X
ปลดล็อก! อีสานแห่งภาคกลาง

ปลดล็อก! อีสานแห่งภาคกลาง

9 มี.ค. 2565
1760 views
ขนาดตัวอักษร

มี..65 - ชาวหนองปรือ .กาญจนบุรี เฮมีน้ำบาดาลใช้ ปลดล็อกฉายา จะไม่ใช่อีสานแห่งภาคกลางอีกต่อไป


ฉายาอีสานแห่งภาคกลาง ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย เมื่อหนองปรือ .กาญจนบุรี เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำตลอดทั้งปี ชาวบ้านแทบจะปลูกผัก ทำอาชีพเกษตรไม่ได้เลยในแหล่งที่ดินของตัวเอง


ล่าสุด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เดินหน้าผลักดันแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ตามนโยบายรัฐบาล ลงพื้นที่ติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และติดตามโครงการศึกษาสำรวจจุดกระจายน้ำเพื่อประชาชนตามถนนสายหลัก-สายรองทั่วประเทศ ซึ่ง .หนองปรือ .หนองปรือ .กาญจนบุรี โดยจุดแรก ได้เข้าร่วมกิจกรรม “วันคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประเด็น “แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ


นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ (กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ตั้งเป้าแก้ปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ เลาขวัญ ห้วยกระเจา บ่อพลอย หนองปรือ และพนมทวน เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดฝนแล้งในช่วงฤดูแล้งปีนี้ จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มากที่สุด 


โดยมอบหมายให้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเร่งจัดหาน้ำบาดาลให้แก่ประชาชนเพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้ง ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอของจังหวัดกาญจนบุรี ประสบกับปัญหาแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำกินน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตร สาเหตุเนื่องมาจากตั้งอยู่ในเขตเงาฝน ทำให้ในแต่ละปีมีฝนตกในพื้นที่ไม่ถึง 1,000 มิลลิเมตร ถือว่าน้อยมาก 


อีกทั้งพื้นดินประกอบด้วยดินร่วนปนทราย ทำให้เก็บน้ำไม่อยู่ ไม่สามารถสร้างฝายหรืออ่างเก็บน้ำในพื้นที่ได้ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “พื้นที่อีสานภาคกลาง” โดยได้พยายามแก้ไขปัญหาภัยแล้งและต้องการลบฉายาอีสานภาคกลางให้ได้


โดยได้นำเทคโนโลยีการสำรวจ  น้ำบาดาลระดับลึก ทั้งการสำรวจวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะแบบหยั่งลึก การสำรวจแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ และเทคโนโลยีการเจาะสำรวจน้ำบาดาลระดับลึกในหินแข็ง ซึ่งสามารถเจาะได้ถึง 650 เมตร 


พบว่าพื้นที่ .หนองฝ้าย .เลาขวัญ เป็นแอ่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ที่มีความกว้างประมาณ 6 กิโลเมตร ยาวประมาณ12 กิโลเมตร ลึกประมาณ 200 เมตร มีปริมาณน้ำกักเก็บประมาณ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับความจุของเขื่อนกระเสียว 


นอกจากนี้ยังค้นพบพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายคันธนู คาบเกี่ยวบริเวณ .บ่อพลอย และ .ห้วยกระเจา ซึ่งมีความกว้างประมาณ 2.5 กิโลเมตร ยาวประมาณ 23 กิโลเมตร ลึกประมาณ 300 เมตร มีปริมาณน้ำกักเก็บประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของเขื่อนกระเสียว ซึ่งมีปริมาณ สูงมากและคุณภาพน้ำดี เหมาะที่จะนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร 

ซึ่งหากใช้ต้นแบบความสำเร็จจาก .เลาขวัญ และห้วยกระเจา มาผลักดันอีก 3 อำเภอที่เหลือ ได้แก่ .หนองปรือบ่อพลอย และพนมทวน ในท้ายที่สุดกจะสามารถลบคำขนานนามทั้ง 5 อำเภอว่าเป็นพื้นที่ “อีสานภาคกลาง” ให้กลายเป็นจริงได้


ทั้งนี้ได้เดินทางไปที่วัดเพชรสมบูรณ์ .หนองปรือ .กาญจนบุรี เพื่อติดตามโครงการศึกษาสำรวจจุดกระจายน้ำเพื่อประชาชนตามถนนสายหลัก-สายรองทั่วประเทศ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาด และการเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคเมื่อเกิดสภาวะภัยพิบัติ ขณะนี้มีการดำเนินการไปแล้วรวมทั้งสิ้น 76 แห่ง ประชาชนได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 22,500 ครัวเรือน หรือ 112,500 คน คิดเป็นปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่า 5,518,800 ลบ..ต่อปี 

ช่วยให้ประชาชนไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำอุปโภคบริโภค ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้จำนวนมาก และที่สำคัญประชาชนทั้งในพื้นที่และที่สัญจรไปมาบนถนนสายหลัก-สายรองของประเทศ ได้รับน้ำสะอาดอย่างเท่าเทียมกัน

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)