ครึกโครมกันอย่างหนัก สงครามระหว่างประเทศ... รัสเซีย กับ ยูเครน... งานนี้ เพียงกำลังทหาร.. ดูท่าจะไม่พอ.. ล่าสุดถึงขั้นสั่งการ ขยับจัดทัพอาวุธหนัก ชนิดกดปุ่มถล่มล้างเรียบประเทศ แล้วเมื่อมองเทียบเคียงคดีความ กับกรณีถ้ามีโจรบุกรุกเข้าบ้าน..!! เราจะทำอย่างไร..? หากเข้ามาแค่ลักทรัพย์ มีความผิดแค่ไหน ? แล้วถ้าโจรยกพวกมา พร้อมมีอาวุธจัดหนัก บุกปล้นยึดบ้านเรา กฎหมายไทย ตีความอย่างไร.. Backbone MCOT ขอนำไปพบกับ คำจำกัดความสั้นๆ และความแตกต่างของ 10 พฤติกรรมทำผิด เกี่ยวกับทรัพย์ผู้อื่น ในคดีอาญา ...รู้ทั้งรู้ว่าผิด แต่ก็ยังทำ..!! กฎหมายไทย.. ว่าอย่างไร ??
ข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้อธิบายความหมายโดยภาพ และคำจำกัดความแบบสั้น ๆ เข้าใจง่าย เกี่ยวกับความแตกต่างของพฤติกรรม ที่กระทำผิดทางกฎหมาย อาทิ การบุกรุก, การปล้น, ชิง, ลัก รวมถึงพฤติกรรมอื่น ๆ ดังนี้
10 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในคดีอาญา
1. บุกรุก คือ ความผิดที่ผู้กระทำผิด ได้เข้าไปในเคหสถานของผู้อื่น โดยไม่มีเหตุผลอันควร หรือ มีเหตุผลสมควรแต่ผู้ให้เข้า ไม่อนุญาต ซึ่งเป็นการรบกวน การครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือเข้าไป กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของเขา โดยปกติสุข ต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 363 ผู้ใดเพื่อถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตน หรือของบุคคลที่ 3 ยักย้าย หรือ ทำลายเครื่องหมายเขต แห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์ หรือสำนักงานในความครอบครอง ของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจาก สถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิ ที่จะห้ามมิให้เข้าไป ได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิด ตามมาตรา 362, มาตรา 363 หรือ มาตรา 364 ได้กระทำ
(1) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย
(2) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือ
(3) ในเวลากลางคืน
ผู้กระทำต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 366 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิด ตามมาตรา 365 เป็นความผิดอันยอมความได้
2. ลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือ ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย โดยทุจริต เช่น การเอาสิ่งของ ที่บุคคลอื่นวางไว้ไปขาย
ผู้ที่กระทำความผิด ฐานลักทรัพย์ จะต้องถูกระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท
3. วิ่งราวทรัพย์ คือ การลักทรัพย์ของผู้อื่น โดยฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้า ถือว่าอุกอาจกว่า การลักทรัพย์ธรรมดา เช่น การกระชากสร้อยคอผู้อื่น
ผู้กระทำการวิ่งราวทรัพย์ จะต้องถูกระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
4. ชิงทรัพย์ เป็นการลักทรัพย์ โดยประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่า ในทันใดนั้น จะใช้กำลังประทุษร้าย ถือว่ารุนแรงกว่า ลักทรัพย์ธรรมดา เช่น การใช้อาวุธจี้บังคับ
มาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญในทันใดนั้นว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย
มีความผิดฐานชิงทรัพย์ : จำคุก 5 - 10 ปี และปรับ 100,000 - 200,000 บาท
5. ปล้นทรัพย์ คือ การชิงทรัพย์ โดยร่วมกันกระทำผิด ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือเป็นความผิดรุนแรง กว่าชิงทรัพย์, วิ่งราวทรัพย์ และลักทรัพย์ รวมถึงถ้าใช้อาวุธ หรือ ทำร้าย ให้เป็นอันตรายด้วย จะมีโทษเพิ่มหนักขึ้น ตามลำดับ
ผู้ที่กระทำความผิด ฐานปล้นทรัพย์ จะต้องถูกระวางโทษ : จำคุก 10 - 15 ปี และปรับ 200,000 - 300,000 บาท
6. กรรโชกทรัพย์ คือ การข่มขู่ ให้ผู้อื่นให้ทรัพย์แก่ตน เช่น การที่รุ่นพี่ บังคับเอาเงินจากรุ่นน้อง
ผู้ที่กระทำความผิด ในเรื่องนี้นั้น กฎหมายได้กำหนดโทษให้ต้อง : จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
ถ้าผู้ที่กระทำการกรรโชก ขู่ว่าจะฆ่า ทำให้ได้รับอันตรายอย่างสาหัส หรือมีอาวุธมาขู่ด้วย ก็จะได้รับโทษหนักขึ้น : จำคุก 6 เดือน ถึง 7 ปี และปรับ 10,000 - 140,000 บาท
7. รีดเอาทรัพย์ คือ การข่มขู่ เอาประโยชน์ในลักษณะ ที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น โดยการเปิดเผย ความลับของผู้อื่น หรือบุคคลที่ 3
มาตรา 338 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตน หรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะ ที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่า จะเปิดเผยความลับ ซึ่งการเปิดเผยนั้น จะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่ 3 เสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น มีความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ : จำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท
8. ยักยอกทรัพย์ คือ การที่ผู้กระทำผิด ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นไป
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือบุคคลที่สาม โดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานยักยอก มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครอง ของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้ โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหาย ซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9. รับของโจร คือ การที่ผู้กระทำผิด ได้ช่วยซ่อนเร้น, จำหน่าย, พาเอาไป, ซื้อไว้, รับจำนำ หรือ รับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์ที่ได้มา โดยกระทำผิด (แต่ถ้าสืบความแล้วพบว่า ผู้กระทำผิด ไม่ทราบว่า ของเป็นของใคร หรือทรัพย์ที่ได้มาผิดกฎหมาย ก็จะไม่มีความผิด)
มาตรา 357 กระทำความผิดฐาน รับของโจร : จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 335 (10) ผู้กระทำต้องระวางโทษ : จำคุก 6 เดือน - 10 ปี และปรับ 10,000 - 200,000 บาท
มาตรา 335 ทวิ การชิงทรัพย์ ตามมาตรา 339 ทวิ หรือ การปล้นทรัพย์ ตามมาตรา 340 ทวิ
ผู้กระทำต้องระวางโทษ : จำคุก 5 - 15 ปี และปรับ 100,000 - 300,000 บาท
10. ทำให้เสียทรัพย์ คือ การทำให้ผู้อื่น หรือ ผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมด้วยนั้น เสียหาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือ ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 359 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 358
ผู้กระทำต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 360 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 360 ทวิ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือ ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ ตามมาตรา 335 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ประดิษฐานอยู่ในสถานที่ ตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษ : จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 361 “ความผิดตาม มาตรา 358 และ มาตรา 359 เป็นความผิดอันยอมความได้”
อ้างอิง และขอบคุณข้อมูล (เมื่อ 1 มี.ค. 2565) จาก :
เว็บไซต์ : สำนักงานกิจการยุติธรรม
https://justicechannel.org
กฎหมายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในคดีอาญา (เว็บไซต์ : สำนักงานกิจการยุติธรรม)
https://justicechannel.org/criminal/property-offense-law
อ้างอิง : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://www.tulawcenter.org/law-clinic/categories/2
อ้างอิง : ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=pdf
2 มี.ค. 2565
7010 views
ขนาดตัวอักษร
อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย