู่ในย่านนี้มีทั้ง ไทย จีน และแขก ต่อมาสะพานที่สร้างสมัยต้นกรุงก็ได้ชำรุดหักพัง พระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองพุทไธมาส ที่เข้ามาทำราชการในกรุงเทพฯและได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ สะพานนี้จึงเป็นผู้ออกทุนซ่อมแซมขึ้นใหม่ ครั้นมาถึงรัชกาลที่ 2 สะพานนี้ได้หักชำรุดอีกครั้ง คราวนี้ไม่มีพระยาราชาเศรษฐีเพราะท่านสิ้นไปแล้ว กรมพระนครบาลในรัชกาลที่ 2 จึงได้ทำสะพานขึ้นใหม่ในที่เดียวกัน แต่คราวนี้ ทำให้เป็นสะพานติดอยู่กับพื้นดิน แต่ก็คงเรียกชื่อเป็นสะพานหันตามเคยมีท่านผู้รู้ได้เคยเล่าให้ฟังว่าสมัยนั้นก่อนที่จะถึงสะพานมีประตูอยู่ประตูหนึ่งเรียกว่าประตูสะพานหันและสะพานหันที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นสะพานที่เล็กที่สุดในเมืองไทยสมัยนั้นคือมีร้านโรงขายของอยู่ทั้งสองฟากสะพาน … สะพานหันกลายเป็นที่ตั้งร้านขายของอยู่นาน จนมีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง และกลายเป็นสะพานหันอย่างที่เห็นทุกวันนี้
ร่วมรำลึกสะพานหัน ไปถ่ายรูปกับสะพานหัน ในงานเปิดถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างตั้ง 15 ตุลาคม ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 15.00 -20.00 น.
กิจกรรมยังคงอัดแน่นเพื่อมอบความสุขสนุกสนานเช่นเดิม
- พายเรือคายัคฟรี!!!
- ดนตรีเปิดหมวก
- ร้านค้าชุมชน Street food นานาชาติ เช่น ไทย จีน อินเดีย ภูฏาน เกาหลี ไต้หวัน
- Street Art / Graffiti ทั้งพื้นที่ริมคลอง และตรอกซอย
ข้อมูลและเรื่องย่านเก่า โดย เทพชู ทับทอง