5 ม.ค.65 - รู้หรือไม่ หยุดยาวนาน ๆ คุณอาจเป็นโรคนี้ได้ ภาวะ “Post-Vacation Blues” หรือ อาการซึมเศร้าหลังหยุดยาว มีอาการแบบนี้ต้องปรับตัวอย่างไร?
หลังกลับจากหยุดยาว อยู่ดี ๆ ก็มีอาการเบื่อ ๆ เซ็ง ๆ ไม่อยากทำงานทำการอะไรสักอย่าง แบบนี้เข้าข่ายอาการหนึ่งของภาวะ “Post-Vacation Blues” หรือที่เรียกกันว่า “อาการซึมเศร้าหลังหยุดยาว” อาการนี้คือ ภาวะอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นหลังจากวันหยุดยาว ได้พักผ่อน ได้ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ทำให้เกิดอาการคิดถึงช่วงเวลาในช่วงหยุดยาวที่ผ่านมานั้นเอง
•
ยิ่งเรามีความสุขกับวันหยุดพักผ่อนมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดอาการซึมเศร้าหลังหยุดยาว หรือ Post-Vacation Blues ได้มากขึ้น เนื่องจากร่างกายยังเคยชินกับการพักผ่อนและไม่พร้อมที่จะกลับมาทำงาน หรือการเริ่มต้นอะไรหลัฃพักผ่อนนาน ๆ อีกครั้ง โดยเฉพาะคนที่เบื่องานของตัวเองเป็นทุนเดิม
•
สำหรับอาการนี้ไม่ใช่อาการของโรคจิตเวช เนื่องจากอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เพราะอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวจะเกิดขึ้นแค่ 2-3 วันเท่านั้นหลังจากวันหยุดยาว และจะหายไปเองเมื่อเราสามารถปรับตัวได้ แต่บางรายมีอาการรุนแรงยาวกว่า 2-3 สัปดาห์ โดยมีสาเหตุจากการลดระดับอย่างรวดเร็วแบบเฉียบพลันของฮอร์โมนEndorphin ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งช่วงวันหยุดยาวเป็นช่วงที่ทำให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายมีความสุขติดต่อกันหลายวัน เมื่อวันหยุดหมดลงสมองก็กลับมากังวลกับเรื่องงาน จิตใจก็ว้าวุ่น ทำให้ Endorphin ลดลงแบบทันทีทันใด สมองส่วนควบคุมอารมณ์ปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้เกิด “อาการซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว”
มี 6 อาการที่สังเกตได้ ดังนี้
1.รู้สึกไม่อยากทำงาน
2.เบื่อหน่าย และมีอาการซึมเศร้า
3.ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
4.สมาธิลดลง
5.หงุดหงิดง่าย
6.อารมณ์เสีย
7.ใจลอย
iSTRONG ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว แนะนำ 6 เทคนิครับมือกับอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวดังนี้
1. หาแรงจูงใจในการไปทำงาน
2. การสร้างคุณค่าในการทำงาน
3. อยู่กับปัจจุบัน
4. เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน
5. หาคู่หู หรือสร้างทีมในการทำงาน
6. วางแผนเที่ยวในวันหยุดครั้งต่อไป