X
การค้นพบใหม่ แผนผังสุสานโปรเตสแตนต์

การค้นพบใหม่ แผนผังสุสานโปรเตสแตนต์

11 เม.ย 2567
530 views
ขนาดตัวอักษร

ธาดา เศวตศิลา ประธานมูลนิธิสุสานโปรเตสแตนต์ ส่งมอบแผนผัง 3 แผ่น บันทึกข้อมูลของสุสานโปรเตสแตนต์ ให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 


แผนผังนี้น่าจะมีคนเห็นไม่กี่คน ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งยืนยันว่า สุสานนี้ เป็นพื้นที่บริเวณใด อยู่ที่ไหน และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง 


แผนผังมีมาตั้งแต่ก่อตั้งสุสานพ.ศ.2399 ตั้งแต่ยังมีหลุมแค่ 62 หลุม แปลน 3 ชิ้น ทำขึ้นต่างเวลามีรายละเอียดที่น่าสนใจ ตัวเอกสารค่อนข้างมีอายุ หอจดหมายเหตุจึงดำเนินการซ่อมแซมและเป็นผู้ดูแลเอกสาร


แปลนแรก บอกถึงการบริหารจัดการ ในยุคแรก ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 คนเขียนเป็นชาวต่างชาติ จากการเขียนแปลนด้วยลงสี แสดงพื้นที่ว่าสุสานอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ติดกับถนนเจริญกรุง มีหลุมในระนะแรก 62 หลุม


ผังที่สอง สมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2465 เขียนโดยชาวต่างชาติ บอกตำแหน่ง ทิศชัดเจน มีการลงสี มีการแบ่งการใช้พื้นที่ การบริหารจัดการพื้นที่ โดยแบ่งเป็น บล็อก มีการแบ่งพื้นที่ภายในบล็อก แสดงให้เห็นว่าบล็อกใกล้กับถนนพาดกลางสุสาน ค่อนข้างแน่น พื้นฐานด้านอก มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ คือ บริติสอินเดียสตรีม คอมมูนิเคชัน บริษัทเดินเรือไอน้ำบริติส เดอะยูไนเต็ตเอ็นจิเนียริ่งคอนปานี แผนที่แผ่นนี้ทำให้ทราบถึงพัฒนาการของพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน 


ผังที่สามไม่ได้บอกปีที่ทำแต่น่าจะเขียนขึ้นภายหลังที่สุด เห็นได้จาก จำนวน บล็อก หรือ หลุม ที่เริ่มแน่นขึ้น มีการเขียนตัวเลขบนผังหลุมฝังศพ ทำฝห่เชื่อว่าน่าขะมีต้องมีเอกสารที่เชื่อมโยงกับผัง 


ประโยชน์ ของแผนผัง สามารถศึกษาและนำข้อมูลมาจัดหาคำอธิบาย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับสุสาน หาข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้วเอามาต่อกันเป็นการอธิบายพื้นที่ที่มีประโยชน์


ใครบ้างฝากกายไว้ในสุสานนี้ ที่คนรู้จักกันมากที่สุด คือ 


นายแพทย์แดเนียล บีช แบรดลีย์ หรือ หมอบรัดเลย์ หรือ หมอปลัดเล ผู้นำวิทยาการสมัยใหม่หลายแขนงเข้ามาเมืองไทย คนริเริ่มการปลูกฝี เป็นทำผ่าตัดครั้งแรกให้พระที่ประสบเหตุปืนใหญ่ระเบิดวัดประยุรวงศาวาส  เป็นบิดาแห่งการพิมพ์ และการหนังสือพิมพ์ ด้วยผลงาน บางกอกรีคอทเดอร์ 


พระอาจวิทยาคม ยอร์ช บรัดเลย์ แมคฟาร์แลนด์ “ อิฐก้อนแรก” ของโรงพยาบาลศิริราช เป็นแพทย์ใหญ่ ของราชแพทยาลัย เป็นคนเขียนตำราการแพทย์แผนไทยเล่มแรก เรียบเรียงพจนานุกรมภาษาไทย-อังกฤษ และทำเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย


เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ในพระองค์ รัชกาลที่ห้า คนตัดถนนเจริญกรุง เป็นผู้วางรากฐานการทำแผนที่ สร้างถนน กิจการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ พิพิธภัณฑ์ เป็นผู้นำล็อตเตอรี่เข้ามาในเมืองไทย




Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)