X
Community BioBank อนุรักษ์ฟ้ามุ่ย ไม้ป่าหายากป้องกันการสูญพันธุ์

Community BioBank อนุรักษ์ฟ้ามุ่ย ไม้ป่าหายากป้องกันการสูญพันธุ์

9 ส.ค. 2565
1020 views
ขนาดตัวอักษร

..65 - ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ช่วยอนุรักษ์ “ฟ้ามุ่ย” กล้วยไม้ป่าไทย ไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ยกระดับชุมชนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่น ที่ยั่งยืนไม่กระทบระบบนิเวศป่าไม้ธรรมชาติ


สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชวภาพ หรือ สพภ. (BEDO) ส่งเสริมโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ตั้งเป้าช่วยสร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง ที่ใช้ “จุดแข็งของประเทศ” เป็นแนวทางสร้างเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ให้เกิดการใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง


นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชนกล่าวว่าโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน (Community Biodiversity Bank หรือ Community BioBank) เป็นหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของฐานทรัพยากร โดนกำหนดเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี 

  • จะเกิด “ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ทั้งประเทศ” และตั้งศูนย์รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนในทุกตำบล



ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน” คือ แหล่งเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชน 

  • ที่มีการดูแลรักษาและบริหารจัดการในการดูแลรักษาและการนำไปใช้ประโยชน์โดยตัวของชุมชนเอง 


โดย BEDO จะใช้การสื่อสารที่เข้าใจง่าย ทดลองปฏิบัติให้เห็นตัวอย่างจริง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนอื่น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดในรูปแบบของตัวเอง เช่น

  • โครงการจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เป็นนวัตกรรมอนุรักษ์ ที่ BEDO คิดกลับ – หัวท้าย 
  • ที่ปกติแล้วการถ่ายทอดความรู้ จะเน้นให้ชุมชนลงมือทำจริง ตั้งแต่การสำรวจ การบันทึก การถ่ายภาพง่ายๆ ไปจนถึงการดูแลรักษาเงินหรือต้นไม้ของตัวเองให้คงอยู่เพื่อการขยายพันธุ์
  • เป็นแหล่งในการพัฒนาวิจัยความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ 
  • เกิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน 
  • นำไปสู่การปกป้อง คุ้มครอง และเกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สำคัญที่สุดคือเครือข่ายและการสนับสนุนด้านต่าง  ร่วมกับท้องถิ่น
  • เช่น วิสาหกิจชุมชนต้นแบบ แนวคิด Community BioBank จังหวัดเชียงใหม่ 
  • วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด 
  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ .โป่งแยง .แม่ริม .เชียงใหม่ คือ ชุมชนต้นแบบ แนวคิดของCommunity BioBank การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง ให้ชุมชนยังมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้น



วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด” ที่มีความโดดเด่น ทั้งความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม โดย BEDO เข้ามาสนับสนุนงบประมาณจัดทำแหล่งเรียนรู้ตำบลกื๊ดช้าง โดยกลุ่มกิจการเศรษฐกิจชุมชน พร้อมกับสนับสนุนงบประมาณโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน 

  • เพื่อสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิง ข่า และสมุนไพรท้องถิ่น 
  • เก็บรักษาไว้ในแปลงธนาคารฯ 
  • อีกส่วนหนึ่ง คือ ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในการศึกษาสารออกฤทธิ์และการยืนยันชนิดพันธุ์ของพืชเด่นในชุมชน คือ ไผ่จืด จนกลายมาเป็นโอกาสในชุมชนยกระดับการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น 
  • ในปี .. 2564 BEDO ได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินงานจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน รวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิงข่า ว่าน และสมุนไพรชนิดอื่น  ที่มีอยู่ในชุมชนตำบลกื้ดช้าง



นอกจากนี้ “ทีมนักสำรวจ เดอะแก็งค์ของชุมชนบ้านเมืองกื้ด” ยังเป็นหัวใจสำคัญ ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนชุมชนตำบลกื้ดช้าง 

  • มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ จากรุ่นสู่รุ่น สามารถปลูกฝังข้อมูลภูมิปัญญาต่างๆของคนรุ่นใหญ่ ส่งต่อให้รุ่นลูกหลาน
  • ขณะที่คนรุ่นใหม่ สามารถนำเทคโนโลยีประสานความรู้ท้องถิ่น นำไปสู่การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไปในชุมชนต่อไปได้


การทำงานของ “เดอะแก็งค์” พบว่า ในพื้นที่ป่าห้วยกุ๊บกั๊บของตำบล กื้ดช้าง มีพืชเฉพาะถิ่นที่จะพบเได้ฉพาะพื้นที่นี้เท่านั้น เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้

  • อยู่ระดับความสูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่
  • เป็นป่าเบญจพรรณที่สูง 156 ชนิดพันธุ์ 
  • มีการรวบรวมและจัดประเภทพืชพันธุ์ จำนวน 20 แปลงภายในชุมชน 
  • ปัจจุบันมี 3 แปลงจาก 20 แปลงได้ จัดให้เป็นแปลงต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ฯ และเส้นทางท่องเที่ยวของหมู่บ้านประกอบด้วย 
  1. พืชพันธุ์ที่หายาก เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์
  2. พืชหายาก ใช้ประโยชน์ได้  มีการใช้ในตำรับยาสมุนไพร 
  3. พืชที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง  


ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชนบอกอีกว่า อีกพื้นที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ .โป่งแยง .แม่ริม .เชียงใหม่ โดย “ฟ้ามุ่ย เอื้องฟ้ามุ่ย หรือ Blue Vanda ด้วยเป็นหนึ่งในกล้วยไม้ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด” 

  • เพราะสีสันและความสวยงามจึงถูกคุกคามนำออกจากป่าเป็นจำนวนมาก ฟ้ามุ่ยในธรรมชาติลดน้อยลงและเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์  
  • อดีตฟ้ามุ่ย เคยถูกจัดให้เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในบัญชี 1 ไซเตส บัญชีควบคุมทางการค้าระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมไม่ให้มีการนำต้นออกจากป่ามาจำหน่าย ปีพ..2547 ประเทศไทยได้เสนอให้ถอดชื่อกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยออกจากไซเตสบัญชี 1 ไปอยู่บัญชี 2 เพื่อเปิดช่องทางให้มีการพัฒนาพันธุ์เพื่อการค้ามากขึ้น



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ทรงมีพระเสาวนีย์ ผ่านสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์

  • ให้ช่วยสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นให้มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจ พืชอาหาร พืชสมุนไพร และไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ รวมถึงการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์กล้วยไม้ไทยหายากแล้วปล่อยคืนสู่ป่าให้อยู่ในสภาพธรรมชาติตามเดิม



ดังนั้น เบโด้ จึงได้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ จัดทำโครงการ ธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชนบ้านปงไคร้ ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับ เพื่อการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์กล้วยไม้ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

  • ซึ่งธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชน จะเป็นต้นทางของต้นพันธุ์กล้วยไม้ที่ชุมชนสามารถนำไปขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนต้นที่มากขึ้น และนำกล้วยไม้ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงกลับคืนสู่ผืนป่า 
  • ทำให้เกิดการฟื้นฟูประชากรกล้วยไม้ในพื้นที่ธรรมชาติ 
  • กล้วยไม้ ไม่เพียงแต่ให้ความสวยงาม แต่ยังเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบรูณ์ของผืนป่า ระบบนิเวศในป่าต้นน้ำที่สำคัญ
  • เป็นแหล่งพึ่งพิงในการดำรงชีวิตให้กับชุมชนอีกด้วย 
  • นอกจากนี้โครงการดังกล่าว ยังทำให้ค้นพบความหลากหลายของกล้วยไม้ชนิดอื่นในผืนป่า ที่ชุมชนสามารถนำมาต่อยอดและสร้างความหลากหลายของการท่องเที่ยวในชุมชนในฤดูกล้วยไม้ออกดอก ที่สวยงามแตกต่างกันไป


นายวันชัย อินยม ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ .โป่งแยง .แม่ริม .เชียงใหม่ เปิดเผยว่าเบโด้” ได้สนับสนุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์กล้วยไม้อย่างเป็นระบบ 

  • เริ่มตั้งแต่ ให้ความรู้ในการสำรวจความหลากหลายกล้วยไม้ 
  • เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ 
  • เทคนิคการนำกล้วยไม้ออกจากขวด 
  • กระบวนการปล่อยกล้วยไม้คืนป่า 
  • ธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชน บ้านปงไคร้ อีกหนึ่งในกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น มีกล้วยไม้ลงทะเบียน200 ต้น 36 ชนิด 
  • ซึ่งกล้วยไม้ในธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชน บ้านปงไคร้ อาทิ ฟ้ามุ่ย นกคุ้มไฟ เอื้องคำ และเอื้องมอนไข่ 
  • กล้วยไม้ที่ได้นำไปเพาะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนกล้วยไม้ให้มากขึ้น 
  • ชุมชนยังมีต้นกล้ากล้วยไม้ ที่ได้จากการเพาะเมล็ด สำหรับจำหน่วย 
  • หรือ ต้นกล้าฟ้ามุ่ยสำหรับนักท่องเที่ยว ทำกิจกรรมปล่อยกล้วยไม้คืนสู่ป่าได้มากขึ้นอีกด้วย




หมู่บ้านปงไคร้” อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้ หมู่บ้านที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี มีป่าต้นน้ำที่อุดมสมบรูณ์ระบบนิเวศป่าดิบเขา ที่มีต้นไม้ใหญ่ หลากหลายสายพันธุ์กระจายหนาแน่นทั่วผืนป่า เป็นต้นน้ำที่สมบรูณ์น้ำไหลตลอดปีแหล่งต้นน้ำสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่  

  • อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านอนุรักษ์ป่าดีเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านฟ้ามุ่ย ที่พบกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยในธรรมชาติแหล่งเดียวของประเทศไทย ที่มีการเพิ่มจำนวนการปลูก กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยจากกการเพาะเมล็ด ปล่อยคืนสู่ป่ามาอย่างต่อเนื่อง
  • เป็นพื้นที่สำคัญเพียงแหล่งเดียวของประเทศไทย ที่มีการปล่อยฟ้ามุ่ยคือสู่ป่าและท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 
  • เปิดชมกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยในธรรมชาติ
  • ส่งผลให้ชุมชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น
  • เป็นโปรแกรมท่องเที่ยวหมู่บ้านปงไคร้ 
  • สร้างเม็ดเงินหลั่งไหลและนำรายได้สู่ชุมชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 
  • เกิดอาชีพ ทั้งที่พักในชุมชน อาหารจากธรรมชาติ สมุนไพร และชาจากดอกกล้วยไม้  
  • เป็นอีกแหล่งรายได้สำคัญ ของชุมชนจากการท่องเที่ยวชีวภาพ ที่ใช้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ความหลากหลายของทรัพยากร มาหล่อเลี้ยงการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยเพื่อปล่อยคืนสู่ป่าของชุมชน


จะเห็นได้ว่า “ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน” คือ กลยุทธสำคัญ สร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง เป็นแนวทางเศรษฐกิจที่สร้างบน “จุดแข็งของประเทศ” ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ส่งผลทำให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล