1 เม.ย.65 - ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ต้องรู้! กกต. จำกัดงบหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ต้องไม่เกิน 49 ล้านบาท เท่านั้น
คึกคักสุด ๆ ในรอบ 9 ปี สำหรับบรรยากาศการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ที่เป็นอีกครั้งที่จะทำให้ชาว กทม. ได้ลงเสียงเลือกพ่อเมืองในการบริหารราชการ กทม. หลังว่างเว้นไม่ได้เลือกด้วยตัวเองมานาน
ล่าสุดมีผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ยื่นลงสมัครแล้วไม่น้อยกว่า 20 คน มีทั้งเบอร์เล็ก เบอร์ใหม่ หน้าเก่า หน้าใหม่ มากันครบไม่มีอิดออด แต่เหล่าผู้สมัคร ผู้ว่า กทม. ต้องรู้เป็นอันดับต้น ๆ นั้นคือการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงนับตั้งแต่ ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง ต้องไม่เกินจำนวนนี้เท่านั้น
โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคมนี้ และกำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 31 มีนาคม- 4 เมษายน 2565
•
ซึ่งกาตัวแดงขีดเส้นเน้นกันชัด ๆ ว่า จำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้ว่าฯ กทม. เมื่อประกาศให้มีการเลือกตั้งการคำนวณค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ กกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง โดยผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวน 49 ล้านบาท เท่านั้น หากตรวจสอบพบเกินกว่าที่กำหนด มีโทษแน่นอน 100%
•
ส่วนเหล่า ส.ก. หรือชื่อเต็มๆ ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ก็มีการกำหนดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของแต่ละเขตเช่นกัน ดังนี้
•
ใช้จ่ายได้ไม่เกิน จำนวนเขตเลือกตั้งละ 820,000 บาท ได้แก่
- เขตสัมพันธวงศ์
- เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
- เขตบางรัก
- เขตปทุมวัน
- เขตพระนคร
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 900,000 บาท ได้แก่
- เขตราชเทวี
- เขตพญาไท
- เขตคลองสาน
- เขตบางกอกใหญ่
- เขตห้วยขวาง
- เขตวัฒนา
- เขตราษฎร์บูรณะ
- เขตทุ่งครุ
- เขตคลองเตย
- เขตยานนาวา
- เขตสาธร
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 1,000,000 บาท ได้แก่
- เขตบางพลัด
- เขตสะพานสูง
- เขตทวีวัฒนา
- เขตบางบอน
- เขตคันนายาว
- เขตวังทองหลาง
- เขตบางคอแหลม
- เขตบางกอกน้อย
- เขตมีนบุรี
- เขตพระโขนง
- เขตหลักสี่
- เขตดินแดง
- เขตบางนา
- เขตลาดพร้าว
- เขตตลิ่งชัน
- เขตดุสิต
- เขตธนบุรี
- เขตสวนหลวง
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 1,050,000 บาท ได้แก่
- เขตภาษีเจริญ
- เขตบางซื่อ
- เขตบึงกุ่ม
- เขตบางกะปิ
- เขตหนองแขม
- เขตหนองจอก
- เขตจตุจักร
- เขตจอมทอง
ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนเขตเลือกตั้งละ 1,150,000 บาท ได้แก่
- เขตบางขุนเทียน
- เขตคลองสามวา
- เขตลาดกระบัง
- เขตดอนเมือง
- เขตประเวศ
- เขตสายไหม
- เขตบางเขน
- เขตบางแค
ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2562) มาตรา 46 ยังได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ไว้ด้วยว่า
- ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นด้วย
ส่วนในมาตรา 49 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ดังนี้
- มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
ส่วนมาตรา 50 กำหนดลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 26 ข้อ เช่น
- เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด
- อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราว
- หรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
- ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
- เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
- เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการทุจริตในการเลือกตั้ง
ซึ่งกติกาทั้งหมดนี้ เหล่าผู้สมัครต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจกระทบต่อการผิดคุณสมบัติหากได้รับเลือกในตอนสุดท้ายนั้นเอง